Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้า...

TNRR

Description
บ้านหัวกระทิง ตำบลขุนตัดหวาย อ.จะนะ จ.สงขลา ต้องการพึ่งพิงตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุม เนื่องจากอดีตชุมชนบ้านหัวกระทิงประสบปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่นาซ้ำซาก ซึ่งเกิดจากการไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างทันท่วงทีหลังจากเกิดคลองส่งน้ำชลประทานขึ้นเมื่อปี 2523 ชาวนาจึงได้เลิกร้างการทำนาเพราะทำนาและขาดทุน ต่อมาทางชุมชนได้เริ่มฟื้นฟูนาร้างขึ้นมาอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.2548 ริเริ่มจากผู้นำผู้บ้าน โดยการเปลี่ยนช่วงระยะเวลาการทำนาจากเดิมทำนาปีที่เริ่มจากกรกฎาคมของทุกปีและเก็บเกี่ยวประมาณกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม มาเป็นการทำนาหลังน้ำลด เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงประมาณเมษายนถึงพฤษภาคม จนกระทั้งต่อมาได้รับการสนับสนุนโครงการฟื้นฟูนาร้างมาตั้งแต่ปี 2556 และได้ดำเนินการทำนามาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวข้าวหอมปทุมซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่และช่วงระยะเวลาในการทำนาที่เปลี่ยนไป แต่ราคาต้นทุนของเมล็ดพันธุ์ก็มีราคาสูงด้วยเช่นกัน ชุมชนจึงมีแนวคิดในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุมเพื่อการพึ่งตนเอง โดยการศึกษาปัจจัยที่ส่ง ผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุมที่มีคุณภาพ ศึกษาต้นทุนและการลดต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุม และทดลองผลิตโดยการทำแปลงเมล็ดพันธุ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธี การสัมภาษณ์ แบบมีแบบสอบถาม จำนวน 40 คน วิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิตเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนในชุมชนหัวกระทิง จนพบปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุมที่มีคุณภาพ ได้แก่ 1. เมล็ดพันธุ์ตั้งต้น 2. กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ 8 ขั้นตอน (1. เตรียมดิน 2. ทำนา 3.จัดการน้ำ 4. ใส่ปุ๋ย 5. จัดการวัชพืชและศัตรูพืช 6. ตัดพันธุ์ปน 7. ลดความชื้น และ 8. เก็บรักษา) 3. การดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกร และ 4. สภาพภูมิอากาศ พบว่าต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 12.19 บาท และสามารถลดต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุมได้ 8.61 บาทต่อกิโลกรัม การทดลองผลิตโดยทำแปลงเมล็ดพันธุ์ได้ผลผลิตรวม 3861 กิโลกรัม เป็นข้อมูลและแนวทางสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมปทุมและนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรชาวนาพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลขุนตัดหวายต่อไป คำสำคัญ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุม ?<br><br>Ban Hua Krathing, Khun Thad Wai Subdistrict Chana Songkhla wants to rely on itself on the grain of Hom Pathum rice. In the past, this community experiencing repeated flooding of farmland was caused by the inability to drain water in a timely manner after the irrigation canal was formed in 1980. The farmers gave up farming because of their farming and losses. The community later began restoring the abandoned fields in 2005Initiated by the leaders of the house, by changing the farming period from the original farming period to be farming after low tide from January to around April to May. It has subsequently supported abandoned rehabilitation projects since 2013. Use Hom Pathum rice, which is suitable for regaining that and the changing period of farming, but the cost of seeds is also high. The community wants to produce rice seeds on their own. By studying the factors affecting the production of quality Hom Pathum rice seeds, reducing the cost of producing Hom Pathum rice seeds and experiment with production by making seed conversions. Data collection uses a questionnaire interview method of 40 people. Use participatory observations primarily There are group interviews. Observe and record data based on quality criteria, development process and grain yield. Analyzed with static methods for nonnumeric data. On the basis of knowledge and understanding in the social and cultural context of the people in the bullish community. Until the factors that affect the production of quality rice seeds are 1. 2. Production process quality 8 procedure (1. Soil preparation 2. Farming 3. Water management 4. Fertilize 5. Manage weeds and pests 6.Cut mixed varieties 7.Reduce moisture and 8.Preserve) 3. Caring for farmers and 4.Climate It found that the cost of seed production was 12.19. baht. And it can reduce the cost of producing Hom Pathum rice seeds by 8.61. Baht per kilogram. The trial was produced by converting seeds with a total yield of 3,861. kilogram It is an important information and approach to reducing the cost of rice production of Hom Pathum rice and leading to seed self-sufficiency of local farmers in Moo 7, Khun Thad Wai Sub-district.Keywords: Pathum Rice Seed Production?

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ