Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ผลกระทบของความยืดหยุ่นของจุดต่อในการรับแรงพายุของโ...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของความยืดหยุ่นของจุดต่อที่กระทบกับเสถียรภาพของโครงสร้างเหล็กขึ้นรูปเย็นภายใต้แรงลมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษานี้ครอบคลุมโครงสร้างอาคารขนาดเล็กที่ทำจากเหล็กขึ้นรูปเย็น ซึ่งมีการขันยึดชิ้นส่วนด้วยระบบสลักเกลียว อาคารในการศึกษาเป็นอาคารอุตสาหกรรมในรูปแบบของโครงโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่งเป็นโครงสร้างอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็นที่ใช้โดยทั่วไปในประเทศไทย การศึกษาได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นการศึกษาพฤติกรรมความยืดหยุ่นของจุดต่อ ซึ่งนำไปสู่การจำลองความยืดหยุ่นของจุดต่อในโครงสร้าง ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของการพิจารณาความยืดหยุ่นของจุดต่อที่กระทบต่อพฤติกรรมภายใต้แรงลมของโครงอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็น ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จุดต่อของอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็นแบบระบบสลักเกลียวและแผ่นประกับมีพฤติกรรมกึ่งแข็ง พฤติกรรมนี้เป็นผลมาจากการที่รูเจาะได้รับแรงกดจากสลักเกลียวทำให้รูเจาะเกิดการเสียรูปเนื่องจากหน้าตัดเหล็กขึ้นรูปเย็นมีความหนาน้อย ซึ่งต่างจากสมมติฐานจุดต่อแบบแข็งที่วิศวกรมักใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง ความยืดหยุ่นของจุดต่อที่เกิดขึ้นนี้สามารถจำลองโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนต์และมุมหมุนที่เกิดขึ้นที่จุดต่อ ที่หาได้จากการทดสอบ การจำลองเชิงตัวเลข หรือใช้สมการอย่างง่าย ซึ่งค่าที่ได้จากวิธีการต่าง ๆ มีความต่างกันอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ผลการวิเคราะห์โครงสร้างชี้ให้เห็นว่า การใส่ความยืดหยุ่นที่จุดต่อมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการกระจายโมเมนต์ดัดภายในโครงรวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าการเสียรูปของโครง ซึ่งอาจจะทำให้แรงภายในที่เกิดขึ้นมีค่าสูงเกินความสามารถในการรับแรงของหน้าตัดและการเสียรูปของโครงสร้างไม่ผ่านตามข้อกำหนดที่สภาวะใช้งานได้ ผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการพิจารณาความยืดหยุ่นของจุดต่อในโครงอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็นภายใต้แรงลมอันจะกระทบเสถียรภาพขององค์อาคารโดยรวมที่พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ยังไม่ได้ถูกผนวกเข้าในมาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็นที่มีใช้ในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักในองค์ความรู้ที่สะท้อนจากโครงการวิจัยนี้<br><br>The purpose of this research was to study the effect of joint flexibility on the stability of cold-formed steel structures under wind loads in the northeastern region of Thailand. This study covered small-scale cold-formed steel building structures of which the structural members were fastened with a bolt system. The buildings in the study were industrial buildings that were commonly used as factories or warehouses in Thailand. The study was divided into two main parts. The first part involved the study of flexibility of the cold-formed steel bolt connections, to obtain the flexible joint models to be input in the structural analysis. The second part was the study of the effect of the joint flexibility on behavior of cold-formed steel frame buildings under wind load. The results of the study indicated that bolt connection in the cold-formed steel buildings exhibited a semi-rigid behavior as a result of bolt-hole elongation occurring when the bolts were pushed toward the thin bolt holes to form moment resistance at the joints. This behavior was different from the rigid joint assumption that engineers typically use to analyze and design structures. The joint flexibility models, which were the moment-rotation relationship, could be obtained directly from laboratory experiments, numerical simulations, or some simplified equations. The rotational stiffnesses obtained from the different methods were different, but still comparable. The results of the structural analysis indicated that including the joint flexibility in the structural frame model resulted in a change in the bending moment distribution in the frame as well as an increase in the deformation of the frame. This might cause the resulting internal force to exceed the load capacity and the structural deformation to exceed the requirements under serviceability conditions. The results of this research reflect the importance of considering joint flexibility in the analysis of cold-formed steel building structures under wind load, to ensure global stability of the building. This is an important aspect that has not yet been incorporated into the cold-formed steel building design standards used in Thailand. Therefore, it is necessary to publicize the relevant people to be aware of the knowledge obtained from this research project.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ