Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาสมบัติเชิงกลของมีดตัดโคนของรถตัดอ้อย โดยกา...

TNRR

Description
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมบัติเชิงกลของมีดตัดโคนอ้อยที่ผลิตขึ้นให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น วัสดุที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ สเตนเลส SUS420J2 เหล็ก SUP9 และ SUP6 วัสดุแต่ละชนิดถูกนำมาปรับปรุงสมบัติเชิงกลด้วยการออกแบบการทดลองแบบ Central Composite Design ปัจจัยที่ทำการศึกษาคืออุณหภูมิอบชุบ อุณหภูมิอบคืนตัว และการเคลือบผิวด้วยวิธี Filtered Cathodic Arc Plasma Deposition เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ เครื่องทดสอบความแข็งแบบยูนิเวอร์แซล (Universal Hardness Tester) เครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี (Charpy Impact test) และเครื่องทดสอบการสึกหรอชนิดจานหมุน (Pin – on – Disc) น้ำหนักกด 10 N ระยะทาง 10 กิโลเมตร ความเร็วเชิงเส้น 1 เมตรต่อวินาที และการทดสอบใช้งานจริงโดยใช้รถตัดอ้อยขนาดใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีได้แก่กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน แบบส่องกวาด (Scanning Electron Microscope :SEM) และกล้องจุลทรรศน์สำหรับงานโลหะวิทยา (Metallurgical Microscope) ผลการศึกษาพบว่า มีดตัดโคนอ้อยที่ผลิตจากสเตนเลส SUS420J2 มีค่าความแข็งอยู่ระหว่าง 48 – 55 HRC ค่าความทนทานอยู่ระหว่าง 6.4 – 16.3 J เหล็ก SUP9 ค่าความแข็งอยู่ระหว่าง 36.67 – 49 HRC ค่าความทนทานอยู่ระหว่าง 6.0 – 14.4 J เหล็ก SUP6 ค่าความแข็งอยู่ระหว่าง 37.67 – 46.67 HRC ค่าความทนทานอยู่ระหว่าง 7.4 – 17.2 J เมื่อทดสอบการสึกหรอในห้องปฏิบัติการพบว่าการสึกหรอของสเตนเลส SUS420J2 เหล็ก SUP9 และ SUP6 มีการสึกหรอเฉลี่ย 0.0263, 0.0265, 0.0262 g/cm2 ตามลำดับ การทดสอบในการตัดอ้อยจริงพบว่ามีดที่เคลือบผิวด้วย TiAlSiN ตัดได้เฉลี่ย 664 560 และ 371 ตันตามลำดับ กรณีที่ไม่เคลือบผิวสามารถตัดได้ 559 525 และ 354 ตันตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับมีดที่นำเข้าจากต่างประเทศพบว่ามีดที่ผลิตขึ้นพบว่ามีดที่ผลิตจาก SUS420J2 และ SUP9 มีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยของมีดที่นำเข้าจากต่างประเทศ และจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่ามีดที่ผลิตขึ้นมีต้นทุนในการดำเนินการสูงกว่ามีดที่นำเข้าจากต่างประเทศเล็กน้อย และมีดที่เคลือบผิวมีต้นทุนที่สูงไม่คุ้มค่าในการลงทุน<br><br>The aim of this research was to develop the mechanical properties of the sugarcane base cutter for increased efficiency. The stainless steel SUS420J2, spring steel SUP9 and SUP6 were used to investigate. The Response Surface Method (RSM) and Central Composite Design were used to analyze the effect of main and interaction factors. The Quenching temperature, Tempering and surface coating, Filtered Cathodic Arc Plasma Deposition are main factor in investigated. method. The testing instruments are Universal Hardness Tester, Charpy Impact tester, and Pin – on – Disc wear tester , load 10 N distance 10 km linear speed 1 meter per second. The sugarcane harvesting in main planting area was used to evaluate over performance. The Scanning Electron Microscope (SEM) and the metallurgical microscope were used for chemical composition analysis. The result shown that the hardness of the cutter that made by stainless steel SUS420J2 are 48 - 55 HRC, a toughness as 6.4 - 16.3 J. The hardness of SUP9 are 36.67 - 49 HRC, a toughness are 6.0. – 14.4 J and the hardness of SUP6 are 37.67 – 46.67 HRC, a toughness are 7.4 – 17.2 J. In laboratory tests, the average wear rate of SUS420J2 stainless steel, SUP9 and SUP6 steel are 0.0263. , 0.0265, 0.0262 g/cm2, respectively. In the field test, the average performance of coated cutters are 664, 560 and 371 Ton., respectively, and uncoated cutters are 559, 525 and 354 Ton., respectively. As the result, the cutter that made from SUS420J2 and SUP9 has more performance than the average performance of imported cutter but the cost of them was slightly expensive. In the other hand, the cost of surface coating is very high, so it’s not economically.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ