Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง ส...

TNRR

Description
แผนงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรมวิจัย ดำเนินการวิจัยด้วยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลําปาง นครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการการพัฒนาวัตถุดิบทดแทนดินขาวเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพ การยกระดับกระบวนการผลิตเซรามิกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มศักยภาพเตาเผา การยกระดับกระบวนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้และระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการยกระดับรูปแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึกเพื่อการตลาดดิจิทัลด้วยอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง 2) สังเคราะห์ผลลัพธ์ จากกระบวนการยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็กสู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เซรามิกสร้างสรรค์จังหวัดลำปาง และ 3) ถอดบทเรียนจากการบริหารงานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมายได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก มีที่ตั้งในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 โรงงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบเก็บข้อมูลภาคสนามในการเก็บข้อมูลตามพารามิเตอร์ของโครงการย่อย แบบติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยย่อยและเครื่องมือในการถอดบทเรียนการบริหารงานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการสังเคราะห์แบบมีส่วนร่วมและวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือตามพารามิเตอร์ ที่กำหนดในตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าการยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลําปาง นครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการการพัฒนาวัตถุดิบทดแทนดินขาว เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพ การยกระดับกระบวนการผลิตเซรามิกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มศักยภาพเตาเผา การยกระดับกระบวนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้และระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการยกระดับรูปแบบผลิตภัณฑ์ เซรามิกประเภทของที่ระลึกเพื่อการตลาดดิจิทัลด้วยอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สามารถยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลําปาง นครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ในด้านวัตถุดิบ ด้านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านการเพิ่มศักยภาพเตาเผา ด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้และระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึกเพื่อการตลาดดิจิทัลได้จริงและนำไปสู่กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในส่วนของผลการสังเคราะห์ผลลัพธ์จากกระบวนการยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็กสู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เซรามิกสร้างสรรค์จังหวัดลำปาง พบว่าจากกระบวนการพัฒนาวัตถุดิบทดแทนดินขาวเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพ สามารถดำเนินการได้โดยวัตถุดิบทดแทนดินขาวที่พัฒนาจากกระบวนการวิจัย มีคุณภาพตามมาตรฐานเนื้อดินสโตนแวร์ โดยโรงงานกลุ่มตัวอย่างสามารถใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ได้จริง สามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง ซึ่งอยู่ในสภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากแหล่งดินเหลือวัตถุดิบที่ได้รับใบอนุญาตให้ผลิต มีปริมาณจำกัด แม้ต้นทุนวัตถุดิบทดแทนดินขาวจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวัตถุดิบเดิมที่ใช้อยู่ เนื่องจากมีกระบวนการเตรียมวัตถุดิบที่แตกต่างไปจากกระบวนการเดิม ผู้ประกอบการสามารถใช้กระบวนการออกแบบ โดยวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและเทรนด์โลก ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการทำน้อยได้มาก ตามนโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงการพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้หลักการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในด้านความปลอดภัยหรือผลิตภัณฑ์สีเขียว ซึ่งสามารถสร้างเป็นจุดขายให้กับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มตลาดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งประเทศและต่างประเทศได้ รวมถึงการใช้องค์ความรู้ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีความแม่นยำสูง ในการตรวจสอบประสิทธิภาพและคุณภาพเตาเผาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีผลพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมว่าสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาได้จริง รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยการใช้เทคโนโลยี ในการตรวจสอบย้อนกลับได้และระบบ โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในระบบการผลิตของโรงงาน จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิต รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดอีกด้วย ทั้งนี้นอกจากกระบวนการพัฒนากระบวนการผลิตตามข้อมูลข้างต้นแล้ว โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก ต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองด้านการตลาดยุคใหม่ ที่ใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการขยายตลาดและฐานลูกค้าของตนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในวงกว้างต่อการตลาดของสินค้าทุกประเภทในช่วงปี พ.ศ.2563-2564 หากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็กพัฒนาทักษะการตลาดดิจิทัลได้ จะเป็นการเปิดโอกาสในการเพิ่มรายได้และกำไรให้กับตัวเองและสินค้าคุณภาพที่ผลิตได้รวมถึงผลถอดบทเรียนจากการบริหารงานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก พบว่าการทำความเข้าใจระหว่างแผนงานกับหัวหน้าโครงการย่อย ก่อนดำเนินการวิจัย เรื่องแนวทางการดำเนินงานและระบบบริหารจัดการโครงการวิจัย กำหนดขอบเขตและกลุ่มตัวอย่าง การทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างนักวิจัย และกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลด้านบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินการวิจัยเป็นอย่างมาก นักวิจัยมีแนวทางการทำงานที่จัดเจนทุกมิติ และระหว่างดำเนินการวิจัยแผนงานมีการประชุมวางแผนเพื่อศึกษากระบวนการวิจัย แผนงานและโครงการวิจัยย่อย ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยย่อยร่วมกับหัวหน้าโครงการและนักวิจัยแผนงาน ส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาระหว่างการดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิจัยระหว่างโครงการย่อยเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถพัฒนาทักษะการทำวิจัยเชิงพื้นที่ให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ เกิดการบูรณาการการเรียนการสอนกับกระบวนการวิจัยของนักศึกษาจากประสบการณ์และสถานที่จริง ในส่วนของการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลและกระบวนการวิจัยสู่ผู้ประกอบการและทำข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการวิจัย ก่อนดำเนินการวิจัย ทำให้นักวิจัยสามารถลงพื้นที่ดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการเปิดใจรับข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย เพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้ดีขึ้นและเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยสรุปมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมของแผนงานจากผลการดำเนินการ 4 โครงการย่อย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ปี คือ มูลค่าจากการลดต้นทุนโดยประมาณ 1,092,000 บาท มูลค่าจากโอกาสทางการตลาดในอนาคตโดยประมาณ 1,584,000 บาท รวม 2,676,000 บาท ด้วยเงินลงทุนตลอดแผนงาน 4,491,000 บาท มีระยะเวลาคืนทุนโครงการเท่ากับ 1.68 ปี<br><br>This research project was research and development (R&D) in the industrial engineering research branch and conducted with participatory action research approaches with all research samples. The project aimed to 1) Elevation of the small ceramics industry in Lampang Province to creative industrial design capital, by a development of white clay replacement material and quality control system, ceramic product quality control process by traced-back system and logistics management system and, the elevation of ceramic souvenir product with digital marketing by an identity of Lampang Province’s minor ceramics industry. 2) Synthesis of outcomes from an elevation of minor ceramic business to be Lampang minor ceramics industry’s identity. 3) Lesson extraction from research management and knowledge transferring to Lampang’s small ceramic business. Research targets have been selected from 10 small ceramic businesses in Lampang Province. Research instruments were field survey forms sorted by project parameters, project progress reports of lined project, lesson extraction, and research management instruments. Data analysis was conducted by collaborative working analysis and instrumental analysis by parameter indicated in each variable The result found that elevation of the small ceramics industry in Lampang Province by an identity of Lampang Creative Industrial Design Capital through the development of white clay replacement material and quality control, the elevation of ceramic product quality control process by traced-back system and logistics management system, and elevation of ceramic souvenir product with digital marketing by an identity of Lampang Province minor ceramics industry could elevate Lampang’s small ceramics industry to develop the material, environmentally friendly production, kilning performance, quality control process by traced-back system, logistics management system, supply chain management, souvenir product development by digital marketing. This would make entrepreneurs accept and lead them to gain sustainable development afterward. An extraction of outcome from an elevation of small ceramics industry to Creative Industrial Design Capital, Lampang Province, found that white clay replacement material development processes from entire research project are in stoneware quality and would be an alternative to small ceramic producers in Lampang who confront with material leakage resulting from a limitation of mineral deposit permission and licensing. Although a risen cost of clay replacement material when compared with today’s material and differentiation of material preparation. The entrepreneur could apply design technique, customer analysis, world’s trends, value creation (come along with Thailand 4.0 policy), environmental- friendly production (green ceramic) as a selling point in a domestic and international conservative group as well as a usage of knowledge and high accuracy instruments in continually testing efficiency and quality of kilns. This formally proved that it could reduce fuel cost in the sintering process, management through traceback technology, logistic, and supply chain in factory’s production. This will help them with production cost management and just in case problem’s solution. Besides the entire product development process, ceramic producers should adjust and adapt themselves to new modern marketing which uses digital media as a quick market expansion instrument. Due to the COVID-19 pandemic which had tremendously widespread effects on marketing and product distribution. If the minor ceramic producer could develop their marketing skill, they would have income raised and profit increased. The extracting outcomes from research management and knowledge transferring from a minor ceramic producer, we’ve found that an advanced understanding between researcher ourselves, from research director to all project managers, on a guideline of research conducting, framing sampling size, mutual understanding from researcher to samples have positively affected the research efficiency. It would make all researchers have the right way to conduct research. And during the research process, the research director organized team meeting to know the working result from every project, would increase the research skill to all newcomers by collaborative learning approaches as well as integration of teaching activities to student’s research projects. In knowledge transferring of data and knowhow to entrepreneurs, using forefront agreement would make researcher conduct their fieldworks effectively and would make entrepreneur open their mind and get research knowhow to improve and develop their production process greatly. In conclusion, the overall economic value of the research program from the operation of 4 sub-projects, it equivalent to 4,491,000 THB from the probability of 1 year of entire operation. It range from 1,092,000 THB from cost reduction and 1,584,000 THB from future marketing opportunities with overall 2,676,000. With the investment of 4,491,000 THB, The ROI rate is 1.68 years.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ