Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานส...

TNRR

Description
การศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของประเทศและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงพื้นที่เป้าหมายให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและสอดคล้องกับสภาพเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เพื่อประเมินและวิเคราะห์ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รองรับการก่อสร้างรถไฟรางคู่หรือรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้ง ประเมินความพร้อมในการปรับตัวและการสร้างโอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่ เพื่อทบทวนศักยภาพการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และพื้นที่เชื่อมโยงตามแนวเส้นก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟรางคู่สู่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และทบทวนและคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านศูนย์กลางการเชื่อมโยงผู้โดยสารและสินค้าทางรถไฟความเร็วสูงไปยังโหมดขนส่งอื่นๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านกายภาพ และเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยผลการประเมินความเป็นไปได้ในโครงการ มีการวิจัยสภาพแวดล้อมปัจจุบันของพื้นที่ในการประเมินสภาพแวดล้อมทั่วไปในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประชากรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีการวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และข้อจำกัดในการพัฒนาที่มีผลต่อการวิจัยทั้งเรื่องการจัดพื้นที่ดำเนินการ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญส่งเสริมด้านการวิจัย เพื่อให้วิเคราะห์ถึงการประเมินความเป็นไปได้ในโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การระบุพื้นที่และกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในด้านพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการใช้พื้นที่วิเคราะห์อุปสงค์ หรือความต้องการและอุปทานหรือจำนวนและปริมาณในการใช้พื้นที่กิจกรรมและความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ การประเมินความเป็นไปได้ในโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้มีความสอดคล้องในการเดินทางเชื่อมกิจกรรมในพื้นที่ศึกษา จากผลวิจัยสรุปได้ว่าควรมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ให้มีระบบอัจฉริยะมากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 สนับสนุนและมุ่งเน้นให้มีการหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนทางบกเดิมให้เป็นพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เช่น การเปลี่ยนรถเมล์ปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นรถเมล์พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น โดยเร่งพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองและระหว่างเมืองให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงทางกายภาพ การเชื่อมโยงตารางเวลาเดินทาง และการเชื่อมโยงค่าโดยสาร เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนให้สูงขึ้น พร้อมทั้งวางแผนการขยายตัวของเมืองอย่างเป็นระบบ เนื่องจากในปัจจุบันเกิดปัญหาการกระจุกตัวของเมืองขนาดใหญ่ ที่ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่กระจุกอยู่ในเมืองเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องใช้การคมนาคมขนส่งเป็นเครื่องมือในการกระจายการพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่อื่นๆ และชี้นำการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญในการเข้มงวดในการกำกับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจรและการคมนาคมขนส่งทางถนน เพื่อแก้ไขปัญหาอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่สูง และมีความรุนแรง และควรปรับปรุงรักษาโครงข่ายให้อยู่ในสภาพที่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเดินทางระหว่างเมือง พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้อยู่ในระดับสากลมากขึ้นและสำหรับการพัฒนาเพิ่มเติมโครงข่ายถนนขึ้นใหม่ในอนาคต<br><br>This study can be useful in the development of the Eastern Special Development Zone and related parties to support the growth and expansion of the area. To be in line with the changing dynamics of the country and the Eastern Special Economic Zones, the results of the study will be utilized in the development or improvement of the targeted areas to benefit the development and in accordance with the conditions of the Eastern Special Development Zone, such as Chachoengsao Province. Chonburi and the real Rayong Province to assess and analyze the strategic position of the Eastern Special Development Zone Support the construction of a double-track railway or a high-speed rail linking 3 airports, as well as assess the readiness to adapt and create opportunities from the development of the transport network and the transport linking the area. To review the development potential of economic activities in the Eastern Special Development Zone and the area connecting along the construction line of high-speed trains connecting 3 airports and double-track railways to the eastern provinces and reviewing and forecasting the volume of goods transported through the hub linking passengers and goods by high-speed rail to other modes of transport. in the Eastern Special Development Zone to study physical fitness and to analyze and formulate guidelines to optimize the infrastructure supporting multimodal transport.By the results of the feasibility assessment of the project The areas current environment is researched to assess the past general environment. Current and future trends of the population in the Eastern Special Development Zone There is an analysis of the potential, problems and limitations of development affecting Both research on the arrangement of the area is carried out. by analyzing the suitability of the area Developing the area to be an important learning center to promote research To analyze the feasibility assessment of the project to optimize the infrastructure to support multimodal transport in the Eastern Special Development Zone. Identification of areas and development activities in the Eastern Special Development Zone in order to be consistent in the area of the Eastern Special Development Zone Including the analysis of demand for space, analysis of demand or demand and supply or the amount and quantity of activity space use and the connection of various activities. Feasibility Evaluation of Multimodal Transport Infrastructure Optimization Project in the Eastern Special Development Zone To be consistent in traveling to connect activities in the study area.From the results of the research, it can be concluded that the facilities in the area should be developed to have more intelligent systems in accordance with the Thailand 4.0 government policy. Support and focus on the conversion of the old mass transit system to electric energy. such as changing the current buses that use natural gas to electric buses, etc., by accelerating the development of public transport networks in the urban and inter-city areas to be comprehensive and systematically interconnected, whether they are physical links; travel timetable link and the fare link in order to increase the proportion of peoples use of public transport as well as systematically planning the expansion of the city Due to the current problem of concentration in large cities that still tends to expand more and more concentrated in the same city Therefore, transportation must be used as a tool to spread the development linking to other areas. and guided the development of the area in a systematic manner and placed an emphasis on strict regulation of laws relating to traffic and road transport; to solve the problem of high road accident rates and violent and should improve and maintain the network in good condition There are facilities to accommodate travel between cities. as well as raising the safety standard to a more international level and for further development of the road network in the future.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ