Notifications

You are here

อีบุ๊ค

องค์ความรู้ด้านการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ...

TNRR

Description
งานวิจัยเรื่ององค์ความรู้ด้านการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มุ่งที่จะถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการเสียงตามแนวทางของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่ยังไม่ปรากฏการศึกษามาก่อน สวนทางกับการศึกษาองค์ความรู้ด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี งานประพันธ์เพลงและการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ของสำนักดนตรีแห่งนี้ที่มีจำนวนมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รวมทั้งพลวัตและการดำรงอยู่ขององค์ความรู้ด้านการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในปัจจุบัน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ผสานวิธีวิทยาการวิจัยหลายประเภทเข้าด้วยกัน ทั้งการวิจัยทางประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์เนื้อหา การจัดการความรู้ วิธีวิทยาการวิจัยทางดุริยางคศิลป์ เพื่อถอดความรู้จากเอกสารทางวิชาการ สื่อบันทึกเสียงต่าง ๆ ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้และการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นความรู้ที่สืบสานจากโบราณ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทายาทและลูกศิษย์ มีการกำหนดพื้นฐานสำคัญคือ การออกเสียงทำนองคำร้องและทำนองเอื้อน ที่ต้องอาศัยพื้นฐานการขับร้องหลายประการ ได้แก่ ความรู้เรื่องพื้นฐานของเสียง การหายใจ ลีลา ทางขับร้อง กลวิธีพิเศษและความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะของนักร้อง องค์ความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งคือ คลังความรู้เกี่ยวกับเพลงเถาและเพลงสำคัญ ที่มีการบันทึกความรู้และจัดการความรู้อย่างเป็นระบบตั้งแต่ในอดีต ทั้งการบันทึกโน้ตและบันทึกเสียงเพื่อสนับสนุนการจดจำและการดำรงรักษาความรู้ความเรียบง่ายที่เป็นลักษณะเด่นของการขับร้องตามแนวทางของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นั้นเป็นผลให้การขับร้องของสำนักแห่งนี้มีพลวัตจากอิทธิพลจากวัฒนธรรมบันเทิงต่าง ๆ ในสังคมไทย ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึง พ.ศ. 2500 ได้แก่ ละครร้อง ละครเวที ภาพยนตร์เสียงและเพลงไทยสากล ส่งผลให้เพลงและวิธีการขับร้องเพลงไทยแบบแผนของสำนักแห่งนี้พัฒนาไปสู่การขับร้องแบบกึ่งเพลงเนื้อเต็ม ซึ่งต่อมาถูกนำมาพัฒนาเพื่อสนับสนุนการศึกษาในระบบทางไกลและประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กประถมวัย ที่ยังคงการดำรงอยู่ในสังคมไทยด้วยการอนุรักษ์ของหน่วยงาน การสืบสานในกลุ่มบุคคล การผลิตงานวิชาการ รวมทั้งสื่อบันทึกเสียงและสื่อการสอน<br><br>The research on the body of knowledge of the vocal arts by Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School aimed to extract the knowledge of the art of sound according to the guidelines of Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School which was an unstudied study that contrasted with the knowledge of musical instrument practice, composition and creation of other areas of knowledge at this music school. The objective was to gather the body of knowledge in singing of Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School as well as the dynamics and existence of Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School singing knowledge at present with a qualitative research method that combines many types of research methods including historical research, content analysis, knowledge management, music research methodology to extract knowledge from academic documents, audio recordings, and in-depth interviews. The results of the research revealed that the knowledge and singing of Luang Pradit Phairoh was the knowledge that had been passed down from ancient times. There was continuous development by Luang Pradit Phairoh, the heir and his disciples. The fundamentals were set out on the pronunciation of the lyric and the melody that requires many basics of singing, including knowledge of the basics of voice, breathing, style, singing, special tactics and knowledge of the singers health. One important body of knowledge was the knowledge repository of vine songs and key songs in which knowledge had been recorded and organized systematically from the past in both note and audio recording to support memorization and retention of knowledge. The simplicity that was a distinctive feature of Luang Pradit Phairohs style of singing had resulted in the dynamics of this schools singing being influenced by various entertainment cultures in Thai society during the pre-revolutionary period until 1957, namely: Singing, stage plays, sound films and international Thai songs As a result, the songs and methods of singing traditional Thai songs of this school had evolved into a semi-full lyric, which was later developed to support remote education and teaching activities for elementary school children that continues to exist in Thai society with the conservation of the agency, the continuation of the people, the production of academic works, including audio recordings and teaching materials.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ