Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพของไก่เ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพของไก่เขียวพาลีสัตว์ประจำถิ่นของจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันบนฐานการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) บ่งชี้ลักษณะปรากฏและพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงไก่เขียวพาลี และยกระดับมาตรฐานฟาร์มไก่เขียวพาลีสู่ความปลอดภัยทางชีวภาพ (2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานธุรกิจของไก่เขียวพาลี และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเกษตรกรและผู้ประกอบการไก่เขียวพาลี (3) สร้างการรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ไก่เขียวพาลีด้วยนวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะ และ(4) สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพของไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์บนฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ได้แก่ เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการธุรกิจไก่เขียวพาลี ศูนย์การเรียนรู้ไก่เขียวพลาลี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่ มีระยะเวลาดำเนินการรวม 15 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะปรากฏที่เฉพาะเจาะจงของไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์มีลักษณะเป็นหงอนหิน ตุ้มหูมีสีแดงสด ตาสีเขียวอมดำ ปาก ฝาปิดจมูก แข้ง เดือย และเล็บ ส่วนใหญ่เป็นสีเขียวอมดำ สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก พื้นขน หางพัด และหางกะลวย มีสีเขียวอมดำ และลักษณะทางพันธุกรรมของไก่เขียวพาลีเปรียบเทียบกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของไก่พื้นเมืองในฐานข้อมูลพันธุกรรม สามารถแบ่งกลุ่มของไก่สายพันธุ์ต่างๆ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม ซึ่งไก่เขียวพาลีจากการศึกษาในครั้งนี้จัดอยู่ทั้งสองกลุ่มสาขา และประชากรไก่เขียวพาลีมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับไก่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จีน พม่า อินโดนีเซีย ลาว) อินเดีย และญี่ปุ่น ขณะที่การประเมินมาตรฐานฟาร์มภายใต้ระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า ฟาร์มผู้ประกอบการสามารถดำเนินการตามมาตรฐาน ได้ร้อยละ 93.34 ฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย ร้อยละ 86.67 และฟาร์มศูนย์การเรียนรู้ ร้อยละ 83.33 ตามลำดับ ส่วนผลดำเนินการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฟาร์มไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ในมิติการแยกสัตว์ การควบคุมการสัญจร และสุขอนามัย ตามลำดับ สำหรับผลการวิจัยการเพิ่ม ขีดความสามารถทางการแข่งขันของเกษตรกรและผู้ประกอบการไก่เขียวพาลีพบว่า ขีดความสามารถที่จำเป็น ในการประกอบการมีจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ลักษณะปรากฎและพันธุกรรม การเลี้ยงไก่ มาตรฐานฟาร์ม การจัดการธุรกิจ การจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายและการประกอบการทางสังคม และจากผลการประเมินก่อนการพัฒนาพบว่า เกษตรกรและผู้ประกอบการไก่เขียวพาลีมีขีดความสามารถในการประกอบการ ร้อยละ 58.7 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.5 เมื่อได้ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถผ่านวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรู้และทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงาน ตามลำดับ ในส่วนของผลการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานธุรกิจของไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์พบว่า การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย กิจกรรมหลักคือ การผลิต การตลาด การเงินการบัญชีและการจัดการ กิจกรรมสนับสนุนที่จะช่วยให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัว เช่น เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ คนกลางทางการตลาด หรือระบบขนส่ง นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์การลงทุนการเลี้ยงไก่เขียวพาลีในฟาร์มของผู้ประกอบการขนาดกลางพบว่า มีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 3 ปี 8 เดือน 4 วัน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 254,249.74 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง ร้อยละ 31 ทั้งนี้ภายใต้ผลการวิเคราะห์โมเดลการสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพของเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรรุ่นใหม่นั้น สามารถลงทุนเริ่มต้นโดยมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานไม่เกิน 80,000 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี 5 เดือน 21 วัน และผลตอบแทนจะมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองทั่วไปหรือจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในจำนวนเงินลงทุนที่เท่ากัน สำหรับการสื่อสารอัตลักษณ์ไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างการรับรู้อัตลักษณ์ไก่เขียวพาลีจังหวัดอุตรดิตถ์ทำได้ใน (1) มิติเชิงกายภาพตามลักษณะอุดมทัศนีย์ของไก่เขียวพาลี และ (2) มิติเชิงสัญญวิทยาของไก่เขียวพาลี นอกจากนั้นผลการวิจัยรูปแบบการสื่อสารด้วยกระบวนการสร้างเนื้อหาผ่านการเล่าเรื่องข้ามสื่อกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถดำเนินการได้ทั้งชุดกิจกรรมการสื่อสารสร้างการรับรู้อัตลักษณ์ไก่เขียวพาลี และการสื่อสารสาธารณะผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ชนิดต่างๆ โดยกลุ่มเป้าหมายนั้นจะเกิดการรับรู้ทั้งในระดับที่เป็นผู้รับสารแบบตั้งรับและผู้แสวงหาข่าวสาร ตามลำดับ ทั้งนี้รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพของไก่เขียวพาลี จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้นำสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด โดยได้ดำเนินการผ่านกิจกรรมการประกวดไก่เขียวพาลีด้วยเกณฑ์มาตรฐานจากงานวิจัย รวมทั้งการประกาศใช้ลักษณะอุดมทัศนีย์ของไก่เขียวพาลีพระยาพิชัยดาบหัก ทางด้านการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ไก่เขียวพาลี ดำเนินการผ่านกลไกการส่งเสริมอาชีพของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยขยายผลการใช้โมเดลธุรกิจในการประกอบการของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพของพื้นที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาต่อไปคำสำคัญ : เศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ไก่เขียวพาลี จังหวัดอุตรดิตถ์ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน<br><br>This biodiversity-based economic development research project on Khiew-Phalee indigenous chickens of Uttaradit Province to enhance competitiveness based on conservation and sustainable use aimed to (1) identify the characteristic appearance and genetics of the chicken and uplift the farming standard with biosecurity practices, (2) study and develop the business supply chain management model of the chicken and increase the competitiveness of farmers and entrepreneurs, (3)raise recognition of the chicken identity through public communication innovations, and (4) synthesize biodiversity-based economic development models of the Khiew-Phalee chicken of Uttaradit Province on the basis of conservation and sustainable use. The study sample was comprised of Khiew-Phalee chicken smallholder farmers, entrepreneurs, learning centers and chicken farmer community enterprise groups. The study was conducted over a period of fifteen months. The results showed that the Khiew-Phalee chicken is characterized by its pea comb; red earlobe; blackish-green eyes; beak, nostrils, shanks, spurs and claws mostly in blackish-green color; neck plumage, back plumage, wing plumage, body plumage, long curve tail and back tail in blakish-green color. With regard to the genetic traits of the chicken breed, the comparison with the nucleotide sequences of the native chickens in the GenBank revealed that the different chicken breeds can be divided into 2 clades, into both of which the Khiew-Phalee chicken falls, which showed that the chicken population has a close evolutionary relationship with native chickens from Southeast Asia (China, Myanmar, Indonesia, Laos), India and Japan. The evaluation of farm standard under Good Farming Management (GFM) showed that the entrepreneur’s farms were operated according to the standard at 93.34%, smallholding farms at 86.67% and learning center farms at 83.33% respectively. As for the biosecurity practices, the Khiew-Phalee farms in Uttaradit were able to reduce biosecurity risks in terms of the animal separation, traffic control and hygiene practices respectively. As for the competitiveness enhancement of Khiew-Phalee chicken farmers and entrepreneurs, it was found that there were six areas of capabilities required for the farming business, which include characteristic appearance and genetics, poultry farming, farm standards, business management, knowledge management, networking, and social entrepreneurship. Based on the pre-post evaluation, the chicken farmers and entrepreneurs had the business capacity of 58.7% before the development, and increased to 64.5% after the capacity development process through workshops, knowledge and skill building, knowledge sharing, and educational trips respectively. As for the development of a business supply chain management model of the Khiew-Phalee chicken of Uttaradit Province, it was found that a successful business operation consists of main activities: production, marketing, finance, accounting and management; and support activities that would improve the business fluidity, including a network of chicken farmers, marketing intermediaries, or transportation system. In terms of the investment in the chicken farming of medium-sized enterprises, the Payback Period (PB) was 3 years, 8 months, 4 days, with a Net Present Value (NPV) of 254,249.74 baht and an Internal Rate of Return (IRR) of 31%. Based on the bioeconomy model of small holder farmers or new-generation farmers, a starting operating cost was estimated at under 80,000 baht and a Payback Period of 1 year 5 months and 21 days, which gives a greater return, considering the same amount invested in a typical native chicken farm, or in bank deposit for interest. As for the identity communication for the Khiew-Phalee chicken of Uttaradit, the recognition of brand identity could be established through (1) the standard of perfection, and (2) the semiology of the breed. As for communication techniques of content creation process through transmedia storytelling to target audience, a communication activity package for brand identity, and public communication through various kinds of learning tools could be used, in order that the target audience would become both passive audience and active audience. The biodiversity-based economic development model of Khiew-Phalee chickens of Uttaradit Province has led to provincial public policy formulation, which was carried out through a Khiew-Phalee chicken contest in accordance with standard criteria derived from the study, as well as the publication of the standard of perfection of Phraya Phichai Dab Hak’s Khiew-Phalee chickens. The utilization and conservation of the chicken were implemented through the occupational promotion mechanism of the Provincial Livestock Office and local government organizations in Uttaradit Province by expanding the business models to new generation farmers to drive the bio- economy of the area for further sustainable development. Keyword : Biodiversity-Based Economy, Kheiw-Phalee Chicken, Uttaradit Province, Sustainable of Utilization and Conservation

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ