Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการงบปร...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำต้นแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกลางเพื่อการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ คาดหวังการยกระดับประสิทธิภาพ และธรรมาภิบาล ของการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่ ด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งนำระบบ Mobile Application ที่รองรับการพัฒนาระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ จากการศึกษาวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์จากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย พบว่าการปฏิบัติงานในปัจจุบันมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ดังนี้1. การบริหารงบประมาณของส่วนราชการในพื้นที่ขาดเอกภาพ และขาดข้อมูลภายใต้ความหลากหลายของแหล่งเงิน ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลในภาพรวมได้ 2. ภาระงานที่เกิดตามนโยบายของส่วนกลาง มีเป็นจำนวนมาก ในช่วงระยะเวลาสั้น ไม่สามารถวางแผนบริหารจัดการได้ทัน จึงยากต่อการกำกับ ดูแล และติดตามโครงการ3. ข้อจำกัดด้านการเพิ่มจำนวนบุคลากรประจำ และทักษะความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการในภาพรวม4. ไม่มีระบบบริหารจัดการข้อมูลงบประมาณ ทำให้การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณทำได้ในขอบเขตที่จำกัด และไม่เป็นปัจจุบัน 5. ช่องทางของการมีส่วนร่วมด้วยวิธึกระจายเสียงและการประชุมตัวแทน ทำให้ไม่ครอบคลุมต่อกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีความสะดวก ไม่ทันกับยุคของสังคมที่เปลี่ยนไป มีความสิ้นเปลืองเกินกว่าจำเป็นผลการวิจัยโครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่ เป็นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติโดยบูรณาการขั้นตอน และกระบวนงานการบริหารจัดการงบประมาณ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่ถือปฏิบัติ ช่วยลดภาระงานและความผิดพลาดในการจัดทำเอกสารและข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ รองรับการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ โดยไม่กระทบกับการปฏิบัติงานและระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผู้บริหารสามารถติดตามข้อมูลในภาพสรุป (Dashboard) และสามารถ drill down ในรายละเอียดได้ พร้อมกับการพัฒนาช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ ในการนำระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่ มาทดสอบกับส่วนราชการในพื้นที่เป้าหมายคือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครนายก ได้รับผลการประเมินจากผู้เข้าร่วมทดสอบจาก 202 หน่วยงาน จำนวน 513 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านงบประมาณ ด้านการเงิน/บัญชี และด้านพัสดุ ในหัวข้อการประเมิน 6 หัวข้อ โดยผลการประเมินส่วนใหญ่ให้ความเห็นต่อการใช้งานระบบไปในเชิงที่สามารถนำระบบฯ มาทดแทนวิธีปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้ ปรากฏรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ ระดับปานกลาง ระดับมาก ร้อยละ ร้อยละข้อ 1 ความเข้าใจระบบบริหารจัดการงบประมาณเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้น 49 46ข้อ 2 ระบบฯ ครอบคลุมขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ครบถ้วน 40 56ข้อ 3 การปฏิบัติงานภายใต้ระบบฯ มีความสะดวก 32 66ข้อ 4 ระบบฯ สามารถทดแทนการปฏิบัติงานได้ 36 60ข้อ 5 ระบบฯ สามารถลดการใช้ทรัพยากร (เวลา ค่าใช้จ่าย) ได้ 30 67ข้อ 6 ระบบฯ ช่วยขับเคลื่อนการให้บริการสาธารณะได้ 37 60*มาก: ผู้เข้าร่วมทดสอบได้รับข้อมูล พึงพอใจ เข้าใจ เห็นประโยชน์ ในระดับสูง*ปานกลาง: ผู้เข้าร่วมทดสอบได้รับข้อมูล พึงพอใจ เข้าใจ เห็นประโยชน์ ในระดับพอใช้ อนึ่ง คณะวิจัยมีความเห็นเพิ่มเติมในการนำระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่ ไปขยายผลในจังหวัดอื่น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ คือ1. การสั่งการในระดับนโยบาย เพื่อการใช้งานระบบฯ ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของหน่วยงานกลางอื่น2. กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพในการขยายผลและบริหารจัดการระบบฯ3. กำหนดแผนปฏิบัติงาน งบประมาณ เพื่อรองรับการขยายผล4. ทบทวนกฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับการนำระบบฯ มาใช้5. เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการภาครัฐกับหน่วยงานพื้นที่ เช่นการรับรู้ด้านนโยบาย ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6. สนับสนุนบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นในปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสม<br><br>This research aims to prototyping a central information technology system model for Area Based budget management. Driving the national strategy and expect a performance to upgrade a good governance of Area Based budget management with a current information. Also link to the information of other information technology systems that are currently in use together as well as bringing a Mobile Application system that supports to the participation budget from people in the area.From analytical studies information collected data from documents and interviews with operators in the target area. It was found that the current officer operation has limitations in various aspects as follows:1. Budget management of government agencies in areas are lacking unity and information under a variety of finance sources making unable to supervise as a whole picture.2. Workload arising from the central policy is to many for a short period of time. Government agencies unable to plan and management in time. Therefore, it difficult to supervise and monitor the project to achieve the objective and goal.3. Restrictions on increasing the number of permanence employment and a limit of build up the management knowledge and understanding skills in overall.4. There has no budget management tools. This makes budget expenditure audits possible in a limited scope and not in current.5. Channels of participation through broadcasting methods and representative meetings causing it to not cover the target group, no convenience and not to keeping up with the changing social era, It more wastage than necessary.The research results of this pilot project for Area Based budget management is an innovation in information technology to driving the national strategy by integrating the step and budget management procedures under applicable laws and regulations. Reduces the workload and errors in documenting and information management. Support to link up the information systems of various departments without affecting current operations and systems. Executives can follow and retrieve the information in summary (Dashboard) and able to drill down in detail information, along with the development of channels to increase opportunities for peoples participation in the performance of government agencies.In applying the pilot testing of the system for spatial budget management with government agencies in the target area in Chiang Mai and Nakhon Nayok province. Received the evaluation results from the test participants 202 agencies from 513 people who perform in the budget duties, finance, accounting and purchasing duties in 6 assessment topics that related to a possibility to replace the current working methods. The details appear as follows:Topics Medium Very percentage percentagearticle 1. Increased understanding of the spatial budget management system. 49 46article 2. The system covers all operational procedures. 40 56article 3. Operations under the system are convenient. 32 66article 4. The system can replace the current operation. 36 60article 5. The system can reduce the use of resources (time, expenses). 30 67article 6. The system can help drive public service. 37 60*Very: Participants received a high level of information, satisfaction, understanding, and benefit.*Medium: Participants received information, were satisfied, understood, benefits at a fair level.In additional, the research team has additional opinions on the use of technology systems for spatial budget management when expand the results in another provinces. It is necessary to prepare in various fields, as:1. Command order at the policy level for to use of the system as well as linking data with other central agencies systems.2. Determine the response host agency to expand and systems management.3. Determine implementation plans operation plans and preparing budgets to support the expansion.4. Review the laws, regulations, guidelines of various agencies in accordance with the implementation of the system if needed.5. Strengthen government administration and area agencies such as awareness of policies, regulations, relevant laws.6. Support the necessary resource and equipment in quantity with suitable quality.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ