Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการเสริมสร้างพลังของคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาภาคเกษ...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างพลังของคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาภาคเกษตรและท้องถิ่น เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับศักยภาพของคนรุ่นใหม่ 2) ศึกษาและพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ให้สามารถออกแบบและจัดการพื้นที่ทำการเกษตรได้ 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยทีมจัดกระบวนกร และผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้ในลักษณะ Blended Learning แบบผสมออนไลน์และออนไซต์ Coaching และ Mentoring ด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการพัฒนาแพลตฟอร์มการออกแบบจัดการพื้นที่การทำการเกษตร และแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามและจัดเวทีประชุมสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับศักยภาพของคนรุ่นใหม่ มีทีมจัดกระบวนการจำนวน 27 คน ร่วมเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ตนเองของกระบวนกร (2) การเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจแก่นของกระบวนการเพื่อการเรียนรู้สู่ความเปลี่ยนแปลง (3) การอบรมบ่มเพาะ เรียนรู้และลงมือทำ โดยการฝึกการออกแบบและการจัดกระบวนการจริง และ (4) การถอดบทเรียนร่วมกัน โดยมีการอบรมขยายผลไปสู่ผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ จำนวน 91 ราย โดยมีความพึงพอใจต่อกระบวนการในระดับมาก 2) แพลตฟอร์มการออกแบบและบริหารพื้นที่ หรือ Get Start and Farm Planning เป็น Web Application ซึ่งมีองค์ประกอบของระบบ 11 ส่วน ดังนี้ ส่วนหน้าจอสำหรับใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน ส่วนนำเข้าข้อมูลพื้นฐานเพื่อการออกแบบพื้นที่ ส่วนส่งออกข้อมูลและจ่ายค่าบริการ ส่วนตลาดและบริการ ส่วนสร้าง QR code ต้นไม้ ส่วนตรวจสอบพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการปลูกต้นไม้มีค่า ส่วนจัดการข้อมูลการใช้ระบบ/สมาชิก ส่วนการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS) ส่วนจัดการข้อมูลด้านการออกแบบพื้นที่ ส่วนพยากรณ์อากาศรายชั่วโมงจากกรมอุตุนิยมวิทยาในบริเวณพื้นที่ออกแบบ และส่วนจัดการข้อมูลทางด้านรูปแบบการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการใช้ประโยชน์และทดสอบใช้แพลตฟอร์ม จำนวน 87 คน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ โดยใช้แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการ PLC ประกอบด้วย แพลตฟอร์มเพื่อการแลกเปลี่ยน แบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ ผลิตภัณฑ์ บริการที่ส่งเสริมให้เกิดวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อชุมชน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างและสื่อสารแบรนด์ ร่วมออกแบบแพลตฟอร์ม จำนวน 63 คน โดยได้แผนกลยุทธ์ธุรกิจและแผนการตลาดที่ทำให้แพลตฟอร์มเพิ่งตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และได้ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ธุรกิจและแผนการตลาด จำนวน 19 คน<br><br>Research objectives of Empowerment of Youths in Agricultural and local Development Project are : 1) to study process of strengthening and enhancing potential of youth 2) to study and to develop learning platform to support young generation agricultural entrepreneur’s ability to design and manage their agricultural lands 3) to strengthen networks of young generation agricultural entrepreneurs. Sample research groups are process facilitators and young generation agricultural entrepreneurs by using Collaborative Action Research Method; exchange forums; blended-learning method via online and onsite locations; coaching and mentoring through Professional Learning Community process; developing agricultural land design platform as well as knowledge exchanging platform for young generation agricultural entrepreneurs. Collection of data for the project is through interviews, forums, and seminars. Data analysis is by Descriptive Analysis and Content Analysis Methods.Research objectives of Empowerment of Youths in Agricultural and local Development Project are : 1) to study process of strengthening and enhancing potential of youth 2) to study and to develop learning platform to support young generation agricultural entrepreneur’s ability to design and manage their agricultural lands 3) to strengthen networks of young generation agricultural entrepreneurs. Sample research groups are process facilitators and young generation agricultural entrepreneurs by using Collaborative Action Research Method; exchange forums; blended-learning method via online and onsite locations; coaching and mentoring through Professional Learning Community process; developing agricultural land design platform as well as knowledge exchanging platform for young generation agricultural entrepreneurs. Collection of data for the project is through interviews, forums, and seminars. Data analysis is by Descriptive Analysis and Content Analysis Methods.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ