Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การบริหารจัดการภัยแล้งและการพัฒนาศักยภาพชุมชนเข้มแ...

TNRR

Description
บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง:การบริหารจัดการภัยแล้งและการพัฒนาศักยภาพชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรมงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) บริหารจัดการการถ่ายทอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ของชุมชนเชิงพื้นที่๒) บริหารจัดการน้ำตามศักยภาพน้ำต้นทุนในชุมชน และ ๓) พัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมชุมชนเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการใน ๓ พื้นที่คือ ๑) บ้านตามา บ้านสุขวัฒนา บ้านสุขสำราญ ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ๒)บ้านเหล่าหมีบ้านนายอ บ้านนาซิงศรีสมบูรณ์ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และ ๓) บ้านปากเหมืองบ้านเหนือ บ้านฟากบึง ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร ๕,๗๑๗ คนเก็บรวบรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี ประกอบด้วย ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เพื่อประเมินระดับความเชื่อมั่นของชุมชน ระดับการอยู่ดีมีสุข และการประกอบอาชีพและรายได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๑๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย; ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม จำนวน ๔ ครั้ง คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง สำหรับการสัมภาษณ์ จำนวน ๑๖ คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ๓ ครั้ง และการถอดบทเรียน ๓ พื้นที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท การวิเคราะห์แบบอุปนัย สถิติแบบพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการวิจัย พบว่า ๑) พื้นที่เป้าหมายมีความพร้อมของสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค และการสนับสนุนของส่วนราชการ ยกเว้นพื้นที่เป้าหมายจังหวัดบุรีรัมย์ที่ไม่พร้อมการใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์บางส่วน ความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า คะแนนเฉลี่ยทุน ๕ ด้านโดยรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย ๒.๐๓ ความเข้มแข็ง ระดับน้อย พิจารณารายด้าน พบว่า ทุนด้านทรัพยากรมนุษย์มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ๓.๕๘ ความเข้มแข็งระดับมาก รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรม ค่าคะแนนเฉลี่ย ๒.๓๓ ความเข้มแข็งระดับปานกลาง และด้านองค์ความรู้ ค่าคะแนนเฉลี่ย ๒.๐๘ ความเข้มแข็งระดับปานกลาง ตามลำดับ ด้านที่คะแนนน้อยที่สุดคือ นวัตกรรมเดิมของชุมชน ค่าคะแนนเฉลี่ย ๐.๘๓ ความเข้มแข็งระดับน้อยที่สุด ผลสัมฤทธิ์ของพื้นที่เป้าหมาย ระดับดีมาก ๒ โครงการ คือโครงการจังหวัดมุกดาหารและอุตรดิตถ์ และระดับดี ๑ โครงการ คือโครงการจังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยละค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๘.๓๓ ๒) ระดับพฤติกรรมความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวม ๔.๑๗ คะแนน ความพึงพอใจระดับมาก เมื่อพิจารณารายพฤติกรรม พบว่า มีการแสดงออกถึงการรับรู้/การเรียนรู้มากที่สุด ๕ คะแนน ความพึงพอใจระดับมาก รองลงมาคือ มีการร่วมอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น ๔.๕ คะแนน ความพึงพอใจระดับมาก น้อยที่สุดคือ การรักษาเวลา/การตรงต่อเวลา ๓.๒๕ คะแนน ความพึงพอใจระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย ๔๕ ปี เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่คือ เห็นประโยชน์ร่วมกันกับชุมชน ระดับความเชื่อมั่นในภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๔๗ ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เชื่อมั่นว่าโครงการสามารถลดความเสี่ยงการเกิดภัยแล้งในพื้นที่ มีค่าคะแนนสูงที่สุดที่ ๔.๒๔ ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีการใช้อำนาจในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และสามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ค่าคะแนน ๓.๗๓ ระดับมาก และโครงการนี้สามารถตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการของชุมชน ค่าคะแนน ๓.๖๖ ระดับมาก น้อยที่สุดคือ ไม่มั่นใจว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากองค์ความรู้ในครั้งนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ค่าคะแนน ๒.๖๑ ความเชื่อมั่นระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลจังหวัดมุกดาหาร พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย ๔๕ ปี เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ คือ อยากสร้างรายได้เพิ่ม ระดับความเชื่อมั่นในภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๔๘ ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เชื่อมั่นว่าโครงการนี้สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภัยแล้งในพื้นที่ มีค่าคะแนนสูงที่สุดที่ ๔.๐๗ ระดับมาก รองลงมาคือ เชื่อว่าการดำเนินโครงการมีกระบวนการทำงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบได้ ค่าคะแนน ๔.๐๑ ระดับมาก และผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีการใช้อำนาจในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและสามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ค่าคะแนน ๓.๙๘ ระดับมาก น้อยที่สุดคือ ไม่แน่ใจว่าการบริหารจัดการภายหลังโครงการแล้วเสร็จจะมีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน ค่าคะแนน ๒.๔๔ ความเชื่อมั่นระดับค่อนข้างน้อย ปัจจัยส่วนบุคคลจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายอายุเฉลี่ย ๓๔ ปี เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ คือ เห็นประโยชน์ร่วมกันกับชุมชน ระดับความเชื่อมั่นในภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๖๒ ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เชื่อมั่นว่าโครงการนี้สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภัยแล้งในพื้นที่ มีค่าคะแนนสูงที่สุดที่ ๔.๐๙ ระดับมาก รองลงมาคือ โครงการนี้สามารถตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการของชุมชน ค่าคะแนน ๓.๗๘ ระดับมาก และเชื่อว่าการดำเนินโครงการมีกระบวนการทำงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบได้ ค่าคะแนน ๓.๗๔ ระดับมาก น้อยที่สุดคือ ไม่แน่ใจว่าการบริหารจัดการภายหลังโครงการแล้วเสร็จจะมีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน ค่าคะแนน ๓.๐๐ ความเชื่อมั่นระดับปานกลาง ๓) ระดับการอยู่ดีมีสุขพบว่าชุมชนเป้าหมายจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๔๗ เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นอยู่ พบว่า ค่าคะแนนสูงที่สุดคือ ชีวิตประจำวันของท่านเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าเบื่อ (แปลว่าชีวิตไม่น่าเบื่อ) ค่าคะแนน ๔.๔๔ อยู่ดีมีสุขระดับมาก รองลงมาคือ ทุกเช้าที่ท่านตื่นขึ้นมารู้สึกว่าพร้อมสำหรับการทำงาน ค่าคะแนน ๔.๓๒ อยู่ดีมีสุขระดับมาก และท่านรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ท่านมีในปัจจุบันค่าคะแนน ๔.๒๙ อยู่ดีมีสุขระดับมาก ตามลำดับ น้อยที่สุดคือ ท่านไม่มีหนี้สิน ค่าคะแนน ๒.๐๓ อยู่ดีมีสุขระดับค่อนข้างน้อย ระดับการอยู่ดีมีสุขของชุมชนเป้าหมายจังหวัดมุกดาหาร อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๓๖ เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นอยู่ พบว่า ค่าคะแนนสูงที่สุดคือ ท่านมีอาหารการกินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ค่าคะแนน ๔.๓๓ อยู่ดีมีสุขระดับมาก รองลงมาคือ ท่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ค่าคะแนน ๔.๓๒ อยู่ดีมีสุขระดับมาก และทุกเช้าที่ท่านตื่นขึ้นมารู้สึกว่าพร้อมสำหรับการทำงาน ค่าคะแนน ๔.๐๔ อยู่ดีมีสุขระดับมาก ตามลำดับ น้อยที่สุดคือ ชุมชนของท่านมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่าคะแนน ๑.๘๔ อยู่ดีมีสุขระดับค่อนข้างน้อย ระดับการอยู่ดีมีสุขของชุมชนเป้าหมายจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย ๓.๒๔ เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นอยู่ พบว่า ค่าคะแนนสูงที่สุดคือ ท่านมีอาหารการกินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ค่าคะแนน ๔.๑๖ อยู่ดีมีสุขระดับมาก รองลงมาคือ ชุมชนของท่านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ค่าคะแนน ๓.๘๖ อยู่ดีมีสุขระดับมาก และงานที่ท่านทำประสบความสำเร็จ ค่าคะแนน ๓.๗๔ อยู่ดีมีสุขระดับมาก ตามลำดับ น้อยที่สุดคือ ชุมชนของท่านมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่าคะแนน ๑.๘๒ อยู่ดีมีสุขระดับค่อนข้างน้อย การประกอบอาชีพและรายได้ พบว่า ชุมชนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดบุรีรัมย์ มีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ – ๑๕๐,๐๐๐ บาท/ปี มากที่สุด มีการเก็บออมเงินร้อยละ ๕๕.๗๑ เฉลี่ย ๑๐,๖๐๐ บาท/ปี/ครัวเรือน ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๔๓ เฉลี่ย ๓๓,๓๐๐ บาท/ปี/ครัวเรือน ลดรายจ่ายได้ร้อยละ ๕ คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย ๑๑,๗๐๐ บาท/ปี/ครัวเรือน มีคุณภาพชีวิตเท่าเดิมร้อยละ ๙๖.๔๓ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นเพียงร้อยละ ๓.๕๗ ชุมชนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดมุกดาหาร มีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือนมากกว่า ๕๐,๐๐๐–๑๕๐,๐๐๐ บาท/ปี มากที่สุด มีการเก็บออมเงิน มากถึงร้อยละ ๗๔.๘๑ เฉลี่ย ๗๘,๐๙๕ บาท/ปี/ครัวเรือน ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ ๙๔.๘๑ เฉลี่ย ๒,๔๓๙ บาท/ปี/ครัวเรือน ลดรายจ่ายได้มากถึงร้อยละ ๙๗.๗๘ คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย ๒,๕๗๕ บาท/ปี/ครัวเรือน และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมากถึงร้อยละ ๙๘.๕๒ ชุมชนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดอุตรดิตถ์ มีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ – ๑๕๐,๐๐๐ บาท มากที่สุด มีการเก็บออมเงินมากถึงร้อยละ ๗๖.๔๗ เฉลี่ย ๖๐,๙๔๗.๒๖ บาท/ปี/ครัวเรือน ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ ๙๔.๑๑ เฉลี่ย ๒,๔๓๙ บาท/ปี/ครัวเรือน ลดรายจ่ายได้มากถึงร้อยละ ร้อยละ ๙๖.๓๒ คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย ๒,๔๓๕ บาท/ปี/ครัวเรือน และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมากถึงร้อยละ๙๗.๐๕ ปัจจัยความสำเร็จ คือ ๑) ความชัดเจนของข้อมูลบริบทพื้นที่ ผู้นำชุมชน และเส้นเชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมกับบริบทพื้นที่ ๒) ความเพียงพอของกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคณะทำงาน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ๓) ความกระจ่างในวิถีปฏิบัติของชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ระบบความคิดของชุมชน ความเข้าใจโครงการ และความเข้าใจนวัตกรรม คำสำคัญ:การบริหารจัดการ, ภัยแล้ง, ชุมชนเข้มแข็ง, ยั่งยืน, วิจัย,นวัตกรรม<br><br>Research Title:Drought Management and Sustainable Community Development through Research and Innovation Objectives:To analyze 1) Management oftransferringthe innovations and innovations to local communities;2) Management of water according to the communitypotential; 3) Development of careers and products by community innovation. Methods:This study was Action Research utilizing mixed methods of quantitative and qualitativeapproaches.A sample size of 411 was selected by Cluster Samplingfrom a populationof 5,717in 3 target areas: 1) Baan Tama, Baan Suk Watthana, Baan Suk Samran, Chum Saeng Subdistrict Satueuk District Buriram Province 2) Baan Lao Mee, Baan NaiAor, Baan Na Sing Si Somboon, Lao Mi Subdistrict Don Tan District Mukdahan Province and 3) Ban Pak Mueang, Ban Nuea, Ban Fak Bueng, Na InSubdistrict Pichai District Uttaradit Province. Data were collected using questionnaires, and analyzed descriptively for frequency, percentages, and mean. The study participants included 4 non-participant observations of 146 participants, an interview of 16 key informants, 3 focus group discussions of 52 participants,and 3 after-action reviewsof 110 participantsselected purposively. Data were analyzed by using context content analysis, inductive analysis, and descriptive statistics. Results: The main findings of the study include: 1)Readiness:The target areaswere ready for the project except for Buriram province fromsome public areas.The community strengthening average score of2.03 was at a low level, the human resource meansa score of 3.58at a high level, the cultural mean score of2.33 at a moderate level, the cognitive mean score of 2.08 at a moderate level, and the community original innovation average score was0.83 at the lowest level. The strengthening of Mukdahan and Uttaradit provinces wasat a very good level and Buriram was at a good level. The average result was ata very good level (88.33 %). 2) Satisfaction:Behavior observation average score of 4.17was at a high level, and perception/learning (with 5 points), awareness expression/learning (5 points),discussion (4.5 points)all were at a high level; and Timekeeping/Punctuality (3.25 points) was at a moderate level. Personal factors and confidence: Buriram province sample had more females than males, with an average age of 45 years, and the reason for the participants to join the project wasfor community benefits. The average score of confidence at 3.47was at a high level,and similarly, can reduce the risk of drought at 4.24, the local community leaders work appropriately, fairly, without discrimination and can clarify when in doubt at 3.73and respond toexpectations/needs of the communityat 3.66 were all at a high level. The lowest score of 2.61 for won’t be able to generate an income was at a moderate level. In the Mukdahan Province, sample femaleswere more than males, with an average age of 45 years, and the reason to join the project was more income. The average score of confidence at 3.48 was a high level, and similarly,can reduce the risk of drought at 4.07,transparency and verifiable at 4.01, the local community leaders work appropriately, fairly, without discrimination, and can clarify when in doubtat a score of 3.98 were all at a high level.The lowest score of 2.44 forthe standard of management and operational processes after the project was at a low level. Uttaradit Province sample wasfemalesmore than males, with an average age of 34 years, and the reason to join the project was community benefits. The average score of confidence at3.62was at a high level,and similarly, can reduce the risk of drought at 4.09,responding to expectations/needs of the community at 3.78 at a high level,transparency and verifiable at 4.01 all were at a high level. The lowest score of 3.00was a low level for the standard of management and operational processes after the project. 3) Well–being: Buriram Province well–being average score of3.47, both wereat a moderate level, and similarly, not boringdaily life at 4.44, Ready for work every morningat 4.32, andSatisfaction with what you have at4.29 were all at a high level.The lowest score without depth was 2.03. Mukdahan Provincesaverage score of 3.36was at a moderate level,with enough food for living at 4.33, healthy at 4.32, andnot boring daily life at 4.04 allat a high level.The lowest score wasusing chemicals for cultivationwas1.84. Uttaradit Provinces average score of3.24wasof moderate level, and enough food for living at 4.16,supporting within the communityat 3.86 wasa high level, and successfulscore at 1.82 was of low level.The lowest score wasfor using chemicals for cultivation 1.82 at a low level. Occupation and income: Buriram Provinces average income/household was 50,000 – 150,000 baht/year, with a savings (55.71%) ofan average of 10,600 baht/year/household.After joining the project Income was increased (6.43%)averaging33,300baht/year/per household. Reduced expenses (5%) with an average amount of 11,700 baht/year/household. The quality of life was the same (96.43%) and improved (3.57%).Mukdahan Provincesaverage income/household was 50,000 – 150,000 baht/year,mostly savings (71.81%),anaverage of 78,095 baht /year/ household.After joining the projected Income increased (94.81%)with an average of2,439 baht/year/household.Reduced expenses (97.78%) with an average of 2,575 baht/year/household.The quality of life improved (98.52%);Uttaradit Provinceaverage income/household was 50,000 – 150,000 baht/year,mostly was savings (76.47%),average 60,947.26 baht/year/household.After joining the project, Income increased (94.11%) with an average of 2,439 baht/year/household. Reduced expenses (97.78%) with an average of 2,435 baht /year/household.The quality of life improved (97.05%). Key Success Factors: 1) clarity of context, community leader and linkage between innovation and context 2) Adequacy of the process; creating participation, among working groups, communities, and related agencies 3) Clarification; of community practices both past and present, community thinking system,project data, and innovation.Keywords:Community Development,Drought, Innovation,Management, Research Sustainable

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ