Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่นสำหรับเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยแนวคิดนวัตกรรมท้องถิ่น 2) พัฒนาเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่นสำหรับเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยแนวคิดนวัตกรรมท้องถิ่น และ3) ศึกษาวิธีการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่นสำหรับเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยแนวคิดนวัตกรรมท้องถิ่น ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเมนูอาหาร ได้แก่ กลุ่มปราชญ์ชุมชนจำนวน 10 ตัวอย่าง กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 10 ตัวอย่าง กลุ่มเยาวชน จำนวน 10 ตัวอย่าง ใน 3 ชุมชน รวม 90 ตัวอย่าง 2) กลุ่มตัวอย่างในการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่น ได้แก่ กลุ่มร้านอาหารในประเทศไทย จำนวน 3 ตัวอย่าง นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมออนไลน์จำนวน 20 ตัวอย่าง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ข่วงเกษตรอินทรีย์ จำนวน 14 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายหรือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เชิงประเด็น ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่นและเมนูอาหารสำหรับเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยแนวคิดนวัตกรรมท้องถิ่น ได้ผลิตภัณฑ์และเมนูอาหาร ใน 3 ชุมชน ดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์บ้านสันต้นเปา ได้แก่ ผักดองปืนนกไส้ และน้ำสลัดโพรไบโอติก และเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผงผักดองโรยข้าว และสลัดผักโพรไบโอติก 2) ผลิตภัณฑ์ของบ้านดอนเจียง ได้แก่ เต้าเจี้ยวปรุงรส,ผงคินาโกะ และเต้าหู้ยี้ และเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผักดองเต้าเจี้ยวปรุงรส และทองเอกคินาโกะ 3) ผลิตภัณฑ์บ้านปางมะกล้วย ได้แก่ มะแขว่นร่อนเม็ด และผงปรุงรส และเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำพริกมะแขว่นงาขี้ม่อน คุกกี้มะแขว่น และหมูย่าง/ไก่ย่างราชาเครื่องเทศ ผลการศึกษาวิธีการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์จากพืชพื้นถิ่นสำหรับเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยแนวคิดนวัตกรรมท้องถิ่น ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน เริ่มจาก 1) กำหนดความโดดเด่นทางวัตถุดิบที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน อันได้แก่ วัชพืชปืนนกไส้ ถั่วเหลืองอินทรีย์ Non GMO และราชาเครื่องเทศเมืองเหนืออย่างมะแขว่น 2) ผนวกกับภูมิปัญญาการแปรรูปของชุมชน 3) ยกระดับผลิตภัณฑ์ในมุมมองและองค์ความรู้ของเชฟเพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย 4) เพิ่มด้วยแนวคิดรสสมุนไพรตามแนวคิดของแพทย์แผนไทย 5) เสริมด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาประกอบกัน 6) เพิ่มกระบวนการการเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาอาหารในการสร้างประสบการณ์ให้น่าจดจำแก่นักท่องเที่ยว เหล่านี้จะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหาร<br><br>This research aims to: 1) develop food products from local identity plants for adding value to experiential gastronomy tourism in Chiang Mai through local innovation 2) develop food menu cooked from the products from local identity plants; 3) study how to create value from the products for adding value to experiential gastronomy tourism. A mixed-method approach with quantitative and qualitative research design was deployed. Data were collected using questionnaires and interviews from: 1) 90 samples from three communities consisting of 10 community scholars, 10 housewives, and 10 youths from each village; 2) The sample consisting of 3 restaurants, 20 health-conscious tourists who participated in an online event, and 14 participants in organic market activities. Data were analyzed by using descriptive statistics, content analysis and thematic analysis.The results revealed food products and food menus as follows: 1) for Ban San Ton Pao, pickled vegetables and probiotic salad dressing were developed. For food menu, the pickled vegetable powder with rice and probiotic salad were developed; 2) for Ban Don Jiang, seasoned soy bean paste, ‘Kinako’ powder. and tofu were developed. For food menu, pickled vegetables, seasoned soy bean and Thong-eak Kinako were developed; 3) for Ban Pang Ma Kluay, Makwaen peels and seasoning powder were developed. For food menu, Makwaen chili dip with perilla seed, Makwaen cookies and roast pork/chicken with the king of spice were developed. For the creation of value for food products for adding value to experiential gastronomy tourism in Chiang Mai through local innovation, there were six steps including 1) determining the distinctiveness of unique raw materials of the community, including Spanish Needle Plants, Non-GMO organic soybeans and Makwean (the king of spice), 2) integrating with the processing wisdom of the community, 3) upgrading the product based on chefs perspective and knowledge to make it easily accessible to general consumers 4) enhancing value based on the concept of Thai traditional medicine; 5) adding scientific information; 6) adding the process of stories telling about food wisdom to create a memorable experience for tourists. These will bring products that are essential components of experiential gastronomy tourism.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read