Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน...

TNRR

Description
แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตลาดการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาศักยภาพชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยที่ 1) 3) พัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยที่ 2) 4) สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และสร้างระบบการประสานงานกับเครือข่ายการท่องเที่ยวประเภทอื่น และ5) จัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์กร UNESCO เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิจัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ นำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนา (Descriptive Analysis) ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) การศึกษาตลาดการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าแนวโน้มและทิศทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ จะต้องเน้นการบูรณาการกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) และการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 โดยยึดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อเสริมศักยภาพและลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการกระจายโอกาสไปยังผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ จึงสรุปได้เป็นแนวโน้มการตลาด 6 ข้อด้วยกันคือ 1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ 2) การบูรณาการกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ๆ 3) การปรับรูปแบบการท่องเที่ยวตามเทรนด์และการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (New Normal) 4) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร (Capacity Building) 5) ความสำคัญของเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) และ6) เชื่อมโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่สู่เส้นทางสายไหมใหม่ 2) การพัฒนาศักยภาพชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยที่ 1) พบว่าชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ 1) แหล่งที่ตั้งในตัวเมืองเชียงใหม่ 2) แหล่งที่ตั้งใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ และ3) แหล่งที่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ส่วนด้านทรัพยากร พบว่าชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1) งานเครื่องปั้นดินเผาและงานหล่อ 2) งานผ้าและเย็บปักถักร้อย 3) งานแกะสลักและผลิตภัณฑ์จากไม้ 4) งานจักสาน 5) งานเครื่องกระดาษ 6) งานบุดุนโลหะ และ7) งานเครื่องเขิน โดยส่วนใหญ่ชุมชนทุกชุมชนมีศักยภาพการท่องเที่ยวและความพร้อมของทุนชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับแนวทางการพัฒนาชุมชนหัตถกรรมต้นแบบจังหวัดเชียงใหม่ในการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 การสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้แก่เมือง (Cultural Identity) ประกอบด้วย 2 ด้าน 7 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการเมือง (Management) ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบที่ 3 การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Space & Facility) ประกอบด้วย 2 ด้าน 8 ตัวชี้วัด และ4) องค์ประกอบที่ 4 การรวบรวมนักคิดหรือผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneur) ประกอบด้วย 2 ด้าน 5 ตัวชี้วัด และแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนและเครือข่ายต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว พบว่า ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบที่สำคัญ หรือเรียกว่า CM CREATION Model และยังมีข้อค้นพบสำคัญคือ เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ Chiang Mai Butterfly Route ที่เป็นการเชื่อมโยงชุมชนทั้งที่เป็นชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ชุมชนที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวในด้านอื่น ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม หรือเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของเมืองท่องเที่ยวนั้น ๆ โดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเอง โดยเน้นถึงความผูกพัน (Engaged) ความจริงแท้ผ่านประสบการณ์ (Authentic Experience) ซึ่งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมที่จะทำให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลักษณะของความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ 3) การพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยที่ 2) พบว่าการพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่รองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว พบว่าแบ่งเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม 3) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้มีความน่าสนใจ 4) การออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่และปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ5) การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาบูรณาการร่วมกับความสามารถเชิงช่างในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยความต้องการทางการตลาดต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ4) ด้านการส่งเสริมการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต้นแบบและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2) ด้านแนวคิดการออกแบบ และ3) ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ ตลอดจนแนวทางการพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO พบว่าปัจจุบันแนวโน้มความต้องการของชุมชน ช่างหรือผู้ประกอบการมุ่งจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์เดิมของแต่ละส่วน จุดมุ่งหมายอาจจะแตกต่างกันไปบ้างและมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวาง แต่ข้อค้นพบจากการศึกษาคือซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่าน 5 วิธีการคือ 1) แนวคิดใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม 2) ผลิตภัณฑ์เดิมแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ 3) บรรจุภัณฑ์ใหม่ 4) ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และ5) ผลิตภัณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้แผนงานวิจัยยังได้เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ว่าควรจะใช้หลักคิด อยู่รอด (Survivor) อยู่ได้ (Standard) อยู่ดี (Sustainability) มาเป็นแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ในยุคความท้าทายผ่านการคิดแบบ 1) การผลิตแบบ New Normal 2) การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) การผลิตเพื่อการใช้งานที่คงทน และ4) การผลิตที่ประหยัดทุน ตลอดจนการพัฒนาโดยการบูรณาการร่วมกับระบบการศึกษา เป็นต้น 4) การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และสร้างระบบการประสานงานกับเครือข่ายการท่องเที่ยวประเภทอื่น พบว่าปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และสร้างระบบการประสานงานกับเครือข่ายการท่องเที่ยวประเภทอื่นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นกระบวนการที่มาจากการมีส่วนร่วมและมีตัวกลางเป็นตัวประสาน ประกอบด้วยกลไกขับเคลื่อน 12 ด้าน ได้แก่ 1) ตัวกลาง (Coordinator) 2) การกำหนดบุคคล (Placement) 3) การเติมกิจกรรมลงไปในชุมชน (Filling Activities) 4) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจ (Community Awareness) 5) การกำหนดและมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน (Goal Setting) 6) กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิก (Membership Process) 7) การเชื่อมโยงเครือข่าย (Network) 8) มีกิจกรรมร่วมกัน (Participation) 9) การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Social Engagement) 10) สร้างระบบความสัมพันธ์ (Relationship) 11) การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ (Management Plan) และ12) เกิดประโยชน์ร่วมกัน (Advantage) หรือว่า CM - CF GAP Platform ซึ่งเป็นกลไกที่เอื้อต่อการเชื่อมโยงโครงสร้างของเครือข่ายการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และสร้างระบบการประสานงานกับเครือข่ายการท่องเที่ยวประเภทอื่น 5) การจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์กร UNESCO พบว่าแต่ละชุมชนนั้นมีความแตกต่างทางด้านศักยภาพในการบริหารจัดการชุมชนและเครือข่ายที่หลากหลาย จึงร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังเคราะห์แผนพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนในการสร้างความยั่งยืนร่วมกับชุมชน โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้านสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงคือ 1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 สืบสานและสื่อความหมายคุณค่าและความหลากหลายทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ 1) พัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนหัตถกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) ฟื้นฟูและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น และ3) พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน 2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 รักษาและส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้าน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์คือ 1) อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืน และ2) พัฒนางานหัตถกรรมจากทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์อย่างสมดุล 3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาและพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ 1) อบรมเชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรม 2) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาด และ3) พัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว เพื่อสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการชุมชน และ4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาขีดความสามารถ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และ 2) เชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านทั้งในประเทศและต่างประเทศคำสำคัญ: งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน, การพัฒนาการท่องเที่ยว, เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก, ซีเอ็มครีเอชั่นโมเดล, ซีเอ็ม ซีเอฟ แก็ปแพลตฟอร์ม<br><br>The objectives of this research plan are 1) to study the tourism market for handicrafts and folk arts in Chiang Mai; 2) to develop the potential of handicrafts and folk arts communities in Chiang Mai to become members of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. (Sub-project 1) 3) Develop handicrafts and folk arts in Chiang Mai towards membership of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. (Sub-project 2) 4) Build a tourism network on handicrafts and folk arts in Chiang Mai and create a coordination system with other types of tourism networks; and 5) Develop a plan to drive the development of creative tourism in handicrafts and arts. Indigenous peoples in Chiang Mai to support their membership in the Creative Cities Network of UNESCO. Mixed Methods Research uses qualitative research methods to collect and analyze data obtained from interviews. Participant and non-participatory group discussions and observations from those involved in the research. and using quantitative research methodology to collect and analyze the data obtained from the questionnaire of those involved in the research. to achieve the research objectives set The study results were presented in a descriptive form (Descriptive Analysis). The researcher summarized the research results according to the objectives. The details are as follows. 1) A study of the tourism market for handicrafts and folk arts in Chiang Mai It was found that trends and marketing directions related to tourism in handicrafts and folk arts in Chiang Mai province Must focus on integration with other forms of tourism to create a model of creative tourism (Creative Tourism) and adapting to the changing situation according to the epidemic situation of COVID-19 by adhering to guidelines Sustainable Development (SDGs) to empower and reduce inequality Including the distribution of opportunities to various stakeholders, it can be summarized as 6 marketing trends: 1) domestic tourism promotion 2) integration with other forms of tourism 3) reform Trend-based tourism model and community tourism development to a new normal standard (New Normal) 4) Personnel capacity enhancement (Capacity Building) 5) The importance of a green economy (Bio-Circular-Green Economy: BCG) and 6) connect opportunities for tourism development in Chiang Mais handicrafts and folk arts to the new Silk Road. 2) Developing the potential of handicrafts and folk arts communities in Chiang Mai towards becoming a member of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. (Sub-project 1) found that the handicrafts and folk arts communities in Chiang Mai can be divided into 3 groups as follows: 1) Location in downtown Chiang Mai 2) Location near Chiang Mai City and 3) Source far from Chiang Mai City. Resource section It was found that handicrafts and folk arts communities in Chiang Mai were divided into 7 categories: 1) pottery and casting 2) fabric and embroidery 3) carving and wood products 4) basketry 5) papermaking 6 ) Metal work and 7) Lacquerware work For the most part, every community has tourism potential and the readiness of community capital to become a creative tourism destination in Chiang Mai. The overall picture is at a high level. As for the development guideline for the model handicraft community in Chiang Mai to become a member of the UNESCO Creative Cities Network to support creative tourism, it was found that there were 4 components: 1) Component 1, Cultural Identity, consisting of: 2 sides 7 indicators 2) Component 2 City management consists of 3 aspects 8 indicators 3) Component 3 Space & Facility construction consists of 2 aspects 8 indicators and 4) Component 4: Collecting Creative Entrepreneurs, consisting of 2 aspects, 5 indicators and guidelines for the development of community management and networks towards membership of the UNESCO Creative Cities Network in order to Support for tourism found that it consists of 10 important components, known as the CM CREATION Model and there are also important findings. The model creative tourism route "Chiang Mai Butterfly Route" that connects the community, both a handicraft and folk art community. Community with tourism potential in other areas together, whether it is eco-cultural tourism. or health to create experience and become part of the culture of that tourist city through the experience of the tourists themselves By emphasizing engagement (engaged), authenticity through experience, which promotes activities that will give tourists a deeper understanding of the cultural diversity of Chiang Mai. 3) The development of handicrafts and folk arts in Chiang Mai towards becoming a member of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. (Sub-project 2) found that the development of handicrafts and folk arts in Chiang Mai supported the development of tourism products. Found that it can be divided into 5 issues: 1) Modification of the method of use of the existing product. to meet the needs of todays consumers 2) designing a new product that is different from the original 3) developing a new form of packaging to be attractive 4) designing a new product and changing the method production by using innovation, technology, including the use of resources cost-effectively; and 5) the use of creativity to integrate with technical skills.Keywords: Crafts and Folk Arts, Tourism Development, UNESCO Creative Cities Network, Chiang Mai Butterfly Route, CM CREATION Model, CM - CF GAP Platform

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ