Notifications

You are here

อีบุ๊ค

มข.โคบาลอาสารักษาวัวลัมปี สกิน

TNRR

Description
บทคัดย่อโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) เป็นโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ของไทยชนิดโคเนื้อ โคนม และกระบือ มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจมูลค่าสูงในสัตว์ป่วยติดเชื้อเป็นวงกว้าง โครงการการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการควบคุม ป้องกันและรักษาวัวลัมปีสกิน ฝึกโคบาลอาสาหมู่บ้าน โดยบูรณาการความร่วมมือเผยแพร่องค์ความรู้ อบรม ประชุมเสวนาวิชาการ และประชุมกลุ่มย่อยเชิงลึกในพื้นที่ระดับตำบล จำนวน 62 แห่ง เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 4,467 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์สุ่มโดยวิธีการสุ่มเชิงโควต้าเพื่อประเมินระดับความรู้โรคระบาดลัมปีสกิน ความพึงพอใจของการเข้าร่วมอบรม และผลกระทบลัมปีกินต่อสุขภาพและการผลิตสัตว์ การสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเกษตรกรเปรียบเทียบระหว่างก่อน-หลังการอบรม จำนวน 380 ชุด พบว่า ระดับความรู้ด้านการควบคุม ป้องกันและรักษาวัวลัมปีสกินของผู้นำชุมชนและเกษตรกรก่อน(7.2 คะแนน)เปรียบเทียบกับหลัง(8.9 คะแนน)การอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(P<0.01) ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด สถานการณ์ระบาดของโรคลัมปีสกินในฝูงโคเนื้อและโคนมของเกษตรกร จำนวน 22,855 ตัว มีอัตราป่วยติดเชื้อของฝูงเฉลี่ยร้อยละ 26.9 และอัตราการตายของฝูงเฉลี่ยร้อยละ 2.2 โรคลัมปีสกินส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ป่วยรุนแรงและอัตราการตายในลูกโค(3.9-4.3%)มากกว่าโคเจริญวัย(1.2-1.6%) การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการป่วยติดเชื้อลัมปีสกิน พบว่า ชนิดและสายพันธุ์โคมีความแตกต่างกัน(P<0.01) เปรียบเทียบกับโคพื้นเมืองไทยแล้วโคเนื้อลูกผสมฮินดูบราซิลเสี่ยงติดเชื้อลัมปีสกินมากกว่า 3.3 เท่า (OR = 3.36, P<0.01) รองลงมาคือโคนมสายพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเซียนมากกว่า 1.2 เท่า (OR = 1.26, P<0.01) และโคเนื้อลูกผสมบราห์มันมากกว่า 1.2 เท่า (OR = 1.21, P<0.01) ตามลำดับ แต่โคเนื้อลูกผสมชาโลเลส์เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าโคพื้นเมือง (OR = 0.75, P<0.01) ปัจจัยเสี่ยงด้านช่วงวัยและอายุที่สัมพันธ์กับการป่วยติดเชื้อลัมปีสกินมีความแตกต่างกัน(P<0.01) โคทุกช่วงวัยมีโอกาสป่วยติดเชื้อลัมปีสกินน้อยกว่าแม่โค โอกาสติดเชื้อน้อยที่สุดคือ ลูกโคเพศเมีย (OR = 0.75, P<0.01) ถัดมาคือโคพ่อพันธุ์ (OR = 0.76, P<0.01) โคสาว (OR = 0.78, P<0.01) และลูกโคเพศผู้ (OR = 0.87, P<0.01) ตามลำดับ การระบาดลัมปีสกินสัตว์ป่วยติดเชื้อส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการผลิตสัตว์อย่างรุนแรง เช่น ซูบผอม แท้งลูก น้ำนมลด แผลเป็นตามผิวหนัง พิการ ตาย ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของฟาร์มทางตรงโดยมีมูลค่าความสูญเสียจากการตาย คัดทิ้ง ค่ายารักษาในโคเนื้อประมาณ 80,875 บาทต่อฟาร์ม และโคนมประมาณ 101,507 บาทต่อฟาร์ม ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุม ปองกันและรักษาวัวลัมปีสกินเพื่อลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจคำสำคัญ: ลัมปีสกิน, โค, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ<br><br>AbstractLumpy skin disease (LSD) is an important viral disease of cattle that causes substantial economic losses to affected regions. The objective of this research project is to transfer LSD control knowledge and technology to farmers communities. A cross-sectional surveillance study was undertaken to investigate the prevalence, associated risk factor and economic impacts of 62 sub-district outbreak in Thailand. Data were collected using questionnaires administered through personal interviews. A total of 22,855 cattle from 380 trained farms were determined the prevalence, associated risk factor and economic impacts. Collected data included cattle herd size, stage, sex, breeds, and direct and indirect costs incurred when LSD outbreaks occurred. The overall clinical prevalence of LSD mobility in the study population was 26.9% with mortality rate was 2.2 %. Calf stage showed a higher prevalence mortality rate compared to their counterparts. The factor associated with LSD outbreaks included breed (Thai native vs Indu-brasil, OR = 3.36, P<0.01; vs Holstein Freisian, OR = 1.26, P<0.01; vs Brahman, OR = 1.21, P<0.01; vs Charolais, OR = 0.75, P<0.01) and stage and age (cow vs female calf, OR = 0.75, P<0.01; vs bull, OR = 0.76, P<0.01; vs heifer, OR = 0.78, P<0.01; male calf, OR = 0.87, P<0.01). The economic impact was compared between beef and dairy farm which indicated mean farm losses from direct (mortality, culling) and indirect (drug treatment) were estimate at 80,875 TBH and 101,507 TBH, respectively. These finding indicate that LSD caused significant economic losses at farm levels and justifies implementation of disease control measures of susceptible cattle herds.Key words: lumpy skin disease, cattle, economic impact, risk factors

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ