Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในพ...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลในเขตจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งจำแนกประเภทและสัดส่วนแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5 การศึกษาความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 โดยการเก็บตัวอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10.9?3.9 -70.7?14.7 ?g/m3 และมีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่กำหนดไว้ 50 ?g/m3 อยู่ 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2564 ส่วนฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กึ่งเมืองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 16.8?9.6 - 84.6?18.5 ?g/m3 และมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ 4 เดือน คือ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 - มีนาคม พ.ศ. 2564 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสัดส่วนองค์ประกอบทางเคมีในฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมืองมีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุพบน้อยสุด ตามลำดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 98% ของปริมาณฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับพื้นที่กึ่งเมืองพบว่ามีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุ ตามลำดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 95% ของปริมาณฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด การจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ด้วยแบบจำลองผู้รับสัมผัส PMF พบว่า เขตพื้นที่เมืองมีแหล่งกำเนิด 5 แหล่ง ได้แก่ Traffic emission (28%) Construction dust (11%) Biomass burning (25%) Road dust (15%) และ Mineral dust (21%) ส่วนพื้นที่กึ่งเมืองมีแหล่งกำเนิด 5 แหล่ง ได้แก่ Biomass burning (22%) Road dust (36%) Traffic emission (16%) Mineral dust (9%) และ Construction dust (17%) ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศต่อไป<br><br>This research aims to study the seasonal changes in ambient mass concentrations and chemical composition of PM2.5 and identify the source apportionment. The 24-hour PM2.5 samples were collected from July 2020 to March 2021 in urban and semi urban sites of Phitsanulok. Results showed that the PM2.5 concentration of the urban site was in the range of 10.9?3.9 - 70.7?14.7 ?g/m3 and did exceed the air quality standard (50 ?g/m3) during January - March 2021. The PM2.5 concentration of the semi urban site was in the range of 16.8?9.6 - 84.6?18.5 ?g/m3 and did exceed the standard during December 2020 - March 2021. The results found that carbonaceous components were the most abundant species of PM2.5, followed by anions, cations, and elements, accounting for 98% and 95% of the PM2.5 mass in the urban and semi urban sites, respectively. PMF source apportionment results suggest that there were five emission sources of PM2.5 in the urban site: traffic emission (28%), construction dust (11%), biomass burning (25%), road dust (15%) and mineral dust (21%). In the semi urban site, five emission sources were identified: biomass burning (22%), road dust (36%), traffic emission (16%), mineral dust (9%) and construction dust (17%). The results of this study could be used in air quality management.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ