Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษิตพื้นบ้านภา...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจภาษิตภาษาถิ่นโคราชในจังหวัดนครราชสีมา2) พัฒนาแอปพลิเคชัน 3) ประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน และ 4) ศึกษาศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา คัดเลือกด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 48 คน 2) ผู้บอกภาษา เป็นปราชญ์ชุมชนหรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาษาถิ่นโคราช คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 3 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6คัดเลือกด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 4 ฉบับ ดังนี้ แบบสำรวจความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชัน แบบสัมภาษณ์ภาษิตพื้นบ้านภาษาถิ่นโคราช แบบประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษิตพื้นบ้านภาษาถิ่นโคราชผ่านแอปพลิเคชัน มีการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านเนื้อหาและรูปแบบ หาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผลการวิจัย พบว่า 1) มีภาษิตที่มีการใช้คำภาษาถิ่นโคราช และภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงภาษาถิ่นโคราชที่มาจากการอาชีพ ประเพณี วิถีชีวิต พฤติกรรม และความเชื่อ 2) แอปพลิเคชันแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วนคือ ข้อมูลภาษิต สำนวนความเปรียบ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก Mean=4.67 S.D.= 0.41 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน Mean = 9.16 S.D.= 3.487 มีค่าสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน Mean = 14.00 S.D.=4.533 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันนี้สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ภาษิตภาษาถิ่น ช่วยพัฒนาขัดเกลาทางสังคมให้เยาวชนปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม เป็นการอนุรักษ์ภาษาถิ่น และเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในอนาคต<br><br>The purposes of this study were: 1) to survey Korat dialect proverbs in Nakhon Ratchasima province,2) to develop an application, 3) to evaluate the efficiency of the application, and 4) to investigate learningachievement through the application.Samples of this study were classified into three groups as follows: 1) 48 teachers in the subjectgroup of Thai and Social Study, selected by using Simple Random Sampling technique, 2) three informantswho were experts or intellectual in Korat dialect, chosen purposively, and 3) 100 Prathomsuksa six students,selected by using Simple Random Sampling technique. Research instruments were: 1) the survey of needsof the application users, 2) the interview of Korat dialect proverbs, 3) the evaluation form of the efficiencyof the application, and the test for evaluating learning achievement of Korat dialect folk proverbs throughthe application. Data were analyzed to look for 1) contents and layout of the application, 2) efficiency ofthe application, and 3) learning achievement through the application.Results were as follows. 1) Folk proverbs were consisted of Korat dialect words and Standard Thaiwords with Koratian accents, influenced from former occupations, ways of life, tradition, behaviors, andbeliefs. 2) The contents of the application were classified into four parts as follows: information of theproverbs, figure of speech, exercises, and tests. 3) The efficiency of the application was at the much level(Mean=4.67 S.D.= 0.41), Finally, 4) learning achievement through the application was at the much level (x?=9.16, S.D.= 3.487) which was higher than before learning (x?= 14.00, S.D.= 4.533) with statistically significantdifference of .01. They indicated that this application could be used as the teaching media for learningproverbs, polishing the youth to behave strictly in accordance with morals, conserving the dialect, andbeing the guideline for developing the media and innovation for learning in the future.Keywords: Application, Proverbs, Korat Dialect, Nakhon Ratchasima

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ