Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงวิถีอิสลามเพื่อสร้างอาชีพท...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท และศักยภาพของผู้เรียนในสถาบันปอเนาะในด้านการประกอบอาชีพการเกษตร ศึกษาระบบกลไกด้านอาชีพการเกษตรวิถีอิสลาม และเพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลามด้านอาชีพการเกษตรไปใช้กับผู้เรียนในสถาบันปอเนาะ โดยได้เลือกสถาบันศึกษาปอเนาะบากูรอตุตตะลีมี ลิลอุลูมิซซัรอียะฮ และสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลอูลุมเป็นพื้นที่ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความจากปรากฏการณ์และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และสังเกต นำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ผลกการวิจัยพบว่าผู้เรียนในสถาบันปอเนาะและผู้ปกครองมีอาชีพทำการเกษตรคือทำนาทำสวน และเลี้ยงสัตว์การทำเกษตรในลักษณะการปลูกรอบๆบ้าน หลายๆชนิดปะปนกันเพื่อบริโภคในครัวเรือนหากมีผลผลิตจำนวนมากก็จะฝากขายตามร้านขายของชำในหมู่บ้าน และบางส่วนก็ปลูกไว้เพื่อจำหน่ายโดยจะมีการใช้ปุ๋ยที่เป็นมูลสัตว์อย่างเดียวสภาพปัญหาที่ประสบคือสภาพของดินไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกผักบางชนิดและมีการปลูกพืชตามกระแสนิยมราคาผลผลิตมีราคาตกต่ำ และไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลามประกอบด้วย Al-Qanaah (พอประมาณ) Al-Aklaniah (ความมีเหตุผล) Al-TaQwa (การมีภูมิคุ้มกัน)การตัดสินใจที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปของความพอเพียงจะต้องอาศัยเงื่อนไข 2 สิ่งนี้เป็นตัวสำคัญ เงื่อนไข AL-HIKMAH (ความรู้) และ AL-IMAN(คุณธรรม) ส่วนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลามด้านอาชีพการเกษตรไปใช้กับผู้เรียนในสถาบันปอเนาะดำเนินการในสามขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 การสร้างแนวคิดด้วยการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลาม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ขั้นตอนที่ 2 การเสริมทักษะการทำเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีครัวเรือน และการวางแผนการตลาดขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล จากการศึกษาพบว่ารัฐควรมีการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเพื่อให้การทำงานนั้นทำบนพื้นฐานของความรู้ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันอันจะนำมาซึ่งการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขต่อไปคำสำคัญ (Key words) เศรษฐกิจพอเพียง อาชีพการเกษตร สถาบันปอเนาะ<br><br>The purpose of this participatory action research was to study the context and potential of students in Pondok about career, to study about career mechanism system in Islamic agriculture and to develop Islamic sufficiency economy about agriculture with students in Pondok which two Pondoks was chosen to be the places for studying that are Bakuratuttalimee Ulumissar-iyah and Darul ulum. The research tools comprised of an interview and an observation. The research was analyzed using interpretation from appearance and information from interview and observation.The research was presented by descriptive analysis. The research indicated that the students in Pondok and their parents are agriculturist- farmer, gardener and feeding pets. They do agriculture by planting various crops around house to consume in their household but if there are more crops, they will sell on consignment with the grocery in the village. Moreover, some crops will plant for selling by using only manure. The problem found that the soil condition was not fixing to plant some crops and by planting trend crops made cheapen and no merchant accept to buy. Islamic Sufficiency Economy contains Al-Qanaah (Tolerable) Al-aklaniah (Rational) Al-TaQwa (Are immune). The main conditions of deciding to do every things under sufficient includes condition of AL-HIKMAH (Cognition) and AL-IMAN (Virtue) Using Islamic Sufficiency Economy to build agriculture career for students in Pondok process in three steps. First, making concept by training and giving knowledge about Islamic Sufficiency Economy and Sufficient Economy of King Rama 9. Second, giving additional skills about agriculture such as doing manure, doing household account and marketing planning .Third, it is the assessment.The studying found that the government should support by giving knowledge about sufficient economy in order people can develop their career in community under the basic knowledge’s of tolerable, rational and be immune to make their life be happily ever.Keyword: Sufficiency Economy, Agriculture, Pondok

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ