Description
อาสาสมัครสาธารณสุขประจา หมู่บ้าน (อสม.) เป็นทรัพยากรสา คัญในระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมระยะยาว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของ อสม. และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จา นวน 240 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562-มกราคม พ.ศ. 2563โดยการทา แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแล (มีค่า KR 20 เท่ากับ .63) และการทา แบบสอบถาม ได้แก่การรับรู้บทบาทการดูแล ทัศนคติต่อการดูแล การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท และความพร้อมในการดูแล (มีค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคระหว่าง .72-.97) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 72.08, SD = 13.26, Madj = 3.60) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นความพร้อมด้านการประเมินความต้องการด้านสุขภาพและด้านการจัดทา ฐานข้อมูลที่มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่การรับรู้บทบาทการดูแล (r = .67, p < .001) การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท (r = .52, p < .001)ทัศนคติต่อการดูแล (r = .34, p < .001) ภาวะสุขภาพของ อสม. (r = .17, p < .01) และความรู้เกี่ยวกับการดูแล (r = .17, p < .01) จากผลการวิจัย พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของ อสม. โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้บทบาทการดูแล ทัศนคติต่อการดูแล และความรู้เกี่ยวกับการดูแล ตลอดจนให้การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท โดยเฉพาะในกลุ่ม อสม. ที่มีการรับรู้สุขภาพไม่ดี เพื่อเพิ่มความพร้อมของ อสม.นา ไปสู่คุณภาพการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ<br><br>Village health volunteer is an essential resource in the long-term care system forpersons with dementia. This descriptive correlational research aimed to describe care readinessand to determine factors related to the care readiness for persons with dementia among villagehealth volunteers. Multistage random sampling was used to recruit 240 village health volunteerswho perform duties in Chonburi province. Data was carried out from November 2019 to January2020. Research instruments were the questionnaires including the care knowledge (Kuder-Richardson = 0.63), the care role perception, the caring attitude, the care role support, and thecare readiness (Cronbach’s alpha coefficients were 0.72-0.97). Descriptive statistics and Pearsoncorrelation statistics were performed to analyze the data.The results revealed that the care readiness for persons with dementia of participants inoverall was rated at a high level (M = 72.08, SD = 13.26, Madj = 3.60). When considering eachaspect, it was found that all readiness aspects were rated at a high level; except for assessinghealth needs and establishing a database aspects were rated at a moderate level. Factors thatpositively correlated with the care readiness for persons with dementia among participants werethe care role perception (r = .67, p < .001), the care role support. (r = .52, p < .001), the careattitude (r = .34, p < .001), perceived health status (r = .17, p < .01) and the care knowledge(r = .17, p < .01) These findings suggest that nurse and other health personnel should develop theprogram to promote the care readiness for persons with dementia in among village healthvolunteers through increasing the care role perception, the caring attitude, the care, as well aspromoting the care role support, especially in those perceived poor health status. Consequently,readiness care would be improved to enhance the quality of care for persons with dementia.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read