Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตู...

TNRR

Description
จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดเล็กๆ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น เกาะหลีเป๊ะ และเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ได้รับการรับรองให้เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย ขยะเกือบทั้งหมดในพื้นที่อุทยานธรณีโลกถูกกำจัดที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยแบบครบวงจร เทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปัจจุบันมีขยะตกค้างจากชุมชนในศูนย์รวมกว่า 100,000 ตัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะชุมชนโดยใช้ยางพาราเป็นตัวเชื่อมประสาน ซึ่งดำเนินการศึกษาวิจัยทางเทคนิคด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของเชื้อเพลิง โดยทำศึกษาที่อัตราส่วนขยะชุมชนต่อยาง 100:0, 95:5, 90:10, 75:25 และ 50:50 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความร้อนเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน (%) ของยางที่เติม ซึ่งค?าความร?อนของเชื้อเพลิงจะแปรผันตรงกับปริมาณของยางพาราเติม อัตราส่วนที่มีค่าความร้อนสูงสุดคือ 50:50 ตามด้วย 75:25, 90:10 และ 95:5 ค่าความร้อนเท่ากับ 40.67 MJ/kg (9720 kcal/kg), 40.24 MJ/kg (9,617 kcal/kg), 39.28 (9,389 kcal/kg) และ 39.18 MJ/kg (9,365 kcal/kg) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วน 100:0 มีค่าความร้อนเพียง 38.84 MJ/kg (9,284 kcal/kg) เท่านั้น การเพิ่มยางพาราลงในเชื้อเพลิง RDF-5 ช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ ความชื้น เถ้าและเวลาจุดติดไฟของเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะชุมชนที่มียางพาราเป็นตัวเชื่อมประสาน แต่ละอัตราส่วนจะแปรผกผันกับปริมาณยางที่เติม สำหรับความหนาแน่นของเชื้อเพลิงจะแปรผันตรงกับปริมาณยางที่เติมเข้าไป จากผลการทดลองพบว่าการใช้ยางพาราเป็นตัวเชื่อมประสานทำให้กระบวนการเผาไหม้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่งผลให้เวลาการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงเร็วขึ้นหรือจุดไฟได้ง่ายขึ้น ปริมาณเถ้าน้อยลง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่การเติมยางพาราในปริมาณที่สูงเกินไป ก็อาจกระทบต่อต้นทุนการผลิตได้เช่นกัน ทีมวิจัยเลือกที่จะพัฒนาอัตราส่วน 95:5 เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่ามีระยะเวลาคืนทุนเร็วเพียง 5.72 ปีเท่านั้น ดังนั้นอัตราส่วน 95:5 จึงเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถขยายไปถึงระดับอุตสาหกรรมได้ ต้นทุนการผลิต RDF-5 เท่ากับ 1,935 บาท/ตัน ที่ราคายางธรรมชาติ 50 บาท/กก. ปริมาณการปล่อยก๊าซที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของ RDF-5 (95:5) พบว่า SO2 เท่ากับ 1.05 ppm CO2 เท่ากับ 3.25 ppm NOx เท่ากับ 90.68 ppm และฝุ่นละออง 112.45 มก./ลบ.ม. ซึ่งทั้งหมดผ่านมาตรฐาน ดังนั้น จากการประเมินงานวิจัยนี้จึงพบว่า RDF-5 เป็นเชื้อเพลิงจากขยะชุมชนโดยใช้ยางธรรมชาติเป็นตัวเชื่อมประสานเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงหมุนเวียนและการจัดการขยะมูลฝอย และช่วยปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูลคำสำคัญ : อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล, เชื้อเพลิง RDF-5, การจัดขยะมูลฝอยชุมชน, ยางพารา<br><br>Satun Province is a small province with world-famous tourist attractions such as Koh Lipe and on April 17, 2018, it was certified as Thailands first global geopark. Almost all of the waste in the World Geopark area is disposed of at the Integrated Waste Management Center, Kamphaeng Subdistrict, La-Ngu District, Satun Province. Currently, there are more than 100,000 tons of residual waste from the community in the center. This research was to study the development of RDF-5 fuel from community waste by using natural rubber as a binder which was conducting technical research studies on Economics and the environment of fuels. The ratio of community waste to rubber was studied at the ratio of 100:0, 95:5, 90:10, 75:25, and 50:50, respectively. The results showed that the calorific value was increased in the ratio (%) of the added rubber and the heat value of the fuel is directly in ratio to the amount of rubber added. The ratio with the highest calorific value was 50:50, followed by 75:25, 90:10 and 95:5. The calorific value was 40.67 MJ/kg (9720 kcal/kg), 40.24 MJ/kg (9,617 kcal/kg), 39.28 (9,389 kcal/kg) and 39.18 MJ/kg (9,365 kcal/kg), respectively. Compared with 100:0 have a calorific value of 38.84 MJ/kg (9,284 kcal/kg) only. The addition of natural rubber to the RDF-5 fuel had a significant synergism boost. Moisture, ash, and ignition time of RDF-5 fuel from municipal waste with natural rubber as a binder, each ratio was inversely proportional to the amount of rubber added. As for the density of each fuel, the ratio was directly proportional to the amount of rubber added to it. The experimental addition of natural rubber as a binder makes the combustion process more complete, resulting in faster fuel ignition time or easier ignite, less ash content, and environmentally friendly. But the addition of rubber in the amount is too high. It may affect the cost of production as well. The research team chose to develop the ratio of 95:5 because the economic analysis showed a fast payback period of only 5.72 years. So, the ratio of 95:5 is the optimal condition that can scale up to the industrial level. The production cost of RDF-5 is 1,935 baht/ton at a price of 50 baht/kg of natural rubber. The amount of emission caused by the combustion process of RDF-5 (95:5) was found that SO2 was 1.05 ppm, CO2 was 3.25 ppm, NOx was 90.68 ppm and dust was 112.45 mg/m3, all of which passed the standard. Therefore, the evaluation of this research found that RDF-5 fuels from community waste using natural rubber as a binder. It is one of the attractive alternatives to renewable fuel generation and solid waste management solutions and helps improve the environmental quality of communities in the Satun UNESCO Global Geopark area.Keywords: Satun UNESCO Global Geopark, RDF-5 fuel, Municipal solid waste management, Natural rubber

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ