Description
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ทำให้มาตรการ Lock Down ถูกนำมาใช้เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทำให้ประชาชนมีความยากลำบากในการเข้าถึงอาหาร และการบริโภคอาหารในครัวเรือน อันจะนำไปสู่การเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารได้ในที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความมั่นทางอาหารในช่วงของการระบาดของโรค COVID-19 พัฒนาฐานข้อมูล โมเดลในการคาดการณ์สถานการณ์ความมั่นทางอาหาร และระบบติดตามความมั่นทางอาหารโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วยการวิจัยประยุกต์ (Applied research) กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 11,532 ครัวเรือน สุ่มตัวอย่างแบบ Systematic random sampling เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 3 ครั้ง ทั้งในช่วงเริ่มต้นโครงการ ระยะ 6 เดือน และ 12 เดือน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติอนุมาณ จากผลการวิจัยพบว่า 1) ในช่วงเริ่มโครงการเดือนมีนาคม 2564 พบว่า จังหวัดที่มีความมั่นคงทางอาหารภายในครัวเรือนที่มากที่สุด คือ จังหวัดระนอง 88.8% และไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงมากที่สุด คือ จังหวัดนราธิวาส 7.9% 2) ต่อมาในรอบ 6 เดือน สิงหาคม 2564 พบว่าจังหวัดที่มีความมั่นคงทางอาหารภายในครัวเรือนที่มากที่สุด คือ จังหวัดชุมพร 100% และไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงมากที่สุด คือ จังหวัดตรัง 6.7% และ 3) ในรอบ 12 เดือน กุมภาพันธ์ 2565 พบว่าจังหวัดที่มีความมั่นคงทางอาหารภายในครัวเรือนที่มากที่สุด คือ จังหวัดชุมพร 99.0% และไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงมากที่สุด คือ จังหวัดตรัง 4.3% 2) ข้อมูลจากการสำรวจจะถูกจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลและนำเสนอใน Website Food security 3) โมเดลในการคาดการณ์สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วยตัวแปร จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ค่าอาหารภายในครัวเรือน ค่าเช่ารถ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ความเพียงพอของรายได้ต่อรายจ่าย การมีตลาดสด/นัด การมีรถเร่ขายอาหาร การมีแหล่งอาหารกลางของชุมชน การมีห้างสรรพสินค้า จำนวนตลาดในชุมชน การซื้ออาหารสำเร็จรูป/อาหารกล่อง ประกอบอาหารรับประทานเอง การรับประทานอาหารของครัวเรือน การแก้ปัญหาจากภาวะความมั่นคงทางอาหาร และการประเมินการบริโภคอาหาร 4) ระบบติดตามความมั่นทางอาหารโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าช่วงเริ่มโครงการเดือนมีนาคม 2564 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังความไม่มั่นคงทางอาหารสูงสุด (Alert) ต่อมาในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 พบว่าจังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังความไม่มั่นคงทางอาหารสูงสุด (Alert) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่าทุกจังหวัดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (Acceptable) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนมากมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของระบาดของ COVID-19 มากขึ้นแต่ยังมีกลุ่มคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ผ่านพ้นจากวิกฤตนี้คำสำคัญ: ความมั่นคงทางอาหาร โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์<br><br>Lockdown measures have been adopted to contain the transmission of COVID-19 and reduce the number of patients. This strategy has an impact on people making it difficult to access food and household food consumption which will eventually lead to food insecurity. Therefore, the purpose of this research is to explore the situation of household food security during the COVID-19 pandemic, to develop a database and prediction model for household food security, and a monitoring system by geographic information system (GIS). This research is applied research. The sample group was heads of the household, totaling 11,532 households. Systematic random sampling was used in this research. Data collection was implemented 3 times, at the start of the project (March), 6 months (August), and 12 months (February) by questionnaire in 14 provinces in Southern Thailand. Data were analyzed with descriptive statistics. and inference statistics. The results were presented 1) At the start of the project in March 2021, the province with the most household food security was Ranong (88.8%), and the most severe food insecurity was Narathiwat (7.9%). Later in the 6 months of August 2021, it was found that the province with the most household food security was Chumphon at 100%, and the province with the most severe level of food insecurity was Trang at 6.7%. In the 12 months of February 2022, the province with the most household food security was Chumphon (99.0%), and the most severe food insecurity was Trang (4.3%). 2) Survey data is stored in a database and presented on the Website Food security. 3) the variables of the prediction model for household food security were included the number of household members, the expenditure on household (food, car, education, utility), income-to-expenditure adequacy, the presence of food sources (fresh market, food truck, community food resources, shopping mall), the number of markets in the community, the purchase of ready-to-eat food, self-prepared meals, household meals, the Coping Strategies Index for Solving problems from food security and Food Consumption Score. 4) the monitoring system by geographic information system (GIS). The result found at the project started in March 2021, Narathiwat Province required the highest surveillance of food insecurity (Alert). Later in August 2021, it was found that Trang Province. On the other hand, all provinces were at an acceptable level (Acceptable). in February 2022. Studies have shown that most people have adapted to the COVID-19 epidemic situation. However, some people still need help to get through this crisis.Keywords: household food security, COVID-19, geographic information system
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read