Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวเม่าสู่มาตรฐานความปลอดภั...

TNRR

Description
บ้านนายอ แหล่งผลิต ข้าวเม่า ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสกลนคร แม้ว่าจะสามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี แต่กระบวนการผลิตข้าวเม่าที่ผ่านมายังไม่ได้รับการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิต และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ได้ส่งผลต่อความมั่นคงทางรายได้ และวิถีชีวิตของชุมชนอย่างรุนแรง ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าสดบ้านนายอ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และภาคีเครือข่าย จึงได้ยกระดับกระบวนการผลิตข้าวเม่าสู่มาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแผนการดำเนินงาน การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่ การติดตามกำกับกระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การยกระดับการผลิตข้าวเม่าให้ได้มาตรฐาน โดยการดำเนินงานประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ พัฒนาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ใช้ผลิตข้าวเม่า การจัดการระบบการผลิตข้าว การพัฒนาการผลิตข้าวเม่าสู่มาตรฐาน อย. ผลการดำเนินงานพบว่า พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เหมาะสมสำหรับทำข้าวเม่าจำนวน 5 สายพันธุ์ได้แก่ 1) ข้าวเหนียวสายพันธุ์นางสวน 2) ข้าวเหนียวสายพันธุ์อีขาวใหญ่ 3) ข้าวเหนียวสายพันธุ์อีตมหางนาค 4) ข้าวเหนียวดำ 5) ข้าวเหนียวสายพันธุ์อีเขียวนอนทุ่ง เมล็ดพันธุ์มีความบริสุทธิ์มากขึ้นโดยมีความบริสุทธิ์ 97- 100 เปอร์เซ็นต์ พบการปนเปื้อนของข้าวพันธุ์อื่นต่ำกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ มีเปอร์เซ็นต์ความงอก 97-100 เปอร์เซ็นต์ และความชื้น 10-14 เปอร์เซ็นต์ ในการการพัฒนาการผลิตข้าวเม่าสู่มาตรฐาน อย. ได้ดำเนินการการปรับปรุงพื้นที่ได้แก่ ฝ้าเพดานเรียบ ขัดมันพื้นเรียบ ติดมุ้งลวดตาข่ายแบบถี่ป้องกันแมลง ติดม่านพลาสติกสีเหลือง ปรับระดับครกตำโดยยกขอบให้สูงขึ้น แยกห้องตำเข้าเม่า แยกห้องบรรจุภัณฑ์ ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย เพิ่มไฟส่องสว่าง ติดป้ายสถานที่ผลิต เก็บวัสดุอุปกรณ์ในภาชนะที่ปิดสนิท เป็นต้น และปรับกระบวนการผลิตโดยเปลี่ยนการใช้ความร้อนจากฟืนเป็นแก๊ส พบว่าการใช้ความร้อนจากแก๊สทำให้ได้คุณภาพข้าวเม่าดังเดิม ลดฝุ่นควันจากการผลิตและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 19 เปอร์เซ็นต์ คือ ก่อนการดำเนินงาน ข้าวเม่าต่อถุง/ 1 กิโลกรัม มีต้นทุน 76 บาท หลังการดำเนินงานต้นทุนลดลง ข้าวเม่าต่อถุง/ 1 กิโลกรัม ต้นทุน 61บาท และพบว่าก่อนการดำเนินงานมีกำไรต่อถุง/ 1 กิโลกรัม 73 บาท หลังการดำเนินงานมีกำไรต่อถุง/ 1 กิโลกรัม 88.6 บาท และพบว่า ก่อนการได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตข้าวเม่าให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยพบว่าเกษตรกรมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 19 คะแนน และการทดสอบหลังการถ่ายทอดความรู้พบว่าเกษตรกรได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 24 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน โดยแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวเม่าสู่มาตรฐาน ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ การยกระดับการผลิตสู่มาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง และการสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อหนุนเสริมต่อยอดการพัฒนาให้ยั่งยืน<br><br>ไม่มี

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ