Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเด...

TNRR

Description
การวิจัยการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงภายใต้อัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี มีวัตถุประสงค์การศึกษา (1) ศึกษาพฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างลิงกับคน (2) การสำรวจสภาพแวดล้อมกายภาพและคุณค่าความสำคัญในแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิง (3) การประเมินความสามารถการรองรับในแหล่งท่องเที่ยวด้านกายภาพและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกควบคู่กับการศึกษาศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิง และ (4) เสนอแผนและผังการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิง ในพื้นที่ตัวแทนแหล่งชุมชนเมือง (เมืองเก่าลพบุรี) พื้นที่ชุมชนติดพื้นที่ธรรมชาติ (วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือ วัดเขาพระงาม) และพื้นที่ธรรมชาติ (วัดเวฬุวัน หรือ วัดเขาจีนแล) ด้วยการดำเนินงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมข้อค้นพบในงานวิจัยพบว่า ลิงคือ มรดกเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญของจังหวัดลพบุรีและเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตคนลพบุรี ซึ่งปราศจากผู้ล่าตามธรรมชาติและได้รับอาหารจากมนุษย์ โดยลิงมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเมืองและประวัติศาสตร์เมือง ลิงเป็นภาพลักษณ์ของจังหวัด ลิงเป็นเป็นเพื่อนกับมนุษย์ ลิงเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวและลิงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในการนี้พื้นที่ที่มีลิงอาศัยร่วมกับคนควบคู่กับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกิดฉากทัศน์ของสถานการณ์ปัญหาและการพัฒนาประโยชน์จากลิงในรูปแบบของนิเวศวิทยาสังคม อันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศของสัตว์ป่าในเขตเมืองกับสังคมมนุษย์ ซึ่งมีประเด็นความคิดเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ต่อกันจำแนกเป็นประเด็นครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การจัดการความรู้ สถาพแวดล้อมกายภาพ วิถีชีวิตลิงและการท่องเที่ยว นอกจากนี้คุณค่าความสำคัญและความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงด้านวิถีชีวิตลิง ประวัติศาสตร์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจชุมชน สังคมแห่งการเรียนรู้ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นับเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวและสามารถใช้เป็นฐานสร้างการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัดลพบุรี ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงในพื้นที่ดำเนินงานวิจัยต่างมีความสามารถต่อการรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเพียงพอ แต่ยังขาดประสิทธิภาพรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ดังนั้นข้อเสนอการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรจึงเสนอแผนยุทธศาสตร์ คน (เข้าใจ)/เมือง (สะอาด สุขอนามัยและปลอดภัย)/ลิง (เป็นสุข) ได้แก่ 1) คน: สร้างการมีส่วนร่วม จิตสำนึก การตระหนักรู้และความรู้ความเข้าใจอย่างรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตลิง สังคมเมืองและแหล่งท่องเที่ยวกับคนในชุมชน ผู้มีจิตใจเมตตาต่อลิงและนักท่องเที่ยว2) เมืองหรือพื้นที่: ดำเนินการปรับปรุงและดูแลสภาพแวดล้อมกายภาพเชิงพื้นที่ให้มีความสะอาด สุขลักษณะและความปลอดภัยจากการดำรงชีวิตของลิงและแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลและอารยสถาปัตย์3) ลิง: สร้างการมีส่วนร่วมของภาคภาคีดำเนินการปกป้องและรักษาวิถีชีวิตลิงและสวัสดิภาพลิงภายใต้การจัดระเบียบพฤติกรรมลิง โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบเกินกว่าระดับการยอมรับได้ของชุมชน และต้องไม่ละเมิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562<br><br>Development of Built Environment as a Solution to the Monkey Problem and Development of Monkey-Based Attractions Proceeded Under Local Identity of Lop Buri City has the objectives (1) to investigate the behavior and relationship between monkeys and people; (2) to investigate the physical environment and the importance of value in monkey resource tourist attractions; physical and facility aspects, as well as (3) the study of potential problems and obstacles to the development of monkey resource tourist attractions; and (4) to propose plans and plans for the development of the built environment to assist in the resolution of monkey and human problems in the area of representatives of urban communities (Old town Lop Buri), the community area adjacent to natural areas (Wat Sirichannimit Worawihan or Wat Khao Phra Ngam) and natural areas (Wat Weruwan or Wat Khao Chin Lae). The research was conducted in a form of participatory research, participated by related parties, such as the public sector, the private sector, and civil society.The findings of the research revealed that monkeys are the valuable urban heritage of Lop Buri province and are part of the way of life of Lop Buri people. They have no natural predators and receive food from humans. The monkeys are related to beliefs, holy spirits, urban legends, and urban history. Monkeys represent a symbol of the province. Monkeys are friends with humans and are a tourist resource. Moreover, they are protected wildlife. In this regard, the area where monkeys cohabited with humans, along with being a tourist attraction, created a perspective of the problem and the development of the benefit of monkeys in the form of social ecology, which is the relationship among wildlife ecosystems in the region, city, and human society. They share related and relevant ideas, such as knowledge management physical environment, monkey lifestyle, and tourism. In addition, the value, importance, and distinctiveness of monkey resource attractions in monkey lifestyle history holy places, community economy, learning society culture, and environment are considered tourist attractions and can be used for tourism purposes which can relate to other tourist attractions in Lop Buri. The monkey resource attractions in the research areas are capable of adequately supporting tourists, but they still lack efficiency to support tourism overall.As a result, there were suggestions for ideas to enhance the built environment in order to address the problem of monkeys as well as to develop resource tourism attractions based on a strategic plan called "People (Understanding)/City (Clean, Sanitary, and Safe)/Monkey (Affectionate)":1) People: Encourage one another to be involved in taking responsibility, acquire knowledge, and comprehension of the monkey lifestyle, urban society, and tourist attractions along with those in the community who have compassion for monkeys and tourism.2) City or region: Continue to develop and maintain a clean physical environment in which to maintain hygiene and safety from monkeys living in the wild, as well as monkey resource attractions to promote tourism for all, as well as universal design.3) Monkeys: Engage engagement to protect and preserve monkey lifestyles and monkey welfare under the Monkey Behavior Organization without having a negative impact beyond the acceptable level of the community and must not violate the Wildlife Preservation and Protection Act B.E. 2562.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ