Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย

TNRR

Description
การเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อยณัฐชพงศ์ เพชรฤทธิ์*, ประชา ณะเตีย และ สุขาวดี จารุรัชต์ธำรงศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสตูลบทคัดย่อ การเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย Breeding and Nursing of Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949) ได้ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสตูล ในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 โดยวิธีการฉีดกระตุ้นแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยที่มีความยาวเฉลี่ย 7.94+0.34 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 2.09+0.21 กรัม ด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate (Bus) ในอัตราความเข้มข้นต่างกัน 4 ระดับ คือ 15, 20, 25 และ 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone (Dom) 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พ่อพันธุ์ปลาปล้องอ้อยมีความยาวเฉลี่ย 7.90+0.29 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 1.73+0.79 กรัม ฉีดกระตุ้นด้วย Bus ในอัตรา 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ Dom 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การเพาะพันธุ์ใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติในตู้กระจกที่มีระบบน้ำหมุนเวียนไหลผ่าน 2 ลิตรต่อนาที ใช้อัตราส่วนเพศเมียต่อเพศผู้ 1 ต่อ 4 ตัวต่อตู้ ผลการทดลองพบว่า หลังการฉีดประมาณ 10-12 ชั่วโมง แม่พันธุ์ปลาทุกชุดการทดลองมีการวางไข่ 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนไข่ต่อแม่เฉลี่ยชุดการทดลองที่ฉีดด้วย Bus 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม มีค่าน้อยกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ไข่ปลาปล้องอ้อยเป็นประเภทไข่จมติดวัสดุ แต่มีความเหนียวไม่มาก มีรูปร่างกลม สีเขียวใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.92?0.05 มิลลิเมตร พัฒนาการของคัพภะจนฟักเป็นตัวใช้เวลา 15 ชั่วโมง 55 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 25.0-28.0 องศาเซลเซียส ลูกปลาแรกฟักมีความยาวเฉลี่ย 1.59?0.04 มิลลิเมตร พัฒนาการจากลูกปลาวัยอ่อนจนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยใช้เวลา 50 วัน การอนุบาลลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนในตู้กระจกโดยให้อาหารที่ต่างกัน ในช่วงอายุ 3-30 วัน คือ อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง และหนอนจิ๋วมีชีวิต และในช่วงอายุ 31-60 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เหมือนกัน พบว่า ความยาวเฉลี่ย ความยาวเพิ่มต่อวัน น้ำหนักเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราการรอดตาย ของชุดการทดลองที่ให้อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง มีค่ามากกว่าชุดการทดลองที่ให้ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง และหนอนจิ๋วมีชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ต้นทุนการผลิตลูกปลาปล้องอ้อย ขนาด 19.00-24.79 เซนติเมตร เท่ากับ 2.29, 2.31 และ 3.58 บาทต่อตัว ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจำนวนไข่ต่อแม่ อัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก และอัตราการรอดตาย จึงสรุปได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลาปล้องอ้อยควรใช้อัตราการฉีดฮอร์โมน Bus 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ Dom 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นอัตราที่เหมาะสมที่สุด ส่วนการอนุบาลลูกปลาปล้องอ้อยในช่วงอายุ 3-30 วัน ควรให้อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง และเมื่ออายุ 31-60 วัน ปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และต้นทุนการผลิตคำสำคัญ : ปลาปล้องอ้อย, การเพาะพันธุ์, การอนุบาล, อาหาร, การให้อาหาร*ผู้รับผิดชอบ : ม.7 ต. กำแพง อ. ละงู จ. สตูล 91110 โทร 0 7477 5455 e-mail : natch08@hotmail.com<br><br>Breeding and Nursing of Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949)Natchapong Petchrit*, Pracha natia and Sukhawadee Jaruratthumrong Satun Inland Fisheries Research and Development CenterAbstractBreeding and Nursing of Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949) was carried out at Satun Inland Fisheries Research and Development Center from October 2021 to January 2022. The female brooders that the body length were 7.94+0.34 cm and 2.09+0.21 g in weight, were injected with 4 concentrations of buserelin acetate (Bus) including 15, 20, 25 and 30 ?g/kg and domperidone (Dom) 10 mg/kg. While the male brooders were 7.90+0.29 cm in length and 1.73+0.79 g in weight, they were injected with Bus 10 ?g/kg and Dom 10 mg/kg. The brooders were bred by semi-controlled breeding method in fish tanks with a circulating water system of 2 liters per minute and used a female to male ratio of 1 to 4 per tank. The result showed that 10-12 hours after injection, the spawning rate of female brooders was 100 %. The average number of eggs in the treatment injected with Bus 15 ?g/kg were significantly (p0.05) in all treatments. The characteristics of eggs is demersal eggs, but not very sticky, round, green, transparent and 0.92?0.05 mm in diameter. Completion of the embryonic development process took about 15 hours and 55 minutes at a water temperature of 25.0-28.0 ?C. The total length of hatching was 1.59?0.04 mm. The juvenile characters occurred at 50 days old. The fry were nursed in fish tanks at different feed types from 3-30 days old, frozen artemia, frozen moina and micro worm. From 31-60 days old, they were fed with 40% protein flakes. The result showed that the average length, average weight, daily length gain, daily weight gain, specific growth rate and survival rate in the treatment fed by frozen artemia were significantly (p<0.05) more than the other treatments. The production costs of three feed types were 2.29, 2.31 and 3.58 bath/fish, respectively. This study concluded that the Giant Kuhli Loach should be injected with Bus at a concentration of 20 ?g/kg combined with Dom at 10 mg/kg because they are the optimum rate when considering spawning rate, fertilization rate, hatching rate and survival rate. The nursing of Giant Kuhli Loach larvae in fish tanks should be fed by frozen artemia. It is the most suitable feed when considering the growth rate, survival rate and production cost. Keywords : Giant Kuhli Loach, Pangio myersi, breeding, nursing, food, feed *Corresponding author : moo 7, Kampaeng, Langu, Satun 91110 Tel. 0 7477 5455 e-mail : natch08@hotmail.com

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ