Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเสริมพลังทางสังคมเพื่อรับมือและใช้ประโยชน์เทคโน...

TNRR

Description
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนในสังคมไทยอย่างมากมาย ซึ่งหากไม่สามารถรับมือและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้านี้ได้อย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และปัญหาเกมออนไลน์ โดยเฉพาะการเกิดปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับการคุ้มครอง แผนงานวิจัยนี้ จึงมุ่งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างและกำกับดูแลความปลอดภัยจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และมาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมผลกระทบทางลบจากเกมออนไลน์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดำเนินการผ่าน 2 โครงการย่อยภายใต้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเทคนิควิธีวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ การประชุมสัมมนาและสุนทรียสนทนา ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและครอบครัว ผู้บริหารและครูของสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากหน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยทั้ง 2 โครงการย่อย นำเสนอแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา เริ่มตั้งแต่การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาจากภาคส่วนต่างๆ และร่วมกันออกแบบและร่างมาตรการ/สื่อการเรียนรู้ จากนั้นจึงร่วมกันตรวจสอบร่างมาตรการและทดลองใช้สื่อการเรียนรู้และปรับปรุงจนสมบูรณ์ จึงดำเนินการเผยแพร่เพื่อการขับเคลื่อนขยายผล ผลการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลความปลอดภัยจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน นำเสนอถึงมาตรการในการกำกับดูแลความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย มาตรการสำหรับสถานศึกษา สรุปเป็น พัฒนาครู-ส่งเสริมผู้เรียน-เข้าถึงผู้ปกครอง-เฝ้าระวังเหตุ-ดูแลช่วยเหลือ และมาตรการทางกฎหมาย สรุปเป็น (1) ปรับปรุงกฎหมาย (2) ส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย และ (3) ช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัย สำหรับสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนั้น เป็นรูปแบบเกมการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งครูสามารถนำไปใช้สอดแทรกในการเรียนการสอน โดยชุดความรู้ประกอบด้วย (1) การสร้างความตระหนักรู้ความรู้สึกของผู้อื่น (2) การให้ความรู้เรื่องการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และกฎหมาย และ (3) การส่งเสริมทักษะการแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมเกมออนไลน์สร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน สรุปเป็น (1) การควบคุมเนื้อหาเกมออนไลน์ (2) การกำหนดแนวทางในการแสดงข้อมูลสำคัญแก่ผู้ใช้บริการ (3) การติดตามตรวจสอบเนื้อหาเกมออนไลน์ที่ไม่ปลอดภัย (4) การส่งเสริมการผลิตเกมออนไลน์สร้างสรรค์ และ (5) การเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนจากภัยคุกคามที่แฝงมากับเกมออนไลน์ ส่วนมาตรการสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการเสพติดเกมและภัยที่เกิดจากการเล่นเกมออนไลน์สำหรับเด็กและเยาวชน สรุปเป็น ป้องกัน-ค้นหา-เฝ้าระวัง-เสริมคุณค่า-รักษาดูแล ซึ่งการขับเคลื่อนขยายผลจากการศึกษาวิจัยเน้นการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับนโยบายที่ควรกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน รวมถึงสนับสนุนและติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนในระดับปฏิบัติควรบูรณาการการดำเนินการกับภารกิจประจำ และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายตามที่เสนอในผลการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหามีความยั่งยืนคำสำคัญ: เทคโนโลยีออนไลน์ เครือข่ายทางสังคม การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เกมออนไลน์<br><br>Technological advances and ease of access to online media have changed peoples way of life in Thai society. Suppose we cannot cope and take advantage of this advance appropriately. It can cause cyberbullying and online gaming problems, especially to children and youth, who are vulnerable groups that should be protected. Therefore, this research plan aims to develop a network of cooperation in strengthening and supervising the safety of cyberbullying and measures to prevent and control the negative impact of online games among children and youth. The plan was implemented through two sub-projects under the research and development process. The research techniques used were documentary analysis, in-depth interview, focus group discussion, workshop and connoisseurship, seminar and dialogue, and purposive sampling. The research participants were primary and secondary school students and their families, school administrators and teachers, experts and qualified persons or stakeholders from educational agencies, law enforcement, government agencies, private sectors, and related civil society sectors.The research results of the two sub-projects draw up guidelines for developing collaborative networks through the research and development process. Starting from the study of problems and development needs from various sectors and jointly designing and drafting measures/learning materials. Jointly reviewing the draft measures and testing and improving the learning materials, therefore, disseminating for driving and expanding results. Research findings on the promotion and supervision of cyberbullying safety among children and youth provide measures to oversee the safety of children and youth from cyberbullying that has been developed. Consisting of measures for educational institutions, summarized as Teacher development - Encourage learners - Access to parents - Surveillance of incidents - Care and assistance and legal measures, summarized as (1) improving the law, (2) promoting legal knowledge, and (3) helping and protecting children and youth. For the learning materials that have been developed It is an online learning game format that teachers can use to insert in teaching. The knowledge set consisted of (1) raising awareness of others feelings, (2) educating people on cyberbullying and the law, and (3) promoting problem-solving skills.The results of the research on measures to promote creative and safe online games for children and youth are summarized as: (1) control of online game content; (2) determination of guidelines for displaying important information to service users; (3) monitoring of game content. (4) promoting the production of creative online games; and (5) surveillance of children and youth from the threats embedded in online games. As for the measures for educational institutions in the prevention of game addiction and the dangers of playing online games for children and youth can be summarized as prevention, search, surveillance, value enhancement, and maintenance. Expanding results from research studies should be focused on driving from the policy level that should define a clear strategy including supporting and following up concretely. At the practical level, operations should be integrated with routine tasks and continually integrate cooperation with network partners as proposed in the research results so that prevention and solution to problems are sustainable.Keywords: online technology, social network, cyberbullying, online game

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ