Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การใช้ประโยชน์จากเส้นใยกล้วยแบบครบวงจร

TNRR

Description
แผนงานวิจัยนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากเส้นใยกล้วยแบบครบวงจร ประกอบด้วยโครงการย่อย 6 โครงการ คือ 1) การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยกล้วยสำหรับผ้าทอ 2) การพัฒนากระบวนการเตรียมและย้อมสีธรรมชาติสำหรับเส้นใยกล้วย 3) ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากใยกล้วยผสมถ่าน กัมมันต์สำหรับการยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ 4) การออกแบบเครื่องประดับจากเส้นใยกล้วย 5 การบำบัดน้ำเสียแบบ zero waste จากกระบวนการแยกเส้นใยกล้วย 6) ความร่วมมือของภาคีสาธารณะเพื่อสร้างแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ในมุมมองของผู้บริโภคจากการใช้ประโยชน์จากเส้นใยกล้วยแบบครบวงจร เส้นใยกล้วยที่ใช้ในแผนงานนี้มีทั้งเส้นใยกล้วยจากการแยกด้วยมือและเส้นใยกล้วยจากการแยกเชิงเคมี การแยกเส้นใยกล้วยเชิงเคมีก่อให้เกิดน้ำเสียที่มีความเป็นด่างสูงจึงต้องบำบัดน้ำเสียก่อนการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ทะเลสาบ คลองและแม่น้ำ นอกจากนี้ กากตะกอนน้ำเสียสามารถนำไปผสมกับดินเพื่อทำเป็นวัสดุพรุนเพื่อใช้สำหรับตกแต่งกระถางดอกไม้และเก็บรักษาความชื้นของดิน เส้นใยกล้วยจากการแยกด้วยมือมีสมบัติการดูดซึมน้ำต่ำจึงต้องมีการเตรียมเส้นใยกล้วยก่อนการย้อม การเตรียมผงสีธรรมชาติช่วยให้เก็บรักษาง่าย สามารถควบคุมเฉดสีและสามารถย้อมซ้ำได้ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกล้วย ได้แก่ ผ้าทอ บรรจุภัณฑ์และเครื่องประดับ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงและช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจชุมชน<br><br>This research aimed to utilize integrated banana fiber consisting of 6 projects: 1) improvement of banana fiber quality for woven fabric 2) development of pretreatment and natural dyeing processes for banana fiber 3) eco-packaging from banana pulp/activated charcoal and its application for extending the shelf life of fresh fruit and vegetables 4) the jewelry design from banana fiber 5) zero wastewater treatment from banana fiber separation process 6) collaborative of public partners to create a strategic marketing plan in the view of consumers from the utilization of banana fibers. The used banana fibers in this research composed of fiber extraction by hand and chemical extraction. The banana fiber extraction by chemical process produced high alkalinity in wastewater. The wastewater needed to be treated before it enters water bodies, such as lakes, canals and rivers. Moreover, the wastewater sludge was mixed with clay to produce porous materials for decorating flower pot and preserving soil moisture. The manually extracted banana fiber showed low water absorption resulting in pretreatment of banana fiber prior to dyeing. The natural dye powder exhibited easy to keep, controlled color shading, and enabled reproducibility of shades. The banana fiber products such as woven fabric, packaging, jewelry can be used as a guideline for planning the marketing strategies to truly meet the customer needs and help create the benefits for the community business.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ