Description
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับใช้เป็นแนวทางการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนในลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำน่าน ได้ทำการวิเคราะห์น้ำฝนจากแบบจำลองภูมิอากาศโลก CRNM-CM5, GFDL-CM3 and MIR-OC5 ภายใต้สถานการณ์ RCP 4.5 และ RCP 8.5 ทำการสร้างภาพฉายการใช้ที่ดินตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์และการใช้ที่ดินตามแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศลุ่มน้ำ แบบจำลอง Soil loss บนพื้นฐานของสมการการสูญเสียดินสากล (RUSLE) และแบบจำลอง Sedimentation ถูกใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินและตะกอน ผลการศึกษาพบว่าลุ่มน้ำห้วยน้ำยาว 1 มีปริมาณตะกอนเนื่องจากการใช้ที่ดินปี พ.ศ. 2559 จำนวน 202,211 ตัน ถ้าการใช้ที่ดินยังคงเป็นรูปแบบเดิมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ปริมาณตะกอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 8.87% (ค.ศ. 2021-2040), 19.11% (ค.ศ. 2041-2060) และ 33.45% (ค.ศ. 2061-2080) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากการใช้ที่ดินตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์สามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนได้ 61%-71% สำหรับการใช้ที่ดินตามแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศสามารถลดปริมาณตะกอนในอนาคตได้ 84%-88% ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาต่อตะกอนในลุ่มน้ำแม่น้ำน่านส่วนที่ 2 ปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้น 12.31% (ค.ศ. 2021-2040), 23.59% (ค.ศ. 2041-2060) และ 43.37% (ค.ศ. 2061-2080) เสนอแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนโดยการใช้ที่ดินตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์ทำให้ตะกอนลดลง 30%-52% สำหรับการใช้ที่ดินตามแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศสามารถลดปริมาณตะกอนในอนาคตได้ 52%-63% ลุ่มน้ำแหงมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณตะกอนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 15.12% (ค.ศ. 2021-2040), 24.81% (ค.ศ. 2041-2060) และ 46.28% (ค.ศ. 2061-2080) การใช้ที่ดินตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์มีศักยภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนได้เป็นอย่างดี พบว่าในอนาคตปริมาณตะกอนลดลง 60% - 75% และการใช้ที่ดินตามแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศลุ่มน้ำสามารถลดปริมาณตะกอนในพื้นที่ลุ่มแหงได้ถึง 78%-81% จากปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อการชะล้างพังทลายของดินและปริมาณตะกอนทำให้มีแนวโน้มสูงขึ้น ถ้ารูปแบบการเพาะปลูกและการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดน่านยังคงเป็นรูปแบบเดิม ดังนั้นเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่านควรมีการปรับรูปแบบการเพาะปลูกและการใช้ที่ดิน เช่นการใช้ที่ดินตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์และการใช้ที่ดินตามแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศลุ่มน้ำสำหรับการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนโดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกตามความลาดชันและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ นอกจากนี้รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงควบคู่ไปด้วยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปริมาณตะกอน<br><br>The objective of this research is to study the impacts and adaptation of land use and climate change to prevent soil erosion and sedimentation in the upper Nan watershed. The study analyzed precipitation from three general circulation models (GCM) consisting of CRNM-CM5, GFDL-CM3, and MIR-OC5 under RCP 4.5 and RCP 8.5 emission scenarios. The study also developed land use maps under the concept of the Nan sand box project and watershed ecosystem. Soil loss modeling using the Revised Universal Soil Loss Equation (RUSLE) and sedimentation modeling was carried out to estimate soil loss and sedimentation. The results showed the Haui Nam Yao sub-catchment had sedimentation under land use of 202,211 tons in 2016. If land use continues under the original pattern, climate change will affect sediment yield revealing an increase by 8.87% (2021-2040), 19.11% (2041-2060) and 33.45% (2061-2080). Therefore, climate change adaptation under land use in accordance with the Nan sandbox project can prevent soil erosion and reduce sediment yield from the baseline by around 61% -71%. Land use patterns with a watershed ecosystem can reduce sediment yield in the future by around 84%-88%. The impact of climate change on sedimentation in the second part of the Mea Nam Nan sub-catchment indicated that sediment yield might increase by 12.31% (2021-2040), 23.59% (2041-2060) and 43.37% (2061-2080). Therefore, a proposed solution for climate change adaptation to prevent soil loss and reduce sediment yields was to use the concept of land use planning with the Nan sandbox project. There is an expected decrease in sedimentation by around 30%-52%. The land use planning concept with a watershed ecosystem can reduce future sedimentation by approximately 52%-63%. Sedimentation will increase under climate change in Nam Haeng sub-catchment by 15.12% (2021-2040), 24.81% (2041-2060) and 46.28% (2061-2080). Land use planning with the Nan sandbox project reduce sediment yields by around 60%-75%. The concept of land use planning under the watershed ecosystem can reduce sediment yield in the future by 78%-81%. Climate change and land use change in the future will affect soil erosion and sedimentation causing a dramatic increase in the future if cultivation and land use patterns in Nan province continue to follow the current pattern. Thus, farmers should adjust their cultivation patterns and land use, implementing land use planning with the Nan sandbox project and watershed ecosystem in Nan province in order to prevent soil erosion and reduce sedimentation. The cultivation area was divided according to watershed classification and slope. Moreover, the government should encourage and support farmers to use the principles of soil and water conservation to adapt measures under climate change to prevent soil erosion and sedimentation.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read