Notifications

You are here

อีบุ๊ค

รูปแบบการพัฒนาวัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กร...

TNRR

Description
โครงการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยอยู่ 3 ประการ ได้แก่(1) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามบริบทของวัดโป่งคำ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชนวิธีการศึกษาวิจัย เป็นการศึกษาแบบผสมวิธี ระหว่างเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณควบคู่กันไป โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มกับเกษตรกร จำนวน 30 คนแล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าถดถอยพหุคุณ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนแห่งเป็นการพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสอดคล้องหลัก 3 ห่วง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือ ความรู้และคุณธรรม ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือมีการร่วมมือกันระหว่างวัด บ้าน โรงเรียน หน่วยงานราชการภาครัฐและเอกชน และการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การให้คำแนะนำของพระครูสุจิณนันทกิจ (สมคิด จรณธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาผู้มีศักยภาพ มีภาวะผู้นำและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รูปแบบการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชน คือการพัฒนาชุมชนตามบริบทของวัดโป่งคำ ใน 4 ด้าน คือด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน<br><br>This research project has three objectives: To study the model of community development based on the Philosophy of the Sufficiency Economy, to analyze the factors of success based on the Philosophy of the Sufficiency Economy in the context of Wat Pong Kham, and to present the suitable model of community development based on the Philosophy of the Sufficiency Economy for development to be the learning center of communities. Research methodology is mixed research between qualitative and quantitative methods by observation, interviews, and focus group discussion of key informants 30 persons. An analysis of the qualitative method is content analysis, and the quantitative data is statistical analysis with percentage, mean, and multiple regression analysis. The result of the study found that the model of community development is based on the philosophy of the sufficiency economy of the community as an applied development. It corresponds to 3 components: moderation, reasonableness, and self-immunity, and 2 conditions: appropriate knowledge and ethics &amp; virtues. The success of community development based on the philosophy of Sufficiency economy is cooperation among Wat, community, school, public sector, and private sector and the efficient operation of organic agriculture by farmers under the advice of Phra Kru Sujinnanthakit (Somkid Charanadhammo), Abbot of Wat Pong Kham, who has potentiality, leadership, and broad vision. The development model according to the philosophy of sufficiency economy is suitable for development as a learning center for people in the community in the context of Wat Pong Kham in 4 dimensions: economy, society, environment, and culture, so that people in the community can be self-reliant sustainable.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ