Description
บทคัดย่อการใช้พืชในการบำบัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถดูดซับมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่น PM2.5 ของพืชยืนต้นชนิดต่าง ๆ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและแบบ area base experiment พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่าพืชที่มีความสามารถในการลด PM2.5 อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ กัลปพฤกษ์ นีออน โมก พะยูง จามจุรี หมากเหลือง ทรงบาดาล แก้ว และอินทนิล โดยองค์ประกอบทางกายภาพของพืชที่ส่งผลต่อการจับฝุ่นที่ใบ คือ ลักษณะใบ รูปร่างใบ พื้นผิวใบ ขนใบ ปากใบ และชั้นแวกส์ในส่วน cuticle wax นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในพืชมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่นมากที่สุด รองลงมาคือปริมาณไขมันชนิดละลายน้ำ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพืชมีการตอบสนองต่อฝุ่นโดยพยายามสะสมน้ำไว้ภายในต้น มีการปิดปากใบ และลดอัตราการสังเคราะห์แสง กลไกการตอบสนองเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลในระดับกายภาพ แต่ในระดับโปรตีนยังพบว่าโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ cell process, metabolic process และ response to stress มีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเปรียบเทียบกับต้นพืชที่ไม่ได้รับการสัมผัสฝุ่น ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับโปรตีนเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลไกการเปิดปิดปากใบ การสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การป้องกันสารอนุมูลอิสระ ฯลฯ โดยโปรตีนเหล่านี้จะพบการเปลี่ยนแปลงในคลอโรพลาสของพืชมากสุด ในส่วนของการศึกษารูปแบบการจัดวางพืชให้เหมาะสมในเชิงพื้นที่และให้มีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 พบว่าควรจัดวางต้นไม้อย่างน้อย 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นควรมีระยะห่างกันเท่ากับความสูงของชั้นที่ต่ำกว่าหารด้วย 2คำสำคัญ (Key words) ฝุ่นขนาดเล็ก ไม้ยืนต้น กลไกบำบัดฝุ่น การถ่ายทอดองค์ความรู้<br><br>AbstractApplication of plant to remediate PM2.5 has been well reported as an effective method. The objectives of this research are to study the efficiency of higher plants for PM2.5 removal in both laboratory scale and area base experiments, including knowledge transfer and benefits for people staying on the PM2.5 contaminated side. The results showed that plants that have the ability to reduce PM2.5 were C. bakeriana, L. frutescens, W. religiosa, D. cochinchinensis, S. saman, C. lutescens, C. surattensis, M. paniculate and L. macrocarpa. Plant morphology and appearance including leaf shape, leaf surface, trichome, stomata, and cuticle wax can strongly impact phytoremediation efficacy. Moreover, after plants expose to high PM2.5, the plant responds by increasing water content and generating a high concentration of water-soluble wax. This study clearly shows the response of plants under high PM2.5 concentrations, plants also reduce photosynthesis and close their stomata. The pattern of protein-producing in the plant during PM2.5 exposure is absolutely changed from the control plant especially protein involved in cell process, metabolic process, and response to stress. The protein level result can be well related to plant physiology change. In addition, the study of plant placement patterns for spatial optimization and effectiveness in reducing PM2.5 revealed that plants should be arranged at least two tiers, with each tier should be spaced equal to the height of the lower tier divided by 2.Key words PM2.5, Plant, PM phytoremediation Mechanism, Knowledge Transfer
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read