Notifications

You are here

อีบุ๊ค

รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมย่านคล...

TNRR

Description
โครงการย่อยที่ 1 รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมย่านคลองบางหลวงสู่สากล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสถานการณ์ บริบท และศักยภาพความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมของชุมชนมุสลิมย่านคลองบางหลวง 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมย่านคลองบางหลวงและกลไกการขับเคลื่อนความพร้อมของชุมชนสู่การท่องเที่ยวในระดับสากล 3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาอาหารมุสลิมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมุสลิมย่านคลองบางหลวงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 4) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมของชุมชนมุสลิมย่านคลองบางหลวงผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิม พบว่า สภาพชุมชน บริบทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิม ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความเห็นด้วย อยู่ในระดับมาก ถึงแม้ว่า ลักษณะทางกายภาพการเข้าถึงแหล่งอาจมีความคับแคบบ้าง แต่พื้นที่ภายในแหล่งมีบริเวณกว้างขวาง ติดริมน้ำและมีความเป็นเอกลักษณ์อาหารมุสลิมดั้งเดิม ในการสัญจรมีระยะทางสั้น สะดวกสบายหลากหลายช่องทาง เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความเห็นเป็นไปในทางเดียวกัน สอดคล้องกับแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวคลองบางหลวงจากการระบุตำแหน่งพิกัด GPS : 13.73811N, 100.48930E พบว่ามีศักยภาพความพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมย่านคลองบางหลวงสู่สากล อาหารมุสลิม 4 ตำรับ ได้แก่ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ แกงแดง ลุดตี่คาว น้ำชัรบัต และอาหารมุสลิมฟิวชั่น ได้แก่ ข้าวหุงไก่ทอดปรุงอย่างเทศ น้ำจิ้มแจ่ว สปาเก็ตตี้แกงแดง ลุดตี่หวาน น้ำชัรบัตโซดา เป็นรูปแบบการพัฒนาอาหารมุสลิมเพื่อสุขภาพ (Healthy food) ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมุสลิมย่านคลองบางหลวง ในการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมนอกจากกิจกรรมทำแป้งจาปาตี-แกงแห้ง ยังพบว่ามีกิจกรรมการปรุงเครื่องเทศที่สอนโดยคุณนาถวดี อหะหมัดจุฬา และกิจกรรมทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่นำมาประกอบอาหาร โดยเรียนรู้ชื่อ คุณประโยชน์ การสัมผัส ดมกลิ่น เช่น หญ้าฝรั่น ใบกะวาน ลูกเฮลท์ กานพลู คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิม/ ย่านคลองบางหลวง<br><br>food. Traveling to the community attraction area was very convenient because Subproject 1: The patterns of Muslim Gastronomy tourism development at Klong Bang Luong area to internationality aims to 1) evaluate the situation context and potential readiness for Muslim Gastronomy tourism of Muslim community in Khlong Bang Luang area, 2) educate the development process of Muslim Gastronomy tourist attractions in Khlong Bang Luang area and the mechanism for driving the readiness of the community towards international tourism, 3) educating the unique healthy food development pattern of Muslim community in Khlong Bang Luang area to promote tourism, and 4) educating the patterns of Muslim Gastronomy tourism experience design management of Muslim community in Khlong Bang Luang area. The results showed that : the potential readiness for Muslim Gastronomy tourism found that 1) community situation, the context of Muslim Gastronomy tourism: mostly participants replied to the item of agreement at the high level although the physical description to the community attraction area was very narrow. However, the inside of the community attraction area was extensive and took place near the riverside. There was the uniqueness of Muslim traditional there were many routes to travel. When considering the standard deviation(SD), it was found that most participants had the same ideas that were consistent with the Khong Bangluang tourist route map from specifying the coordinates at GPS : 13.73811N, 100.48930E It was found that there was a potential readiness for developing Muslim Gastronomy tourism in the Khlong Bang Luang area. There were four unique Muslim Gastronomy recipes as follows: spicy rice menu, red curry menu, salty Lutti menu, and beverage menu as Sharbat syrup, and Muslim fusion food menus: spicy rice menu with spicy dipping sauce, spaghetti with red curry menu, sweet Lutti menu, and beverage menu as Sharbat syrup soda were the unique healthy food development pattern of Muslim community in Khlong Bang Luang. The experiences design management of Muslim Gastronomy tourism was making Chapatti flour- dry curry and spice cooking activity taught by Ms Nardwadee Ahmad Chula. There was an activity to learn many types of herbs for cooking according to the names, advantages, touch, scent, such as saffron, bay leaves, cardamon, and cloves.Keywords: Muslim Gastronomy tourism, Klong Bang Luang area

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ