Description
อุตสาหกรรมไหมอีรี่ ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมประเภทสิ่งทอเป็นหลัก โดยมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ คือการจำหน่ายรังไหมอีรี่ อุตสาหกรรมกลางน้ำ คือ ผลิตภัณฑ์เส้นใยและเส้นด้ายจากไหมอีรี่ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ผ้าผืน จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งด้านการยอมรับผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มค่อนข้างสูง เนื่องจากเส้นใยไหมอีรี่มีจุดเด่นด้านคุณลักษณะ และความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังขาดแคลนวัตถุดิบที่สืบเนื่องมาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ และอุตสาหกรรมกลางน้ำ ส่วนในอุตสาหกรรมปลายน้ำมีปัญหาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัญหาด้านการตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ปัญหาด้านไม่ความสะอาด และคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากอุตสาหกรรมไหมอีรี่ส่วนใหญ่ยังไม่มีมาตรฐานรองรับจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงยังไม่มีการออกแบบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะของกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นในแผนงานวิจัยซึ่งประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการย่อย 1 การพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อสนับสนุนการผลิต รังไหมสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหาร เพื่อสร้างองค์ความรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตรังไหมโดยจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) และเป็นมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติที่ดีให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการขอรับใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) พร้อมทั้งศึกษาการตรวจปริมาณฮีสตามีนในดักแด้อบแห้ง พบว่า ดักแด้ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 9 วัน มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด ร้อยละ 60.88 ของดักแด้อบแห้ง และผ่านการอบด้วยไมโครเวฟสุญญากาศที่กำลังไฟฟ้า 2400 วัตต์ เวลา 12 นาที พบว่ามีปริมาณฮีสตามีน 5.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งปลอดภัยต่อการบริโภคโครงการย่อยที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเส้นด้ายปั่นมือไหมอีรี่เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อนำเครื่องตัดรังไหมสดที่ได้ทำการพัฒนาต้นแบบ ในปี 2562 มาลองใช้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งสามารถเพิ่มกำลังการผลิตรังตัด และดักแด้ที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้นได้ และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าทอหรือถักของเส้นด้ายไหมอีรี่ปั่นผสม รวมทั้งการย้อมสีที่มีสมบัติป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเลต จับคู่สี ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับความสามารถของแต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถขึ้นต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากกว่า 10 ผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อคลุม ชุดสูท กางเกง ชุดเดรส หมวก กระเป๋า เป็นต้น เพื่อเป็นการสนับสนุนพัฒนาการผลิตสิ่งทอในระดับชุมชนและโครงการย่อยที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสโปรตีนสูงจากดักแด้ไหมอีรี่ ผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากดักแด้ไหมอีรี่โดยเทคโนโลยีเอนไซม์ ได้ผงผลิตภัณฑ์โปรตีนไฮโดรไลเสทที่สามารถละลายน้ำได้ดี มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 71.20% มีปริมาณกรดอะมิโนทั้งหมด 35.38 mg/100g โดยมีกรดกลูตามิกสูงที่สุด 6.37 mg/100g มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสจากดักแด้ไหมอีรี่ ที่มีปริมาณโปรตีน 15.99% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH 7.012?0.06 mg TE/g sample และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP เท่ากับ 107.230?0.82 ?mol/g ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ร้อยละ 84 และมีความต้องการซื้อหากมีการจำหน่ายร้อยละ 74<br><br>At Present, Eri silk is mainly utilized in textile industry and in various forms of products from upstream to downstream, which are Eri silk yarn, cloths, scarf and so on. Product acceptance and market trend of Eri silk product in aboard is continuously grown due to product property and environmental friendly production process. However, Eri silk industry still has faced many problems such as raw material scarcity in upstream, product quality problem in middle stream and market problem in downstream. In overview of Eri silk industry, it lacks of good practice guideline and product design and standard. Thus, project consists of 3 subprojects as followed.Subproject 1 developed and set up good practice for Eri silkworm farming to support Eri cocoon production to industry of food and textile, which is the knowledge for good practice of Eri cocoons production by establishing agricultural product standards (KU Standard). The farmer can bring guidelines to get KU Standard certificate. Moreover, this study also analyzed histamine quantity in dry Eri cocoons by microwave at 2,400 Watt and 12 minute. It was found that histamine is at 5.7 milligram/kilogram which is safe for consumption. Subproject 2 aimed to increase the capacity of yarn production in community by applying the Eri cocoon cutting machine. The result showed that the machine can increase yarn and textile productivity in both quantity and quality. Furthermore, the project also transferred the color matching and product design to each community so that the community can produce more than 10 textile products. Subproject 3 developed high protein seasoning powder from Eri- silk pupa by enzyme technology. Hydrolyzed cocoon protein has protein content at 71.20% and can dissolve well in water. The protein properties have total amino acid at 35.38 mg/100g by containing glutamic acid at 6.37 mg/100g which has the antioxidant activity. Then, the hydrolyzed protein was developed to be seasoning powder which has product properties as L*a*b at 75.10, 3.43 and 16.99, protein content at 16.06%, moisture content at 1.77%, antioxidant activity by DPPH at 7.012?0.06 mg TE/g sample and antioxidant activity by FRAP at 107.230?0.82 ?mol/g. The consumer acceptance test showed that 84 percent of consumers accepted this product.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read