Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การประเมินความความสูญเสียเชิงสวัสดิการและทัศนคติต่...

TNRR

Description
แผนการวิจัยนี้เริ่มต้นจากข้อสังเกตว่า การประเมินความสูญเสียจากอุทกภัยที่ได้มาจากการประเมินโดยหลายภาคส่วนนั้นอาจจะไม่ครอบคลุมถึงทุกมิติ จึงนำไปสู่คำถามของงานวิจัยในโครงการย่อยโครงการที่ 1 ที่ต้องการประเมินความสูญเสียเชิงสวัสดิการด้วยวิธี Contingent valuation method (CVM) ซึ่งได้เก็บข้อมูลจากจังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาของโครงการวิจัยย่อยที่ 1 ชี้ให้เห็นว่าการประเมินความสูญเสียเชิงสวัสดิการสามารถใช้ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ โดยการประเมิน CVM ที่ได้จากการเก็บข้อมูลเฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือนคือ 34,394 บาทนั้นมีมูลค่าสูงกว่าความสูญเสียทางกายภาพ (23,171 บาท) ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ทางทฤษฎี และสูงกว่าค่าชดเชยจากทางภาครัฐผลการศึกษาของโครงการวิจัยย่อยนี้ สามารถนำไปใช้ได้ในหลายด้าน ในส่วนของการกำหนดนโยบาย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความเสียหายจากอุทกภัยนั้น มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าความสูญเสียทางกายภาพและสูงกว่ามูลค่าที่ทางภาครัฐชดเชย ดังนั้นภาครัฐจึงควรชดเชยความสูญเสียให้มากขึ้นหรือผลักภาระดังกล่าวไปยังบริษัทประกันภัยผ่านการประกันอุทกภัย ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับโครงการที่ 2 ที่ต้องการจะศึกษาวิธีการกระตุ้นการซื้อประกันภัยโดยเอกชนเพื่อแบ่งเบาภาระของภาครัฐ โดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาประยุกต์ใช้ ในส่วนวิชาการนั้น โครงการวิจัยย่อยที่ 1 นี้ได้พัฒนาเทคนิค CVM ให้มีความกว้างขวางและยืดหยุ่นกว่าที่ใช้อยู่ในงานวิจัยก่อนหน้า และผลการศึกษายังทำให้นักวิชาการสามารถเข้าใจการตัดสินใจของประชาชนในการช่วยเหลือโครงการป้องกันอุทกภัยสมมติ และมูลค่าความเสียหายเชิงสวัสดิการ (มูลค่าที่พร้อมจะช่วยเหลือโครงการป้องกันอุทกภัยสมมติ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการในการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตการศึกษาในโครงการวิจัยย่อยที่ 2 ผลการทดลองพบว่าจากกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยมีความต้องการซื้อประกันภัยโดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งขัดแย้งกับการซื้อประกันจริงที่น้อยกว่าร้อยละ 10 แสดงให้เห็นว่าประชากรมีความต้องการที่จะซื้อประกัน แต่ไม่สามารถซื้อได้ในชีวิตจริงอันเนื่องมาจากขาดผลิตภัณฑ์ที่เหมาสม และความต้องการการซื้อประกันเพิ่มขึ้นหลังจากคนได้รับผลกระทบและรับรู้การสูญเสียจากภัยพิบัติ สอดคล้องกับอคติอันเนื่องมาจากการมีอยู่หรือเข้าถึงข้อมูล (Availability bias) คือเมื่อคนมีประสบการณ์เผชิญกับอุทกภัยแล้ว พฤติกรรมหลังจากนั้นจะมีความหวาดกลัวที่จะต้องประสบกับอุทกภัยอีกในครั้งถัดไป คนจึงพยายามจะป้องกันความสูญเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเมื่อต้องเผชิญกับอุทกภัยซึ่งในการทดลองนี้คือการซื้อประกันอุทกภัยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนในรูปแบบตัวเงินช่วยเหลือการซื้อประกันสามารถเพิ่มการซื้อประกันได้ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ส่วนแรกคือการกำหนดนโยบาย ซึ่งในโครงการวิจัยย่อยชิ้นนี้ต้องการที่จะแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติโดยใช้ประโยชน์จากอคติทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการกระตุ้นการซื้อประกันภัยให้มากขึ้น จากการศึกษาได้เสนอแนะวิธีการกระตุ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติซึ่งภาครัฐสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยการกระตุ้นหลังจากเกิดภัยพิบัติในทันทีจะทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวและซื้อประกันเพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ส่วนที่สองของงานวิจัยชิ้นนี้คือประโยชน์เชิงวิชาการ โดยที่หลักฐานในปัจจุบันทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมยังไม่ชัดเจนว่าคนมีอคติแบบใดมากกว่ากันระหว่างอคติของการมีอยู่หรือการเข้าถึงข้อมูล (availability bias) หรือการเข้าใจผิดของนักพนัน (Gambler’s fallacy) ซึ่งผลของงานวิจัยนี้ช่วยเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมคนหลังจากเกิดเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้นคำสำคัญ: การประเมินความสูญเสียเชิงสวัสดิการ อคติอันเนื่องมาจากการเข้าถึงข้อมูล "การเข้าใจผิด" ของนักพนัน พฤติกรรมความต้องการซื้อประกันภัย<br><br>Natural disaster damage reports generally measure direct and tangible costs, e.g., destructed infrastructure, accommodation, and land. Reports that include intangible costs in Thailand are limited, especially in the areas outside Bangkok. Therefore, this study applies different research method (namely, the Contingent Valuation Method - CVM) to evaluate flood’s tangible and intangible economic costs. The results show that, by using CVM, welfare loss evaluation, that include intangible costs, is about 50.72 percent higher than that tangible loss assessed alone.This finding will help relevant organisations to be able to evaluate economic loss more precisely in the future, and as a result, compensations could be paid more fairly. However, if the compensation burden falls only on the government hand, the government would be bearing heavier costs. The government could ease these costs by encouraging people to purchase more insurance, which we investigate in the second sub-project. In addition, this research could be applied in terms of methodology to the area of evaluating welfare loss from other natural disasters, e.g., drought or earthquake, as well as the effect of environmental changes, e.g., coastal erosion or sea-level rise. In terms of academic benefits, this study combines the assessment of Willingness-to-Pay (WTP) and Willingness-to-Contribute (WTC) to prevent bias from reporting zero WTP or WTC. This helps avoid biased estimation results due to the inclusion of households reporting zero WTP or WTC whilst the actual numbers are not.For the second sub-project, The main aims are, firstly, to test whether the availability bias affect insurance demand in the Thai population. Secondly, to test whether government subsidies can push the insurance demand toward purchasing more insurance. We found that the insurance demand increases after people experiencing flood which align with the availability bias, and also government subsidies can significantly boost insurance demand. From these understandings, policymakers can design policies to boost demand for insurance to home owners or crop owners in Thailand as the current insurance purchase level is minimal. The evidence arising from this study will also help the government to understand the suitable timing of insurance subsidies to mitigate the government’s own risk should the flood re-occurs. It should increase the subsidiaries for media coverage and insurance knowledge after the incident happens. Academia benefit from this study is that it adds evidence supporting availability bias in the unclear effects of the availability bias or the gambler’s fallacy.Keywords: Welfare loss, Contingent valuation method, Availability bias, Gambler’s fallacy, Insurance demand

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ