Description
รหัสโครงการ: PHD61K00058 ชื่อโครงการ: ผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ๒๓๓ ต่อการเจ็บปวดเรื้อรังในแบบจำลองของโรคข้อต่อขากรรไกรที่เกิดขึ้นในสัตว์ทดลองชื่อนักวิจัย: นายณัฐพล โรจน์เพ็ญเพียร รศ.ดร.นพ.นราวุฒิ ภาคาพรตระยะเวลาโครงการ: 4 ปีคำหลัก (key words) : โรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ/ อีซีเอ 233/ ใบบัวบก/ความเจ็บปวดเรื้อรัง บทคัดย่อใบบัวบกเป็นสมุนไพรทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดเรื้อรังที่มีความชุกสูงสุดคืออาการปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรังของโรคข้อต่อขากรรไกร พยาธิสรีรวิทยาของอาการปวดข้อต่อขากรรไกรเรื้อรังยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่ชัดเจนส่งผลให้มีการรักษายังไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของสารสกัดมาตรฐานใบบัวบัก (อีซีเอ 233) ในสัตว์ทดลองที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรเรื้อรัง โดยสัตว์ทดลองที่ใช้คือหนูเมาส์ที่กระตุ้นจากสารคอมพลีฟารัสหรือสารซีเอฟเอ ปริมาตร 10 ไมโครลิตร ความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร ฉีดเข้าไปบริเวณข้อต่อขากรรไกรด้านขวา การศึกษานี้แบ่งกลุ่มหนูทดลองออกเป็นหกกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มควบคุม, กลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกร, กลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับยาอิบูโพรเฟนขนาด 0.14 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว และ กลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับสารสกัดมาตรฐานใบบัวบกาขนาด 30, 100 และ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวทางปากวันละ 1 ครั้งจนครบ 28 วัน โดยการศึกษาพฤติกรรมความเจ็บปวดในสัตว์ทดลองใช้ตัวกระตุ้นต่างๆ ได้แก่ ลมอากาศ ขนาด 10 พีเอสไอ, วอนเฟรย์ ขนาด 0.04 กรัม และการทดสอบอะซิโตนเย็นในวันที่ 3, 7, 14, 21 และ 28 นอกจากนี้ในหนูทดลองแต่ละกลุ่มของช่วงเวลาต่างๆได้รับการศึกษาโครงสร้างและความหนาแน่นของกระดูกข้อต่อขากรรไกร รวมทั้งศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ความรู้สึกบริเวณใบหน้าและขากรรไกรได้แก่ ปมประสาทไทรเจลมินัล และนิวเคลียสของไทรเจลมินัสคอดัลิส ผลการศึกษาพบว่าหนูทดลองกลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับยาอิบูโพรเฟน และหนูกลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับสารสกัดมาตรฐานใบบัวบกขนาด 30 และ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวมีการลดอาการเจ็บปวดบริเวณใบหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 14 , 21 และ 28 ของข้างเดียวกับที่กระตุ้น และวันที่ 28 ในด้านตรงข้าม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหนูทดลองที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรด้วยสารซีเอฟซี อย่างไรก็ตามหนูกลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับสารสกัดมาตรฐานใบบัวบกขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวและกลุ่มอิบูโพรเฟน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและความหนาแน่นของกระดูกข้อต่อขากรรไกร นอกจากนี้หนูกลุ่มที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรร่วมกับสารสกัดมาตราฐานใบบัวบกขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว และกลุ่มอิบูโพรเฟน มีการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดลดลงในระบบประสาทรับรู้ความเจ็บปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในวันที่ 14 , 21 และ 28 ของข้างเดียวกับที่กระตุ้น และวันที่ 28 ในด้านตรงข้าม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหนูทดลองที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรด้วยสารซีเอฟซี ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ถือเป็นข้อมูลสนับสนุนเกี่ยวกับผลของสารสกัดมาตรฐานใบบัวบกลดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรเรื้อรังในระดับที่เหมาะสมต่อไป<br><br>Project Code: PHD61K0058 Project Title: Effects of standardized centella asiatica extract (Eca233) on chronic pain in the animal model of temporomandibular disordersInvestigators: Nattapon Rotpenpian Assoc.Prof.Dr.Narawut PakaprotProject Duration: 4 yearsKeywords: Chronic temporomandibular disorders/ ECa 233/ Centella asiatica/ Chronic pain AbstractThe Centella asiatica is a new candidate for an anti-nociception in the chronic pain. The chronic pain with the highest prevalence is orofacial pain, especially chronic temporomandibular disorder (TMD) pain. The pathophysiology of chronic TMD pain is still unclear, leading non-specific treatments. The present study aimed to investigate the therapeutic effects of ECa 233 – the standardized extract of C. asiatica – on chronic TMD pain induced by complete Freund’s adjuvant (CFA). The 10 ?l of 50% CFA was injected into the right temporomandibular joint (TMJ) of mice to produce chronic TMD pain. Ibuprofen (0.14g/kg) was applied as a positive control treatment. Different doses of ECa 233 (30, 100 and 300?mg/kg) were daily given orally for 28 days to study behavioral, structural and molecular effects. The mice were examined for pain hypersensitization by 10 psi air-puff, 0.04 g von Frey, and cold acetone tests at day 3, 7, 14, 21 and 28 after the CFA injection. The bone density and structure of bilateral TMJs of all mice were examined. Moreover, we investigated the trigeminal ganglia (TG) and trigeminal nucleus caudalis (TNC) by measuring the protein expressions of voltage gated sodium channel 1.7 (NaV1.7) and calcitonin gene related peptide (CGRP) at the TG and phospho-cAMP element binding protein (p-CREB), CGRP and microglia at the TNC. Results found that the mice receiving ibuprofen, and 30 and 100 mg/kg doses of ECa 233 showed significant reduction of pain hypersensitization on the ipsilateral side at day 14, 21, 28 and on the contralateral side at day 28 when compared to the CFA alone group. The bone densities at TMJ of the ibuprofen and 100 mg/kg ECa 233 groups were not changed. Moreover, the levels of NaV1.7, CGRP, microglia and p-CREB from the 100 mg/kg ECa 233 and ibuprofen groups had significantly declined on the ipsilateral side at day 14, 21, 28 and on the contralateral side at day 28 when compared to other groups. Findings support the beneficial effects of C. asiatica on anti-nociception in the chronic TMD pain within a specific therapeutic dose.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read