Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่รา...

TNRR

Description
การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูง หาน้ำให้นาอินด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมต้นแบบด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนโดย การจัดการนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ในการนำเทคโนโลยีแบบชุมชนพึ่งพาตนเองซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ตำบล นาอิน ที่ประสบปัญหาภัยแล้งในการสูบน้ำมาใช้ในการเกษตร ซึ่งมีปัญหาในการทำการเกษตรนอกฤดูกาลไม่ได้เพราะแหล่งน้ำที่สามารถกักเก็บไว้ใช้ในการเพาะปลูกนอกฤดูกาลได้ปัญหาในการนำแหล่งน้ำมาใช้เพราะปลูก จึงมีการนำแนวทางการใช้ระบบสูบน้ำด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูงให้และขับเคลื่อนโดยกระบวนการ นวัตกรช่างชุมชน โดยผ่าน 7 ขั้นตอน ของการสร้างนวัตกรชุมชน DAP-EDWARD Modelให้เหมาะสมกับการกระบวนการทำงานในพื้นที่เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างมีระบบและมีส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี KM: ภาคปฏิบัติชุมชน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ชนบท หรือระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และจึงเป็นการแก้ปัญหาสำคัญที่สุดของตำบลนาอิน เพราะอาชีพในการท้าไร่ ทำนา ทำการเกษตร นั้นถือว่าเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนได้อยู่ดีกินดีแลจะเป็นกระบวน การนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) มาประยุกต์ใช้กับระบบปั๊มชักสูบน้ำด้วย มอเตอร์มาสูบน้ำเข้าสวนไร่นา ทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มน้ำแบบเดิมที่ใช่กันอยู่ทั่วไป แต่เนื่องจากเกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องปั๊มน้ำที่ใช้สูบน้ำใช้ไปยังพื้นที่ท้าการเกษตรบนพื้นที่สูง ดังนั้น การจัดการเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูงด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งเป็นการลดค่าใช้จ่าย จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และ สามารถจัดการให้ นวัตกรรมต้องอยู่คู่กับขุมชน<br><br>"Finding water for Na-in", the technologically innovative management of highland agriculture with a renewable energy pumping system to solve the drought problem, was action research which aimed to develop the learning center of an innovative prototype of a renewable energy pumping system with the adoption of innovative management to solve the drought problem through self-reliant community-based technology. The population used in the study were farmers in Na-in Subdistrict who experienced drought and had difficulty doing off-season farming because stored water sources could not be used. Therefore, the renewable energy pumping system as a technological innovation learning center for highland agriculture was adopted, and this was driven by the communal technician-innovator process through the 7 stages of the DAP-EDWARD communal innovator creation model, which suited the work process in the targeted areas to systematically solve drought problems with community involvement using a technology transfer process. This is an alternative for farmers in rural areas or without access to electricity to solve the most important problem in Na-in Subdistrict because farming is regarded as the primary occupation that generates income for people to live comfortably. Using solar-generated electricity to run motor pump systems to pump water into the farmland consumes less fuel oil and electricity when compared to traditional water pumps, which are normally used. However, the farmers lack knowledge and understanding of the pump used to pump water for highland agriculture. As a result, the management for being the learning center for technological innovation for highland agriculture with renewable energy pumping systems to solve drought problems is able to reduce costs. This is an alternative to systematically develop a community and is able to manage the innovation to be with the community.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ