Notifications

You are here

อีบุ๊ค

พื้นที่บริหารจัดการน้ำต้นแบบโดยชุมชนของอ่างเก็บน้ำ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลอุตุและอุทกวิทยาของอ่างเก็บน้ำ 2) วิเคราะห์การปรับเปลี่ยนพืชในฤดูแล้ง 3) พัฒนาฐานข้อมูลของเกษตรกร 4) พัฒนาเครื่องมือการพยากรณ์?และการจัดสรรนํ้า และ 5) พัฒนานวัตกรรมระบบสื่อสารอย่างชาญฉลาดสำหรับการบริหารจัดการน้ำ ในการศึกษานี้ได้ศึกษาอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำน้ำแหง และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำฮิ โดยใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลอุทกวิทยา และข้อมูลการปลูกพืชในอดีต ที่บันทึกไว้โดยกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า (HEC-HMS) ถูกน้ำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ขาดหายของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ ค่าสถิติและแนวโน้มของข้อมูลอุตุและอุทกวิทยาได้ถูกวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติร่วมกับวิธี Mann-Kendall (MK) การปรับเปลี่ยนพืชในฤดูแล้งได้วิเคราะห์จากแผนที่ Agri-Map ลักษณะดิน น้ำ สภาพอากาศ ตลาด และการดำรงชีวิตของเกษตรกร เครื่องมือการพยากรณ์?และการจัดสรรนํ้า (โปรแกรม WAPF 4.0) ได้พัฒนาและปรับปรุงจากโปรแกรม WAPF 3.0 และนวัตกรรมระบบสื่อสารอย่างชาญฉลาดสำหรับการบริหารจัดการน้ำ ได้ถูกพัฒนาในรูปแบบของ Line Application ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำท่ารายปีของอ่างเก็บน้ำน้ำแหงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณน้ำท่ารายปีของอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำฮิไม่มีแนวโน้มทางสถิติ ส่วนปริมาณฝนรายปีของทั้ง 2 อ่างไม่มีแนวโน้มทางสถิติ อ่างเก็บน้ำน้ำแหงและห้วยน้ำฮิมีปริมาตรน้ำในอ่างในช่วงฤดูแล้งมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่าง พืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมมี 16 ชนิด โดยหอมและกระเทียมเป็นพืชที่เกษตรกรสนใจปลูกมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่าการปลูกพืชชนิดใหม่ของอ่างน้ำแหงและน้ำฮิลดปริมาณน้ำได้ 4-24.8 และ 1-21.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยังเพิ่มผลตอบแทนสุทธิ อยู่ในช่วง 101-1,970 และ 23-446 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การปลูกหอมหรือกระเทียมในพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำน้ำแหงและห้วยน้ำฮิลลดการใช้น้ำ 8.8 และ 11.4 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มผลตอบแทนสุทธิ 1,770 และ 404 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการพัฒนาโปรแกรมวางแผนการใช้น้ำชลประทาน (WAPF 4.0) พบว่า โปรแกรมมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และยืดหยุ่นกับการใช้งาน ส่วน Line Application สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรสามารถรับข่าวสารและติดต่อกับเจ้าหน้าที่โครงการได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำที่มีระบบส่งน้ำด้วยคลองชลประทานมีประสิทธภาพชลประทานที่ดีกว่า และเหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนพืชที่ทำให้ลดการใช้น้ำและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้มากกว่าระบบส่งน้ำด้วยคลองธรรมชาติ<br><br>This research project was conducted for the following objectives: 1) to study meteorological and hydrological data of reservoirs; 2) to analyze plant/crop modifications in the dry season; 3) to develop database for farmers; 4) to develop forecasting tools and water allocation; and 5) to develop innovative smart communication systems for water management. In this research, there was a study of two medium-sized reservoirs, Nam-Haeng and Huay-Nam-Hei, in Nan province, by applying meteorological data, hydrological data, and information on crop cultivation in the past, as recorded by the Royal Irrigation Department and related organizations. These were the references of the data mentioned: a rainfall-runoff model (HEC-HMS) was used to analyze missing data of water inflow into the reservoir, and statistical values and trend of meteorological and hydrological data were analysed by the statistical method combined with Mann-Kendall (MK) test. Crop modifications in the drought season were analyzed with Agri-Map, characteristics of soil, water, weather conditions, market and the means of farmers’ livelihood. Moreover, the forecasting tools and water allocation (WAPF 4.0) were improved and developed from WAPF 3.0 program, and the innovative smart communication systems for water management was developed in the form of a Line Application. The study results indicated that the annual runoff of the Nam-Haeng Reservoir tended to increase significantly, while the annual runoff of Huay-Nam-Hei Reservoir had no statistical trend. As for the annual rainfall of both reservoirs, no statistical trend appeared. Nam-Haeng and Huay-Nam-Hei reservoirs contain water volume of over 50 percent of the reservoir capacity during the dry season. Sixteen new crops were appropriately categorized, in which onion and garlic cultivation receives the most interest from farmers. The results of the study illustrates that the new crop cultivation of Nam-Haeng and Huay-Nam-Hei reservoirs contributed to water reduction from 4 to 24.8 percent, and from 1 to 21.4 percent, and also contributed to the rise in the net yield from 101 to 1,970 percent and from 23 to 445 percent, respectively. The cultivation of onions and garlics in the area of Nam-Haeng and Huay-Nam-Hei reservoirs decreased water consumption by 8.8 and 11.4 percent and increased the net yields by 1,770 and 404 percent, respectively. The results of the development of irrigation planning program (WAPF 4.0) revealed the efficiency, speed and accuracy of the program, as well as its flexibility in use. Further, the Line Application has the effective capacity for farmers to be more easily accessible to news, information and contact from the project officers. Moreover, the reservoir with the water supply system using irrigation canals have higher efficiency than those from natural canals, leading to more suitability for crop modification, a reduction in water, and an increase in economic values at the same time.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ