Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตลักษณะและสถานการณ์ของพฤติกรรมก...

TNRR

Description
การเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดารงชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเยาวชนไทยที่จะนาไปสู่คนดี คนเก่ง และมีสุข ในอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมการดารงชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเยาวชนไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุทางจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดารงชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเยาวชนไทย งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยแบบความสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Co relational Comparative Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนไทย ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนกาหนดโควตา (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างจานวน 800 คน สาหรับการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่ 1 และกลุ่มตัวอย่างจานวน 800 คน สาหรับการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่ 2พบผลที่สาคัญ 2 ประการ จากการวิจัย ดังนี้ ประการแรก แบบวัดพฤติกรรมการดารงชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จานวน 4 แบบวัด ได้แก่ 1) แบบวัดพฤติกรรมการมีจิตอาสา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชน การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการช่วยเหลือเพื่อน 2) แบบวัดพฤติกรรมสืบสานวัฒนธรรม 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเป็นพุทธศาสนิกชน การนิยมของไทย และการมีกาลเทศะทางสังคม 3) แบบวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การร่วมกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม การทาลายสิ่งแวดล้อม การลดการทาลายสิ่งแวดล้อม และการประหยัดน้า และ 4) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ชีวิตพอเพียง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การสนับสนุนให้ประหยัด ความรู้จักพอเพียง และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยทั้ง 4 แบบวัด สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 64.33% 63.72% 63.99% และ 60.06% ตามลาดับ เมื่อทาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทุกแบบวัด ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์(8)ประการที่สอง การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า จิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ ทั้ง 11 ตัวแปร 1) สามารถทานายพฤติกรรมการมีจิตอาสาได้ 45.90% โดยมีลาดับตัวทานายที่สาคัญ คือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง การเห็นแบบอย่างจากสื่อ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการมีภูมิคุ้มกันตน ซึ่งมีค่าเบต้าตามลาดับ คือ .31,.23,.19,.13,.11,-.07 2) สามารถทานายพฤติกรรมสืบสานวัฒนธรรมได้ 32.80% โดยมีลาดับตัวทานายที่สาคัญ คือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง การเห็นแบบอย่างจากสื่อ ทัศนคติ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออานาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การประเมินแก่นแห่งตน และ การมีภูมิคุ้มกันตน ซึ่งมีค่าเบต้าตามลาดับ คือ .25,.19,.13,.10,.10,-.10,.09,.07 3) สามารถทานายพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ 40.80% โดยมีลาดับตัวทานายที่สาคัญ คือ การเห็นแบบอย่างจากสื่อ ทัศนคติ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และวัตถุนิยม ซึ่งมีค่าเบต้าตามลาดับ คือ .22,.20,.19,.15,.13,-.09 และ 4) สามารถทานายพฤติกรรม การใช้ชีวิตพอเพียงได้ 36.10% โดยมีลาดับตัวทานายที่สาคัญ คือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง การเห็นแบบอย่างจากสื่อ ทัศนคติ วัตถุนิยม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งมีค่าเบต้าตามลาดับ คือ .23,.21,.17,-.15,.10,.10 นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ของตัวแปรต่างๆ ภายในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า ตัวแปรพฤติกรรมการดารงชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับอิทธิพลทางตรง จากตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ โดยค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.657 ตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรจิตลักษณะเดิม และตัวแปรสถานการณ์ โดยค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.693 และตัวแปรสถานการณ์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรจิตลักษณะเดิม โดยค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.423คำสำคัญ: จิตลักษณะ, สถานการณ์, พฤติกรรม, เศรษฐกิจพอเพียง, เยาวชนไทย<br><br>The changes in current society affect Thai youths’ living behaviors under the Sufficiency Economy Philosophy that leads them to being good, smart, and happy people in the future. This research had two objectives: 1) to develop a tool for measuring Thai youths’ living behaviors according to the Sufficiency Economy Philosophy, and 2) to study the antecedents of the psychological and situational factors of living behaviors related to the Sufficiency Economy Philosophy in Thai youths. This quantitative research was in a form of the correlational and comparative study. The multistage quota random sampling was used to recruit 800 Thai youths for the 1st research objective analysis, and another 800 youths for the 2nd research objective analysis.In the study, two key results were derived. The first key result was from the test of the living behaviors under the Sufficiency Economy Philosophy with the measurement of 4 sub-tests: 1) volunteer behaviors with 3 factors in development of community collaboration, public sacrifice, and helping other people; 2) cultural inheritance behaviors with 3 factors in being the Buddhists, popularity of Thai products, and social propriety; 3) environment protection behaviors with 4 factors in activity participation for environmental conservation, environmental destruction, reduction of environmental destruction, and water-saving; and 4) sufficient living behaviors with 3 factors in encouragement for saving, sufficiency, and extravagant spending. According to the 4 sub-test results, the variances were explained at 64.33%, 63.72%, 63.99%, and 60.06% respectively. Moreover, in the confirmatory factor analysis, all sub-test results revealed the congruence of the model and the empirical data.(10)The second key result was from the multiple analysis which showed the predictability on 11 variables of psychological traits, situations, and psychological states. 1) Volunteering behaviors was predictable at 45.90% with 6 key predictors in a descending order of the beta coefficients: role models from people (? =.31), role models from media (? =.23), need for achievement (? =.19), attitudes (? =.13), future orientation and self-control (? =.11), and psychological immunity (? =.07). 2) Cultural inheritance behaviors was predictable at 32.80% with 8 key predictors in a descending order of the beta coefficients: role models from people (? =.25), role models from media (? =.19), attitudes (? =.13), future orientation and self-control (? =.10), internal locus of control (? =.10), need for achievement (? =-.10), core self-evaluation (? =.09), and psychological immunity (? =-.07). 3) Environmental protection behaviors was predictable at 40.88% with 6 key predictors in a descending order of the beta coefficients: roles models from media (? =.22), attitudes (? =.20), roles models from people (? =.19), need for achievement (? =.15), future orientation and self-control (? =.13), and materialism (? =.09). And 4) sufficient living behaviors was predictable at 36.10% with 6 key predictors in a descending order of the beta coefficients: roles models from people (? =.23), roles models from media (? =.21), attitudes (? =.17), materialism (? =-.15), future orientation and self-control (? =.13), materialism (? =.09), future orientation and self-control (? =.10), and need for achievement (? =.10).In addition, the path analysis revealed direct effect (DE), indirect effect (IE), and total effect (TE) of the variables in the casual relationship model. The variable of living behaviors under the Sufficiency Economy Philosophy was directly influenced by the variable of psychological states at the predictive coefficient (R2) of 0.657. The variable of psychological states was directly influenced by the variables of psychological traits and situations at the predictive coefficient (R2) of 0.693. Finally, the variable of situations was directly influenced by the variable of psychological traits at the predictive coefficient (R2) of 0.423.Keywords: Psychological Factors, Situations, Behaviors, Sufficiency Economy, Thai Youth

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ