Description
งานวิจัยนี้ศึกษาการสะสมของไมโครพลาสติกในระบบนิเวศบนบกครอบคลุม มวลน้ำ ตะกอนดิน ดิน สัตว์ป่าบก ลูกอ๊อด ปลาน้ำจืด กุ้งน้ำจืด หอยฝาเดียวและหอยสองฝา และกองมูลของสัตว์ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี พบไมโครพลาสติกในมวลน้ำ 0.48?0.67 ชิ้น/ลิตร และในตะกอนดินกับดิน 13.61 ?17.74 และ 15.11?11.68 ชิ้น/กิโลกรัม ตามลำดับ ซากสัตว์ป่าและลูกอ๊อด 0.79?5.13 และ 12.07?31.14 ชิ้น/น้ำหนักตัว (กรัม) และในกองมูลสัตว์ป่าร้อยละ 41.18 ในช้างป่า กระทิง หมูป่า กวางป่า ละอง-ละมั่ง หมาใน และแย้ พื้นที่อนุรักษ์พบไมโครพลาสติกในมวลน้ำ (p < 0.01) และซากสัตว์ป่ากับลูกอ๊อด (p < 0.05) น้อยกว่านอกพื้นที่อนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนใหญ่พบไมโครพลาติกแบบเส้นใย สีดำ สีน้ำเงิน สีฟ้า และสีขาวขุ่น และ 50 – 1000 ?m ทั้งในมวลน้ำ ตะกอนดิน ดิน ซากสัตว์ป่าและลูกอ๊อดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ปริมาณของไมโครพลาสติกจำแนกตามรูปร่าง สี และขนาดในมวลน้ำ ดิน ตะกอนดิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่พบในซากสัตว์ป่าและลูกอ๊อด และในการศึกษาปลา 15 ชนิด กุ้ง 1 ชนิด หอย 2 ชนิด พบไมโครพลาสติกแบบเส้นใยมากที่สุด โดยพบในปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์ ปลากินเนื้อ และปลาหน้าดิน ร้อยละ 73.3, 66.6, และ 65.3 ตามลำดับ โดยปริมาณที่พบในเขตต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของปลาช่อน (Channa striata) ร้อยละ 10, 40, 80; ปลาขี้ยอก (Mystacoleucus marginatus) ร้อยละ 0, 30, 90; ปลาอีด (Paracanthocobitis zonalternan) ร้อยละ 0, 10, 40; กุ้ง (Macrobranchium lanchesteri) ร้อยละ 0, 22, 35; หอยฝาเดียว (Clea Anentome helena) ร้อยละ 0, 14, 64; และหอยกาบน้ำจืด (Pilsbryoconcha exilis compressa) พบเฉพาะในเขตต้นน้ำและปลายน้ำร้อยละ 0 และ 75 ตามลำดับ ไมโครพลาสติกที่พบเป็นพอลิเมอร์ชนิด LDPE, PE PET, PP, PVC, PDMS, PA, PES, PU, PS, PMMA, Polyethylene/polypropylene copolymer, Polyester, EDPM rubber, , Polyester + Cotton, PP+PE, Polyester+ Rayon, Rayon+PU, Cotton+PU ผลวิจัยยืนยันว่าพื้นที่ชุมชนสัมพันธ์กับปริมาณไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและในสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อิสระทั้งบนบกและในน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ปริมาณที่พบน้อยเกินกว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์อย่างเฉียบพลัน (acute) ได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาทางพิษวิทยาเพิ่มเติม ทั้งนี้ไมโครพลาสติกน่าเกิดจากการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด การกำจัดขยะแบบเทกอง การซักผ้าใยสังเคราะห์ การใช้พลาสติกเพื่อการเกษตร การใช้กระสอบพลาสติกทำฝาย และไมโครพลาสติกจากอากาศ ผลการศึกษานี้เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการสร้างความมตระหนักต่อสถานการณ์ของไมโครพลาสติก นำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกแก่ประชาชน หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว รวมทั้งต้องริเริ่มการเฝ้าระวังการสะสมของไมโครพลาสติกผ่านเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบต่อนิเวศบริการที่มนุษย์ต้องการจากธรรมชาติบนฐานทรัพยากรในท้องถิ่น<br><br>We examined microplastics (MPs) in terrestrial ecosystems, covering water, sediment, soil, terrestrial wildlife, tadpoles, freshwater fish, shrimp, snails, bivalves, and vertebrate feces in the Khwae Noi Watershed in Kanchanaburi Province. We found MPs in water, sediment and soil for 0.48?0.67, 13.61 ?17.74, and 15.11?11.68 items/kg., respectively and also in feces of Elephas maximus, Bos gaurus, Sus scrofa, Rusa unicolor, Rucervus eldii, Cuon alpinus, and Leiolepis belliana, accounting for 41.18% of all 85 samples. The carcasses and tadpoles accumulated 0.79?5.13 and 12.07?31.14 items/body weight (g). MPs in water (p < 0.01), carcasses and tadpoles (p < 0.05) significantly differed between inside and outside protected areas. Mostly, black, blue, light blue, and cloudy white fibers with sizes of 50 – 1000 ?m were found more than other types, colors, and sizes (p < 0.01), and were similar between those found in the environment and the animal. Fifteen, two, and one fish, shellfish, and shrimp species were found MPs with the highest quantity of fiber, followed by foam, film and pellet, respectively. Fiber were found in omnivorous, carnivorous, and benthic fish species for 73.3%, 66.6% and 65.3%, respectively. The habitats of head, mid and estuary accumulated MPs in Channa striata for 10%, 40%, 80%; Mystacoleucus marginatus for 0%, 30%, 90%; Macrobranchium lanchesteri for 0%, 22%, 35%; Clea (Anentome) Helen for 0%, 14%, 64%, and Pilsbryoconcha exilis compressa in upstream and downstream for 0% and 75%, respectively. The polymer types of MPs included LDPE, PE PET, PP, PVC, PDMS, PA, PES, PU, PS, PMMA, Polyethylene/polypropylene copolymer, Polyester, EDPM rubber, Polyester+Cotton, PP+PE, Polyester+Rayon, Rayon+PU, Cotton+PU. Human-dominated areas have significant influenced on MPs accumulation both in environment and on free-living animals (p < 0.05), and possibly came from littering, ineffective solid waste management, synthetic cloth washing, plastic uses in agriculture, check dam construction with plastic sack, and microplastics from the air. MP accumulation might not be able to acutely affect organisms and human health due to small in numbers and toxicological study of MPs is required. Local people, government officials, and tourists should be inculcated knowledge and practices on appropriate solid waste management technologies. MPs monitoring is required to prevent any effects of microplastics on ecological services from the nature.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read