Description
แอลกอฮอล์มีผลร้ายต่อสุขภาพผู้ดื่มและสร้างผลกระทบด้านลบต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศซึ่งรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงโน้มน้าวให้ประชาชนลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหนึ่งที่ใช้โน้มน้าว คือ กลวิธีทางภาษา การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษารูปแบบและโครงสร้างความที่โน้มน้าวใจให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลของไทยในพื้นที่ล้านนาตะวันออก และ 2. เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประเภทการวิเคราะห์ความทางภาษาศาสตร์โดยเก็บข้อมูลภาษาในพื้นที่ล้านนาตะวันออกผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ จำนวน 170 ชิ้น มีการเก็บข้อมูลโดยลงพื้นที่เพื่อรวบรวมสื่อจาก 10 หน่วยงานแล้วนำมาถอดความทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน หลังจากนั้นจำแนกข้อมูลตามประเภทความโดยแบ่งเป็นรายจังหวัดแล้ววิเคราะห์เจตนาการสื่อสารผ่านรูปแบบและโครงสร้างความและกลวิธีทางภาษาผลการศึกษาพบว่าจากการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างความ สามารถจำแนกประเภทความต่าง ๆ ได้ดังนี้ จังหวัดเชียงรายจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. ความประเภทข้อมูลทางกฎหมาย 2. ความประเภทข้อมูลทางวิชาการ 3. ความประเภทการเสนอแนวทางการจัดการชุมชน 4. ความประเภทคำขวัญเพื่อสร้างแรงจูงใจให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดแพร่จำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1.ความประเภทคำขวัญ 2.ความประเภทข้อมูลทางกฎหมาย และ 3.ความประเภทวิชาการ จังหวัดพะเยา จำแนกได้ 6 ประเภท ได้แก่ 1.ความประเภทข่าว 2.ความประเภทความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับ 3.ความประเภทแนะแนวทางปฏิบัติตน 4. ความประเภทข้อมูลวิชาการ 5.ความประเภทความคิดเห็นจากบุคคลต้นแบบ และ 6.ความประเภทคำขวัญ จังหวัดน่าน จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1.ความประเภทข้อมูลทางวิชาการ 2.ความประเภทความรู้ทางกฎหมายและข้อบังคับ 3.ความประเภทแนวทางการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 4.ความประเภทคำขวัญ ส่วนกลวิธีทางภาษาพบว่า จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่านใช้ 4 กลวิธี ได้แก่ 1. กลวิธีทางศัพท์ 2.กลวิธีการขยายความ 3.กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม และ 4.กลวิธีทางวาทศิลป์ ส่วนจังหวัดแพร่ใช้ 2 กลวิธี ได้แก่ 1.กลวิธีทางศัพท์ และ 2.กลวิธีทางวาทศิลป์ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่ทำงานรณรงค์ให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ คือ ควรมีการวิเคราะห์ผู้รับสาร มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เป้าหมาย จำนวนชิ้นงานที่สื่อสารและกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเข้าถึงได้ ควรมีการใช้เนื้อหาสารที่หลากหลาย ควรใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการรับสาร ส่วนข้อเสนอแนะในการทำวิจัย ได้แก่ (1) ควรศึกษาว่ากลุ่มผู้ดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นใด และเจตนาการดื่มของแต่ละชนชั้นคืออะไร และปัจจัยใดเป็นแรงจูงใจในการดื่มของชนชั้นต่าง ๆ (2) การโน้มน้าวประชาชนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ด้วยการอ้างถึงการลดต่ำของภูมิคุ้มกัน Covid-19 ประสบความสำเร็จหรือไม่ สามารถจูงใจให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้มากน้อยเพียงใด และควรบรรจุเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือไม่ (3) ควรพัฒนางานวิจัยทางภาษาศาสตร์บูรณาการกับศาสตร์อื่น เช่น การสื่อสารทางการเมือง การสื่อสารการตลาดเพื่อสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างกลวิธีทางภาษากับอิทธิพลต่อผู้รับสารคำสำคัญ: กลวิธีทางภาษา, ล้านนาตะวันออก, การบริโภคแอลกอฮอล์<br><br>Alcohol has a detrimental effect on the health of drinkers and has a negative impact on families, communities, and countries where governments recognize the importance of solving this problem. Therefore, persuading people to reduce and stop drinking alcohol by one method used to persuade is the language strategy. The objectives of this research are: 1. to investigate the patterns and discursive structure that persuade people to change their alcohol consumption behavior during Thai festivals in the Eastern Lanna area, and 2. to investigate the linguistic strategies used to persuade people to change such behaviors. This research is a qualitative research in the type of linguistic text analysis by collecting 170 pieces of language data in the Eastern Lanna area through various media. Data was collected by touring the region to collect media from 10 agencies and then transcribed both spoken and written language. Subsequently, the data was classified by message type, divided by provinces, and analyzed the communication intent through the format and structure of the message and linguistic strategies.The results of this study revealed that from the analysis of patterns and discursive structure can be classified according to their communication intention as follows: Chiang Rai Province can be classified into 4 genres: legal information; academic information; community management proposal information; and slogans to motivate to refrain from alcohol. Phrae province can be classified into 3 genres: slogan; legal information; and academic. Phayao Province can be classified into 6 genres as follows: news; knowledge about laws and regulations; guidance on practice; academic information; opinion from the model person; and slogans. Nan Province can be classified into 4 genres as follows: academic information; knowledge of laws and regulations; type of guidelines for changing alcohol drinking behavior; and slogans. In terms of linguistic strategies, it was discovered that Chiang Rai, Phayao, and Nan provinces employed the four following strategies: first, vocabulary strategies. Second, strategies of explanation. Third, pragmatical and discourse strategies. Fourth, rhetorical strategies. In the case of Phrae Province, two strategies were employed: first, vocabulary strategies. Second, rhetorical Strategies.Recommendations for agencies that are working with the campaign for people to change their drinking habits should be cautious more about their audiences. There should be data collection for the target area; the number of communication pieces which approach to the target audience. There should be a wide variety of content which tailored-designed to meet the needs of the intended audience by using appropriate communication channels that match to receivers’ behaviors. In terms of research recommendations, (1) it is advisable to investigate which social class is the majority of alcohol drinkers, what is the drinking intent of each social class, and what are the motives of drinkers? (2) Would it be successful in convincing people to change their alcohol consumption behavior by citing low Covid-19 immunity? And should consuming alcohol be included as one of the risks of contracting the 2019 Coronavirus? (3) Should develop researches integrating with other sciences such as a political communication and a marketing communication in order to show the relationship between the linguistics strategies and influence over the receivers.Keywords: Rhetorical Strategy; Eastern Lanna Area; Alcohol Consumption
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read