Description
แม้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงมีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพสูงแต่การใช้ประโยชน์ของพืชนี้ในปัจจุบันยังไม่เต็มศักยภาพโดยเฉพาะการใช้สร้างเสริมสุขภาพ ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้นี้ไม่สูงนัก การพัฒนาข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงเป็นอาหารสุขภาพในกลุ่มที่มีความต้องการของตลาด ได้แก่ อาหารบำรุงสมอง อาหารลดอาการเหนื่อยล้า อาหารบำรุงสายตา อาหารส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และโภชนาการส่วนบุคคล จะช่วยทำให้มูลค่าของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 90 เท่า ข้อมูลการศึกษาทั้งใน in vitro และ in vivo ของทีมคณะผู้วิจัยพบว่าข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงซึ่งมีสารแอนโธไซยานินสูงซึ่งมีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาที่ครอบคลุมศักยภาพในการลดปัญหาที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการกล่าวอ้างทางสุขภาพจำเป็นต้องมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกยืนยันประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมุ่งที่จะพัฒนาและประเมินผลการบริโภคซุปสุขภาพจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงผสมสมุนไพร 8 สัปดาห์ต่อความจำขณะทำงาน การเหนื่อยล้า อาการตาแห้ง คุณภาพการนอนและโภชนาการส่วนบุคคลของอาสาสมัครปกติ ในการศึกษาครั้งนี้อาสาสมัครชายและหญิงอายุระหว่าง 45 – 60 ปี จะถูกแบ่ง เป็น กลุ่มต่างๆดังนี้ 1) กลุ่มยาหลอก 2) กลุ่มที่ได้รับซุปสุขภาพที่มีข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงผสมสมุนไพรเป็นองค์ประกอบขนาด 20 กรัม และ 3) กลุ่มที่ได้รับซุปสุขภาพที่มีข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงผสมสมุนไพรเป็นองค์ประกอบขนาด 40 กรัม อาสาสมัครจะบริโภคอาหารที่ได้รับมอบวันละครั้งช่วงเช้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นทำการประเมินความจำขณะทำงาน การเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับ ความเหนื่อยล้าและอาการตาแห้ง การเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาท การเปลี่ยนแปลงความเครียดออกซิเดชัน และ สารเกี่ยวกับการอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของ epigenetic mechanism และ การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ ในลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นยังประเมินความปลอดภัยในการบริโภคร่วมด้วย โดยประเมินดัชนีที่กล่าวข้างต้น ทุก 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาอยู่ในระยะดำเนินการเนื่องจากยังไม่ครบ 8 สัปดาห์และอาสาสมัครยังไม่ครบจำนวน เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถดำเนินงานตามกรอบเวลาเดิม ติดปัญหาการระบาดของโควิด-19 คำสำคัญของการวิจัย ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง, ความจำขณะทำงาน, อาการเหนื่อยล้า, อาการตาแห้ง, คุณภาพการนอน และ โภชาการส่วนบุคคล<br><br>Despite the high potential in health promotion, the current utilization of the purple waxy corn is not yet full of its potential particularly the application for health promotion. Therefore, the price of this agricultural product is not very high. The development of purple waxy corn as the demanded functional foods in the market such as brain nourishing food, vision health promoting food, sleep quality promotion food and personalized nutrition will increase the value of purple waxy corn at least 90 times. Both in vitro and in vivo data of our research team found that the purple waxy corn which is rich in anthocyanin content that exhibits the pharmacological effects covered the potential to mitigate the aforementioned problems. However, clinical study to confirm the health benefit is essential for health claims. Therefore, this study aimed to develop and to evaluate an 8 week-consumption of purple waxy corn functional soup mixed with herb on working memory, fatigue, dry eyes, quality of sleep and personalized nutrition in healthy volunteers. In this study, both male and female healthy volunteers at the age of 45-60 years old will be divided into various groups including 1) placebo 2) group that received the functional soup containing purple waxy corn mixed with herb at dose of 20 g 3) group that received the functional soup containing purple waxy corn mixed with herb at dose of 40 g. All subjects must consume the assigned substance once daily in the morning for 8 weeks. Then, working memory, sleep quality, fatigue, and dry eyes, neurotransmitter changes, changes of oxidative stress, and inflammation, changes of epigenetic mechanism, and changes of microorganisms in the large intestine. In addition, consumption safety was also evaluated. All mentioned parameters were assessed every 4 weeks. The results of the study were in the progression phase because it had not completed 8 weeks and the total number of volunteers had not achieved because we could not operate according to the original time frame due to the problem of the Covid-19 outbreak. Keywords: Purple waxy corn, working memory, fatigue, dry eyes, sleep quality, personalized nutrition
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read