Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ยางพาราผงละเอียดยิ่งยวดที่ถูกปรับปรุงสมบัติด้วยกรา...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาอนุภาคยางพาราผงละเอียดยิ่งยวดที่ถูกวัลคาไนซ์อย่างสมบูรณ์ด้วยการกราฟต์โคพอลิเมอร์ไรเซชั่นสไตรีนอะคริโลไนไตล์ลงบนน้ำยางธรรมชาติผ่านกระบวนการอิมัลชั่นพอลิเมอร์ไรเซชั่นโดยใช้ตัวริเริ่มปฏิกิริยาชนิดรีดอกซ์ได้แก่ เทอร์-บิวทิลไฮโดรเปอร์ออกไซด์ และเตตตระเอทิลีนเพนทามีน เมื่อเพิ่มปริมาณอัตราส่วนการเติมสไตรีนมอนอเมอร์ที่ปริมาณการเติมมอนอเมอร์ทั้งหมด 5 ส่วนในร้อยส่วนของยาง โดยโครงสร้างทางเคมียางธรรมชาติกราฟต์โคพอลิเมอร์ไรเซชั่นสามารถตรวจสอบได้ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ ยางธรรมชาติกราฟต์โคพอลิเมอร์ไรเซชั่นที่ได้ถูกนำไปผ่านกระบวนการเชื่อมขวางด้วยลำอิเล็กตรอนร่วมกับการเติมสารช่วยให้เกิดการเชื่อมขวางชนิดไดไตรเมทิลลอลโพรเพน เตตระอะคริเลต จากนั้นจึงผ่านกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อผลิตเป็นอนุภาคยางผงธรรมชาติ ผลการทดลองพบว่า สัดส่วนการบวมตัวและความหนาแน่นในการเชื่อมขวางของอนุภาคยางธรรมชาติมีค่าลดลง ซึ่งส่งผลให้ค่าปริมาณเจล และน้ำหนักโมเลกุลของยางระหว่างการเชื่อมขวางมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการฉายลำอิเล็กตรอน อีกทั้งยังส่งผลต่อลักษณะเชิงสัณฐานวิทยาของอนุภาคยางผงถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการฉายลำอิเล็กตรอนถึง 300 กิโลเกรย์ และมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยค่อนข้างเล็กที่ประมาณ 3.56 ไมโครเมตร อีกทั้งการกราฟต์โคพอลิเมอร์ไรเซชั่นสไตรีนอะคริโลไนไตล์ลงบนน้ำยางธรรมชาติร่วมกับการฉายลำอิเล็กตรอนสามารถเพิ่มอุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนที่การสูญเสียน้ำหนักร้อยละ 5 ได้สูงถึง 350 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติมีค่าอุณหภูมิการสลายตัวสูงกว่าถึง 16 องศาเซลเซียส จึงมีคุณสมบัติเพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นสารตัวเติมในวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิท สำหรับประยุกต์ใช้เป็นผ้าเบรกรถยนต์ที่ปริมาณการเติมยางผงร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก แสดงค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่ใกล้เคียงกับวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทที่เติมอนุภาคยางผงสังเคราะห์ชนิดเอ็นบีอาร์ที่ปริมาณเท่ากัน อีกทั้งยังมีอัตราการสึกหรอที่ต่ำกว่าผ้าเบรกเชิงพาณิชย์<br><br>This research aims to modifying ultrafine fully vulcanized powdered natural rubber (UFPNR) prepared from modified natural rubber (NR) latex. The modified NR was prepared by emulsion graft-copolymerization with styrene (ST) and acrylonitrile (AN) monomers on to deproteinized natural rubber (DPNR) by using tert-butyl hydroperoxide (TBHPO) and tetraethylenepentamine (TEPA) as a redox initiator with ST weight ratio at monomer content 5 phr and the chemical structure was confirmed by FTIR spectra. The obtained NR graft copolymer was radiated by electron beam in the presence of DTMPTA as coagent followed by spray drying process to produce UFPNR. The results showed that swelling ratio and crosslink density of the natural rubber powders decreased which related with increasing of gel fraction and molecular weight between crosslink when electron beam radiation increased. The smooth surface and lower agglomerated with the particle size approximately 3.56 micron of modified UFPNR was obtained with an increment of radiation doses up to 300 kGy. The grafting and irradiation resulted in enhancement of degradation temperature at 5 % weight loss (Td5) of the modified UFPNR was rise to 350 ?C which 16 ?C improvement compared with virgin NR. The results revealed that thermal stability of the modified UFPNR is suitable for using as filler in friction polymer composite for brake pads. The results showed the similar friction coefficient and wear rate to those of the friction polymer composite filled with 4 % by weight of NBR rubber powders.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ