Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของเกษตรกรเกลือทะเล ด้วยแนวคิ...

TNRR

Description
งานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเล เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสมุทรสาครชื่อผู้วิจัย : ดร.ทิวากร เหล่าลือชา, นางประภัสสร นิ่มพินิจ, นายเผด็จ เปล่งปลั่ง, ดร.กวินท์ พินจำรัส และนายกุษลินน์ ปรีชา หน่วยงาน : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันวิทยาลัยชุมชน ปีที่ทำการวิจัย : พ.ศ. 2563กรรมการที่ปรึกษาการวิจัย : ประธานกรรมการที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ พยอม วงศ์สารศรี กรรมการที่ปรึกษา,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิการ์ สมบุญ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริพร สารคล่อง,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราตรี พระนคร และอาจารย์ ดร.วินิธา พาณิชย์ การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่ยังคงมีการผลิตเกลือทะเลด้วยวิถีวัฒนธรรมและวิธีการแบบดั้งเดิมในปัจจุบันสภาพปัญหาชุมชนเกลือทะเลในจังหวัดสมุทรสาครขาดการพัฒนาทางการตลาดโดยเฉพาะการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่จากเกลือทะเล โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการภูมิปัญญาและเอกลักษณ์จากเกลือทะเลเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจากเกลือทะเลจังหวัดสมุทรสาคร และ 3) เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจากเกลือทะเลในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มชุมชน กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชนและลูกค้า และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีค่า IOC=0.89-0.91 และแบบสอบถามชุดที่ 1-4 มีค่า ?=0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการทางการตลาด พบว่า ขาดการพัฒนาการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการห่วงโซ่มูลค่าของชุมชนท่องเที่ยว โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสตุ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ และเอกลักษณ์คือการพัฒนาเกลือสตุ เพื่อรองรับเส้นทางการท่องเที่ยว จำนวน 1 เอกลักษณ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางการตลาดของชุมชน มีจำนวน 9 องค์ประกอบ และมีองค์ประกอบการจัดการทางตลาด 9P ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาการตลาดของชุมชน ภายใต้แนวคิด CMT (Community Marketing Tourism) ทำให้ได้รูปแบบและหลักสูตรที่มีความเหมาะสม ( =4.62) นำไปทำการฝึกอบรม โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสตุ และเอกลักษณ์คือการพัฒนาเกลือสตุเพื่อรองรับเส้นทางการท่องเที่ยว พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.48) และ ประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขั้นโดยใช้แนวคิด BSC พบว่า มุมมองการเงิน จำนวนยอดขายเพิ่มขึ้น ( =4.66) มุมมองลูกค้า มีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ( =4.51) มุมมองกระบวนการภายใน มีการรวมกลุ่มทางการตลาด ( =4.61) และมุมมองการเรียนรู้และการพัฒนา มีการประเมินทางการตลาด ( =4.58) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน ควรนำการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้และร่วมมือการพัฒนาทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว ในรูปแบบการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนท่องเที่ยวและชุมชนทางการด้านการบริการอื่นๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรทำวิจัยรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร ในภาคบริการอื่นๆ และ ควรทำการวิจัยและพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในภาคบริการอื่นๆ คำสำคัญ : การท่องเที่ยวชุมชนเกลือทะเล,การตลาดชุมชนเกลือทะเล<br><br>Research Subject: Development and Creation of Value Added Sea Salt Products for Community Tourism in Samut Sakhon ProvinceResearcher&rsquo;s Name: Dr.Tiwakorn Laoluecha, Mrs.Praphatsorn Nimpinij, Dr. Kawin Pinjumrus, Mr. Padet Plengplang, Mr. Kusalin Preecha Authority: Mukdahan Community College, Community College InstituteResearch Years: 2020Research Advisory Committee: Chairman - Associate Professor Payom Wongsansri, Ph.D., Advisors - Assistant Professor Mrs. Ratree Pranakhon, Ph.,D., Assistant Professor Kannika Sombun, Assistant Professor Siriporn Sarnkong, and Lecturer Winita Panich Ph., D. Respecting this research and development, Samut Sakhon province is a province where sea salt production still follows traditional culture and method. However, a lack of market development, especially development of new sea salt products and services, is nowadays the problem of sea salt community in Samut Sakhon province. This research aimed to 1) study the state of management of wisdom and identity from sea salt for community tourism in Samut Sakhon province; 2) develop and create value added sea salt products for community tourism in Samut Sakhon province; and 3) disseminate and convey body of knowledge on creation of added value sea salt for community tourism in Samut Sakhon province. There were 3 target groups, namely, community, public sector, private sector and customers as well as experts. The research tools were the interviews with IOC=0.89-0.91 and the questionnaires (No. 1-4) with ? = 0.98. The statistics for analysis included percentage, mean and standard deviation. According to study results, the state of marketing operations indicated a lack of marketing development, product development and management of tourism community&rsquo;s value chain. It was found that one product and one identity of &lsquo;Satu Salt&rsquo; were developed to support tourism route. Besides, the analysis of community marketing in 9 components and of marketing management components (9P) was made. The author created and developed community marketing under the concept of CMT (Community Marketing Tourism) resulting in a suitable model and program ( = 4.62) for training purpose. &lsquo;Satu Salt&rsquo; product was developed, while the identity concerned &lsquo;Satu Salt&rsquo; development to support tourism route. In the overall picture, the highest level of satisfaction ( = 4.48) was found. Meanwhile, the effectiveness of model developed under BSC concept indicated that, for financial perspective, sales volume was higher ( =4.66). In customer perspective, supports from public and private sectors were available ( = 4.51). Regarding internal process perspective, a marketing group was formed ( = 4.61). Lastly, for learning and development perspective, marketing was evaluated ( = 4.58). The recommendation from this research was that development and creation of value added sea salt products for community tourism in Samut Sakhon province should be applied by public agencies, community and private sector towards integration of collaboration and learning in developing tourism community&rsquo;s marketing. This was to promote and support tourism community development in terms of plan making, programs, projects, activities and budgets in response to problems and needs of tourism community and other service communities in Samut Sakhon province. With respect to suggestions for further research, sea salt product development model for community tourism in other service sectors in Samut Sakhon province should be studied. Moreover, there should be research and development on and creation of value added sea salt products for community tourism among community enterprises in other service sectors in Samut Sakhon province too.Keywords: sea salt community tourism, sea salt community marketing

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ