Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาศักยภาพชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังห...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำการสำรวจทรัพยากรและจัดทำแผนที่ตั้งชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ 2) ทำการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวและความพร้อมของทุนชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนหัตถกรรมต้นแบบจังหวัดเชียงใหม่ในการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ4) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนและเครือข่ายต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ นำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนา (Descriptive Analysis) ทั้งนี้สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) การสำรวจทรัพยากรและจัดทำแผนที่ตั้งชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าด้านพื้นที่ตั้งของชุมชน ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นและตั้งถิ่นฐานกระจายตามแหล่งต่าง ๆ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ การตั้งถิ่นฐานเริ่มปรากฏชัดเจนตั้งแต่ยุคที่มีการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่หลังจากที่ถูกพม่าเข้ามายึดครองกว่า 200 ปี กลุ่มคนดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ (ในเขตคูเมือง) บางกลุ่มเลือกตั้งถิ่นฐานออกไปจากตัวเมืองไม่ไกลมาก และยังมีบางกลุ่มที่เลือกเดินทางไปตั้งถิ่นฐานไกลออกไปจากตัวเมือง นอกจากนั้นยังพบว่ามีชุมชนหัตถกรรมที่เกิดขึ้นในยุคหลังที่เกิดคนในชุมชนเรียนรู้การทำงานหัตถกรรมจากแหล่งอื่นแล้วนำมาเผยแพร่ให้แก่ในชุมชน จนคนในชุมชนยึดเป็นอาชีพ ซึ่งหากพิจารณาตามเกณฑ์ด้านแหล่งที่ตั้งของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนหัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ 1) แหล่งที่ตั้งในตัวเมืองเชียงใหม่ 2) แหล่งที่ตั้งใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ และ3) แหล่งที่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ส่วนด้านทรัพยากร พบว่า ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่นอกจากมีเอกลักษณ์ที่สะท้อนออกมาผ่านงานหัตถกรรม การดำรงชีวิตที่มีอัตลักษณ์ที่ยังสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีและวัฒนธรรมอันโดดเด่นเฉพาะของพื้นที่ที่ยังคงสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยพบว่าชุมชนหัตถกรรมบางแห่งยังคงสามารถอนุรักษ์รักษาอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของตนเองเอาไว้ได้ ส่วนบางแห่งอัตลักษณ์บางอย่างค่อนข้างเลือนรางหายไปตามยุคสมัย เนื่องจากมีการแพร่กระจายจากวัฒนธรรมต่างถิ่นเข้ามายังพื้นที่ ซึ่งสามารถสรุปทรัพยากร หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านที่โดดเด่นของแต่ละชุมชนว่าประกอบด้วย 7 ประเภท ได้แก่ 1) งานเครื่องปั้นดินเผาและงานหล่อ 2) งานผ้าและเย็บปักถักร้อย 3) งานแกะสลักและผลิตภัณฑ์จากไม้ 4) งานจักสาน 5) งานเครื่องกระดาษ 6) งานบุดุนโลหะ และ7) งานเครื่องเขิน 2) การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวและความพร้อมของทุนชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลการวิเคราะห์ภาพรวมค่าเฉลี่ยระดับศักยภาพทางการท่องเที่ยวและความพร้อมของทุนชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก (x ? = 3.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อที่ 4 ด้านการบริหารจัดการเมือง (x ? = 3.79) รองลงมาคือ ข้อที่ 1 การสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้แก่เมือง (x ? = 3.78) ข้อที่ 2 การรวบรวมนักคิดและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (x ? = 3.62) และข้อที่ 3 การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (x ? = 3.56) ตามลำดับ 3) การเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนหัตถกรรมต้นแบบจังหวัดเชียงใหม่ในการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า แนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวกระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมืองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 การสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้แก่เมือง (Cultural Identity) ประกอบด้วย 2 ด้าน 7 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการเมือง (Management) ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบที่ 3 การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Space & Facility) ประกอบด้วย 2 ด้าน 8 ตัวชี้วัด และ4) องค์ประกอบที่ 4 การรวบรวมนักคิดหรือผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneur) ประกอบด้วย 2 ด้าน 5 4) การเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนและเครือข่ายต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยว พบว่าแนวในการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนและเครือข่ายต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยวประกอบด้วย 10 องค์ประกอบที่สำคัญ หรือเรียกว่า CM CREATION Model คือ 1) C = Creative Entrepreneur คือ การรวบรวมผู้มีความคิดสร้างสรรค์ 2) M = Management คือการบริหารจัดการ 3) C = Cultural Identity คือการสร้างเอกลักษณ์ 4) R = Resolution คือเป็นการสะท้อนความเป็นจริงในทุกมิติของการพัฒนา 5) E = Education คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความเข้าใจ 6) A = Authentic คือการสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยว 7) T = Team คือการทำงานเป็นทีม 8) I = Infrastructure คือการจัดเตรียมปัจจัยพื้นฐาน 9) O = Opportunity คือการเปิดช่องทางให้ชุมชนสามารถเข้าถึงโอกาส และ10) N = Network คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ<br><br>The objectives of this research were 1) to survey the resources and to map the location of the handicraft and folk arts community in Chiang Mai Province. 2) To assess the tourism potential and readiness of the community capital as a creative tourist destination. 3) Propose guidelines for developing a model handicraft community in Chiang Mai to become a member of the UNESCO Creative Cities Network to support creative tourism. and 4) to propose guidelines for the development of community management and networks towards membership of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. Using Mixed Methods Research, qualitative research methods were used to collect and analyze the data obtained from the interviews. group chat and participant and non-participant observations from those involved in the research. and use quantitative research methodology to collect and analyze the data obtained from the questionnaires to achieve the research objectives set. The results of the study were presented in a descriptive form. The results of the research can be summarized as follows: 1) Resource survey and mapping of the handicraft and folk arts community in Chiang Mai Province found that the area of the community Handicrafts and Folk Arts Community in Chiang Mai Province occurred and settled in various sources throughout Chiang Mai Settlement became evident since the era when people from different cities were forcibly drawn to Chiang Mai after more than 200 years of Burmese occupation. Some of these people settled in downtown Chiang Mai. (In the moat), some elected settlements are not far from the city. And there are still some groups that choose to travel to settle far away from the city. It was also found that there was a handicraft community that originated in the latter era when people in the community learned to make handicrafts from other sources and then disseminated them to the community. until the people in the community take it as a profession If considering the criteria for the location of the settlement of the handicraft community in Chiang Mai Can be divided into 3 groups as follows: 1) Location in Chiang Mai City 2) Location near Chiang Mai City and 3) Location far from Chiang Mai City. In terms of resources, it was found that the handicrafts and folk arts communities in Chiang Mai had a unique identity that was reflected through handicrafts. Living with a unique identity that still reflects the unique traditions and culture of the area that have been passed down from the past. It was found that some handicraft communities were still able to preserve their own identity. In some parts, certain identities have faded over time. Due to the spread of foreign cultures into the area. which can summarize resources The distinctive handicrafts and folk arts of each community consist of 7 categories: 1) pottery and casting 2) fabric and embroidery 3) carving and wood products 4) basketry 5) papermaking 6 ) Metal work and 7) Lacquerware work 2) Assessment of tourism potential and readiness of community capital as a creative tourism destination Chiang Mai Province found that the results of the overall analysis of the average level of tourism potential and the readiness of community capital for being a creative tourism destination in Chiang Mai in all 4 aspects found that the overall picture of all items was at a high level (x ? = 3.69). consider each item It was found that the item with the highest mean was item 4 on city management (x ? = 3.79), followed by item 1, building cultural identity for the city (x ? = 3.78). Thinkers and Creative Entrepreneurs (x ? = 3.62) and No. 3 Building Areas and Facilities (x ? = 3.56), respectively. 3) Proposing a guideline for developing a model handicraft community in Chiang Mai to become a member of the UNESCO Creative Cities Network to support creative tourism found that the community development approach to support tourism, the process of improving the citys composition to be a creative city of the organization UNESCO consists of 4 components: 1) Component 1, Cultural Identity, consisting of 2 aspects, 7 indicators 2) Component 2, Management, consisting of 3 aspects, 8 Indicators, 3) Component 3, Space & Facility, consisting of 2 aspects, 8 indicators and 4) Component 4, collecting creative entrepreneurs (Creative Entrepreneur) consists of 2 aspects 5 4) Propose guidelines for the development of community management and networks towards membership of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism. It was found that guidelines for developing community management and networking towards membership of the UNESCO Creative Cities Network to support tourism consist of 10 important components, known as the CM CREATION Model: 1) C = Creative Entrepreneur, which is Gather creative people 2) M = Management is management 3) C = Cultural Identity is to create identity 4) R = Resolution is to reflect reality in all dimensions of development 5) E = Education is to create 6) A = Authentic is to create possibilities in creating new forms of tourism 7) T = Team is to work as a team 8) I = Infrastructure 9) O = Opportunity is to open channels for communities to access opportunities and 10) N = Network is to create a network of cooperation.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ