Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ปัจจัยทางดินและชีวภัณฑ์ Bacillus spp. เพื่อควบคุมเ...

TNRR

Description
โรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Ganoderma spp. เป็นโรคหนึ่งที่สำคัญสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมัน ดินบริเวณเขตรากที่มีคุณภาพดีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคของพืช การศึกษาปัจจัยทางดินและชีวภัณฑ์ Bacillus spp. เพื่อควบคุมเชื้อรา Ganoderma spp. สาเหตุโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางดินที่มีผลต่อความรุนแรงของการเข้าทำลายของเชื้อรา Ganoderma spp. และพัฒนาชีวภัณฑ์สำหรับควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน ทำการศึกษาโดยสำรวจการระบาดของโรคลำต้นเน่าในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันและสมบัติของดิน ทดสอบความรุนแรงของการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคโดยปลูกกล้าปาล์มน้ำมันในดินสองชนิดที่มีการใส่วัสดุปรับปรุงดินก่อนปลูก คือ ดินเนื้อละเอียด (ดินเหนียว) ปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์และปูนขาว และดินเนื้อหยาบ (ดินทรายปนร่วน) ปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์เพียงอย่างเดียวในอัตราต่างกัน ทำการเปรียบเทียบระหว่างการใส่เชื้อรา Ganoderma spp. สาเหตุโรคลำต้นเน่าและไม่ใส่เชื้อราในสภาพเรือนทดลอง วิเคราะห์สมบัติดิน วัดการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน คัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Ganoderma spp. และพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์สำหรับควบคุมโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 45 ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบการระบาดของโรคลำต้นเน่าในสวนปาล์มน้ำมันและส่วนใหญ่อยู่ในพื้นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และชุมพร ทั้งนี้สวนปาล์มน้ำมันที่อยู่ข้างเคียงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) มีการระบาดของโรคลำต้นเน่าแล้ว ดินส่วนใหญ่ในสวนปาล์มน้ำมันที่พบโรคลำต้นเน่ามีสภาพเป็นกรดจัดและมีความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในดินเนื้อหยาบมีความรุนแรงของการเกิดโรคลำต้นเน่ามากกว่าดินเนื้อละเอียด โดยทำให้ปาล์มน้ำมันมีน้ำหนักแห้งทั้งต้น ส่วนเหนือดิน และราก ลดลงร้อยละ 31.39, 27.19 และ 44.81 ในดินเนื้อหยาบ และลดลงร้อยละ 5.44, 4.11 และ 10.32 ในดินเนื้อละเอียด ตามลำดับ ดินเนื้อหยาบที่ปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ระดับปานกลางช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันและลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนดินเนื้อละเอียดที่ปรับปรุงดินด้วยวัสดุอินทรีย์เพียงอย่างเดียวทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันลดลงและมีความรุนแรงของการเกิดโรคได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ แบคทีเรียปฎิปักษ์ Bacillus spp. จำนวน 2 ไอโซเลท ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา Ganoderma spp. คือ B. methylotrophicus (ไอโซเลท T7) ซึ่งมีร้อยละการยับยั้ง เท่ากับ 97.78 และ B. amyloliquefaciens (ไอโซเลท LPD3-2) ซึ่งมีร้อยละการยับยั้ง เท่ากับ 94.67 โดยผลิตสารปฏิปักษ์ออกมาย่อยผนังเซลล์เชื้อราจนเส้นใยเชื้อราไม่สามารถเจริญต่อไปได้ นำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 2 ไอโซเลท มาพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์รูปแบบแกรนูล จำนวน 2 สูตร โดยมีอายุการเก็บรักษาได้อย่างน้อย 6 เดือน<br><br>Basal stem rot disease caused by fungus of Ganoderma species is a significant disease for oil palm production. Good quality of the root zone soil promotes plant growth and disease resistance. The purposes of the study on soil condition and Bacillus spp. bioagent for the control of Ganoderma spp. causing basal stem rot disease in oil palm were to investigate the effects of soil condition on severity of Ganoderma spp. infestation and to develop bioagent for controlling basal stem rot disease in oil palm. Survey of the incidence of basal stem rot disease in oil palm plantations from oil palm growers and their soil properties were investigated. Greenhouse oil palm (pre-nursery) was grown in different soil types with amended materials including a clay soil amended with organic material and lime material and a loamy sand soil amended with different rates of organic material. Both soils with no amendment were set as a control treatment. The severity of Ganoderma spp. infestation in oil palm trees grown in each treatment of both soils was assessed. Oil palm growth and soil properties were measured. The effective antagonist bacteria were screened for inhibiting Ganoderma spp. and developed as a Bacillus spp. bioagent for controlling basal stem rot disease in oil palm. The results revealed that 45 percent of the respondents found the incidence of basal stem rot disease in their oil palm plantations and most of those areas were in Surat Thani, Krabi and Chumphon provinces. Most of the nearby oil palm plantations have already had basal stem rot disease. Dominant soil properties of the disease incidence areas were strong acidity and nutrient imbalance. The severity of basal stem rot disease of oil palm grown in sandy soil was higher than that of clay soil. Oil palm dry weight of whole plant, above ground part and root decreased by 31.39%, 27.19% and 44.81% for loamy sand soil with Ganoderma spp. and 5.44%, 4.11% and 10.32% for clay soil with Ganoderma spp. respectively. Loamy sand soil amended with medium content of organic material promoted the growth of oil palm and reduced the severity of the disease. Clay soil amended with only organic material reduced the growth of oil palm and increased the severity of disease incidence. Two isolates of highly effective antagonist bacteria in inhibiting Ganoderma spp. were B. methylotrophicus isolate T7 (97.78% of inhibition) and B. amyloliquefaciens isolate LPD3-2 (94.67% of inhibition). Both isolates produced antagonistic substances resulting in the destruction of Ganoderma spp. cell wall. Both isolates of Bacillus spp. were developed as the granular bioagents (2 formulas) with a shelf life of at least 6 months.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ