Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ลดเลือนฝ้า

TNRR

Description
ในงานวิจัยนี้ ศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ที่บรรจุด้วยสารสกัดหัวไชเท้า โดยเริ่มจากการเตรียมสารสกัดหัวไชเท้าด้วยการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งจากน้ำคั้นหัวไชเท้าสด โดยกำหนดมาตรฐานของสารสกัดหัวไชเท้าที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตแผ่นแปะนาโนไฟเบอร์ควรมีปริมาณ Total phenolic ไม่ต่ำกว่า 9.66 ? 0.23 mg GAE/g DW หลังจากนั้นเตรียมแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ที่บรรจุสารสกัดหัวไชเท้าด้วยวิธีอิเล็กโทรสปินนิ่ง ด้วยสภาวะที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปเส้นใยนาโนไฟเบอร์ พบว่าพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และพอลิไวนิลไพโรลิโดนด้วยอัตราส่วน 50:50 โดยน้ำหนักและปริมาณสารเชื่อมขวางกลูตารัลดีไฮด์ปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนักพอลิเมอร์ ด้วยอัตราการไหลของสารละลายพอลิเมอร์เป็น 0.1 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ค่าศักย์ไฟฟ้า 17 กิโลโวลต์ ระยะห่างระหว่างหลอดบรรจุสารละลายพอลิเมอร์กับวัสดุรองรับเป็น 10 เซนติเมตร และผลทดสอบความคงตัวแบบเร่งด้วยอุณหภูมิ (Heating – Cooling Cycle) พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ในสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ ในขณะที่ปริมาณ Total phenolic มีค่าเป็น 5.73 ? 0.45 (mg GAE/g extract) แต่อย่างไรก็ตามจากผลการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ในเซลล์ B16F10 melanoma cells พบว่าแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ที่บรรจุสารสกัดหัวไซเท้าที่ความเข้มข้น 200 ?g/mL ให้ผลดีต่อการยับยั้งเม็ดสีเมลานินในเซลล์ melanocytes ที่กระตุ้นด้วย ?-MSH นอกจากนี้จากการทดสอบการซึมผ่านของแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ด้วยเทคนิค Parallel artificial membrane permeability assay (PAMPA) assay พบว่าการซึมผ่านอยู่ในระดับ medium permeability มีค่าการซึมผ่านเท่ากับ 1.611?0.053 x10-6 cm/s และผลการทดสอบ Tyrosinase inhibition ด้วย Franz diffusion cell ที่ระยะเวลา 1 2 4 และ 6 ชั่วโมง พบว่าแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์มีร้อยละการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมากกว่าสารสกัดหัวไชเท้าและแผ่นแปะทางการค้า โดยมีค่ามากที่สุดที่ระยะเวลา 4 ชั่วโมง มีค่าเป็นร้อยละ 56.66 ? 0.34 นอกจากนี้จากการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครพบว่าไม่เกิดอาการระคายเคืองและอาสาสมัครมีปริมาณเม็ดสีเมลานินของผิวหนังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ร้อยละ 94.84 ? 1.00 ในวันที่ 7 หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์ ดังนั้นแผ่นแปะเรดิชนาโนไฟเบอร์เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการลดเลือนฝ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br><br>In this research, the efficiency of radish nanofiber patches containing radish crude extract was studied. Firstly, fresh juice radish was freeze-dried to obtain the crude extract which its quality for the patches was controlled by a total phenolic content not less than 9.66 ? 0.23 mg GAE/g DW. After that, the radish nanofiber patches containing radish crude extract were prepared by electrospinning method. The weight ratio of the crude extract to polyvinyl alcohol (PVA)/polyvinylpyrrolidone (PVP) was kept at 50:50 and then, a crosslinked agent such as glutaraldehyde (GA) was added by 5 wt% of total polymer weight. For electrospinning parameters, the applied voltage was 17 kV with the nozzle-collector distance of 10 cm and the flow rate of 0.1 ?l/hr. The result of heating – cooling cycle test showed no significant change of the physical and chemical properties, while total phenolic content was 5.73 ? 0.45 (mg GAE/g extract). In vitro inhibitory effect of radish nanofiber patches on B16F10 melanoma cells was also investigated. It was found that radish nanofiber patches containing 200 ?g/mL exhibited a significant inhibition of melanin production in the melanoma cells. Furthermore, the parallel artificial membrane assay (PAMA) was found that the permeability was at the medium level with 1.611?0.053 x10-6 cm/s, while the results of the tyrosinase inhibition test with Franz diffusion cells at 1, 2, 4 and 6 hours showed that the radish nanofiber patches had a greater percentage of tyrosinase inhibition than the crude extracts and commercial patches. The highest value at 4 hours was 56.66 ? 0.34 %. In addition, the radish nanofiber patches showed no skin irritation and a significant reduction in melanin content of 94.84 ? 1.00% on day 7 after use the products, indicating them as promising prototypes for reducing melasma applications.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ