Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ข้อเสนอการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยแผนง...

TNRR

Description
แผนงานวิจัยท้าทายไทย : เรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง (ปีที่ 2) ประกอบด้วยโครงการวิจัย 13 เรื่อง ผลงานวิจัยสามารถตอบโจทย์ในการลดความรุนแรง ดังนี้ 1) สร้างตัวชี้วัดความรุนแรงและจัดทำฐานข้อมูลความรุนแรงในสังคมไทย ประกอบด้วย การสร้างฐานข้อมูลความรุนแรง การสร้างตัวชี้วัดความรุนแรงและการจัดทำแผนที่ความรุนแรงของประเทศไทยเป็นรายจังหวัดเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม 2) การสร้างมาตรการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดความรุนแรงในสังคมไทย ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายควบคุมการใช้อาวุธปืน สื่อสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันลดความรุนแรงในสังคมไทย และทุกโครงการวิจัยร่วมมือกับหน่วยงานภาคปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง3) การสร้างเครื่องมือรวมทั้งการผลักดันให้มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันและลดความรุนแรงในสังคมไทย ประกอบด้วย การสร้างหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 : การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงยุติธรรม โดยผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ การสร้างโปรแกรมป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังมิให้ก่ออาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรงและนำไปใช้สำหรับบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังที่ใช้ความรุนแรงไม่ให้กระทำผิดซ้ำ การป้องกันกระบวนการบ่มเพาะความรุนแรงและการแสวงหาสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มก่อความไม่สงบด้วยการถอดบทเรียนและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการป้องกันการก่อความไม่สงบและการก่อการร้าย รวมทั้งการสร้างแนวทางการเคารพต่อสตรี RESPECT ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติในการลดความรุนแรงต่อสตรี และร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) 4) การนำแนวทางปฏิบัติที่ดี (best practice) ในการป้องกันและแก้ไขความรุนแรงไปปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยการขับเคลื่อนโปรแกรมในการป้องกันการฆ่าตัวตายไปใช้ในพื้นที่นำร่อง 6 จังหวัด การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในระดับตำบล (ศปก.ต.) การสร้างสถานศึกษาต้นแบบสานพลังความร่วมมือยุติการใช้ความรุนแรงของนักเรียนนักศึกษาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 9 แห่ง โดยการสร้างเครือข่ายข้อมูลและเครือข่ายทางสังคมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ การป้องกันการกลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโดยการสร้างการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วนในโรงเรียน การป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็กปฐมวัยด้วยการใช้หลักธรรมมะทางพุทธศาสนาผ่านกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสติในการดำเนินชีวิต การร่วมผลิตสื่อสร้างสรรค์และผลิตหลักสูตรสื่อสร้างสรรคจากทุกภาคส่วนในการลดความรุนแรง การถอดโมเดลและร่วมสร้างเมืองน่านที่ปลอดจากอาชญากรรมที่อย่างยั่งยืน และการป้องกันการใช้ความรุนแรงต่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยงด้วยการดึงความดีออกจากใจในพื้นที่ตำบลสะอาด จ.ขอนแก่น ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบายวาระเร่งด่วนแห่งชาติในการลดความรุนแรง การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง การสร้างการเคารพต่อความเท่าเทียมกันของสตรี (Respect) เพื่อลดความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว การส่งเสริมการเข้าถึงหลักธรรมของศาสนาให้แก่เด็กปฐมวัยและประชาชน การพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชนด้วยการดึงความดีออกจากใจและจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ การสร้างพื้นที่หรือเมืองต้นแบบไร้ความรุนแรง การส่งเสริมการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในชุมชน และการใช้โปรแกรมในการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้ที่ใช้ความรุนแรงสังคมไทย การส่งเสริมเครือข่ายควบคุมอาวุธปืน เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมคำสำคัญ : ความรุนแรง ปัญหาสังคม อาชญากรรม<br><br>The Research Program Thai Challenges: A non-violent Thai society (Year 2) comprises 13 research projects which can provide answers to reducing violence in society, as follows; 1) Creating indicators for the measurement of violence and creation of a database to track violence in Thai society, including; the creation of a violence database, creation of indicators to measure violence levels, and creation of a violence map of Thailand by the province to guide the development of policies and measures for the prevention and resolution of the problem of violence in society2) Creation of cooperative partnerships between networks and relevant agencies involved in violence reduction in Thai society, including; gun control networks, creative media promoting violence reduction in Thai society from all sectors, and joint research projects with operative agencies in preventing and resolving problems relating to violence3) Creation of tools and advocacy for the formulation of policies and measures for the prevention and reduction of violence in Thai society comprising; the formulation of arbitration programs under the Arbitration Act 2019 (B.E. 2562), Arbitration and conflict management under a framework of restorative justice certified by the Ministry of Justice, with participants utilizing their training to implement restorative justice measures in practice, the creation of programs to prevent recidivism, particularly reoffending in violent crimes, and utilizing such measures for the rehabilitation of persons convicted of violent crimes to prevent recidivism. Other goals include the prevention of radicalization and recruitment by extremist and terrorist groups in partnership with relevant agencies for the proposal of policies and measures for the prevention of terrorism, including creating guidelines under the international standards of the RESPECT campaign in line with WHO and UN measures to reduce violence against women and working in cooperation with the Ministry of Social Development and Human Security to create the 5-Year Plan for the Prevention and Resolution of Violence against Children, Women and Family members (2023- 2027; B.E. 2566 - 2570 )4) Incorporation of best practices in the prevention and resolution of violence for use and implementation in conjunction with relevant agencies, such as; the promotion of pilot suicide prevention program in six provinces, the all-party program for the prevention and resolution of domestic violence via the establishment of sub-district operational centers for the prevention of violence, the establishment of nine model educational institutions for the prevention of violence in the Greater Bangkok Area which create information and social networks through meaningful activities, the prevention of bullying within primary and secondary schools such as via awareness raising, the prevention of violence in young children through the incorporation of the principles of Dhamma into the learning process to encourage mindfulness, the production of creative media and courses on creative media from all sectors to reduce violence. Examples that could be used as a model include the program to create a sustainably crime-free city in Nan, and the prevention of violence toward vulnerable youths in Khon Kaen. Major recommendations of the study are; the designation of the issue of violence reduction as a national priority at the policy level, the creation of a mega database on violence, the promotion of gender equality and respect to reduce violence against women and domestic violence, the promotion of religious values to young children and the wider public, the development of life skills in children and youth through promotion of good values and creative activities, the establishment of violence-free model areas or cities, the promotion of restorative justice in communities and the use of rehabilitation programs to treat offenders in Thai society, the creation of gun control networks, creative networks, as well as the promotion of participation from all sectors in the prevention and resolution of violence in society.Key Words: Violence, Social Problems, Crime

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ