Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การบริหารจัดการขยะพลาสติกเชิงพื้นที่

TNRR

Description
การบริหารจัดการขยะพลาสติกเชิงพื้นที่ ทั้งพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่เกาะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขยะพลาสติกเป็นศูนย์ในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) บริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจรเชิงพื้นที่ ให้บรรลุเป้าหมาย 2) ประเมินห่วงโซ่อุปทานของการจัดการขยะพลาสติกโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 3) หาแนวทางในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และ 4) หาแนวทางในการกำหนดวิธีการเก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยผลการดำเนินงาน พบว่า ในการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจรเชิงพื้นที่ สามารถดำเนินการโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวมและคัดแยกขยะพลาสติกในพื้นที่ศึกษา และการลดปริมาณขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร โดยใช้ถังแยกขยะอัจฉริยะแบบปัญญาประดิษฐ์ (Smart Bin) ร่วมกับรถกวาดขยะชายหาดเพื่อเก็บขยะบนชายหาดแบบเปียก และเรือไร้คนขับที่ติดตั้งทุ่นเรือจากขยะพลาสติก ซึ่งสามารถรวบรวมขยะพลาสติกชายหาดไปผลิตบล็อกปูพื้น และขอบคันหินสำหรับการประเมินห่วงโซ่อุปทานของการจัดการขยะพลาสติกโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์จากขยะทะเลนั้นช่วยให้ขยะทะเลนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 4-100 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทและความยาวของห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ แนวทางในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ดำเนินการโดยการจัดทำร่างเกณฑ์การประเมินมาตรฐานพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่ใช้หลักการพัฒนามาจาก TRUE ซึ่งย่อมาจาก Total Resource Use and Efficiency เป็นการรับรองระดับการลดขยะไปบ่อฝังกลบเป็นศูนย์แบบ TRUE Zero Waste Certification สามารถนำมาใช้ยกระดับผู้ประกอบการผลิตพลาสติกและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการหาแนวทางในการกำหนดวิธีการเก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ดำเนินการโดยจัดทำร่างคู่มือในการเก็บตัวอย่างน้ำผิวดิน และประเมินปริมาณไมโครพลาสติกในเครื่องซักผ้าและน้ำเสียชุมชนสรุปได้ว่าในการบริหารจัดการขยะพลาสติกเชิงพื้นที่ สามารถดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้<br><br>Area base plastic waste management for beach and island provices aimed to the target of zero plastic waste. It was done for 1) integrated plastic waste management, 2) evaluation of supply chain for plastic management by circular economy principle, 3) the guideline to increase the platics and production process industries to higher level, and 4) the approach for the microplastic determination in the surface water. The results showed that the area base plastic waste management was succeeded by enhancing waste collection and separation and reducing the single use plastic and integrated plastic waste management. The appropriate technology included smart bin, beach cleaner, and sweep collection together with plastic waste development products such as concrete blocks and curbsides. Using of upcycling was found that the development of new products would increase products valable about 4-100 times depending on the types and supply chain. The guideline using to increase the plastic and its process production was developed and test for available use. It was found that the concept of TRUE (Total Resource Use and Efficiency) was acceptable worldwide and was possibly available to Thailand to increase effectively the plastic industrial level. To find an approach for microplastic determination with the appropriate method for the environment, the manual for determination of microplastic from the surface water was performed for the evaluation of microplastic from laundry machine and municipal wastewaters.In coclusion, the area base plastic waste management was successful to use for the zero plastic waste beach management.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ