Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาผ้าคลัทช์และผ้าเบรกรถยนต์ปราศจากแร่ใยหินชน...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลส เพื่อใช้เป็นวัสดุเสียดทานผ้าเบรกผ้าครัชท์แทนการใช้แร่ใยหินเป็นเส้นใยเสริมแรงในผลิตภัณฑ์ผ้าเบรก เนื่องจากแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพในเชิงลบเมื่อมีการเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ โดยศึกษาผลของปริมาณเส้นใยเซลลูโลสที่ 0, 3, 4, 5 และ 6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ต่อสมบัติทางกล ทางความร้อน และทางไทรโบโลยีของวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิท จากการศึกษาพบว่า วัสดุพอลิเบนซอกซาซีนเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสชนิดไม่ฟอกที่ปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีสมบัติทางกลที่ดี มีเสถียรภาพทางความร้อนที่สูง และมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิห้องเป็น 0.36 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาผลของชนิดเส้นใยเซลลูโลสชนิดฟอกและไม่ฟอกต่อสมบัติทางกล ทางความร้อน และสมบัติทางไทรโบโลยีของวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิท จากการศึกษาพบว่า วัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสทั้งสองชนิดที่ปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก โดยวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสทั้งสองชนิดมีค่าอุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนที่น้ำหนักสูญเสีย 5 เปอร์เซ็นต์ (Td5) เท่ากับ 368 องศาเซลเซียส สำหรับวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสชนิดฟอก และ 342 องศาเซลเซียส สำหรับวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสชนิดไม่ฟอก และมีค่าความแข็งแรงภายใต้แรงดัดโค้งเท่ากับ 55.4 เมกกกะปาสคาล สำหรับวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสชนิดไม่ฟอก และ 50.8 เมกกกะปาสคาล สำหรับวัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสชนิดฟอก นอกจากนี้วัสดุพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสทั้งสองชนิดยังมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอยู่ในช่วง 0.2-0.7 รวมทั้งมีอัตราการสึกหรอไม่เกิน 3.5 cm3/Nm ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผ้าเบรกสำหรับยานยนต์ (มอก. 97-2557)คำสำคัญ: ผ้าเบรก, ผ้าคลัทช์, สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน, การสึกหรอ, เส้นใยเซลลูโลส, แร่ใยหิน<br><br>This research aims to develop cellulose fiber-reinforced polybenzoxazine composites as non-asbestos friction materials. The effect of cellulose fiber contents at 0, 3, 4, 5 and 6 wt% on mechanical, thermal and tribological properties was investigated. The results suggested that polybenzoxazine composite reinforced with 5wt% of unbleached cellulose fiber possessed good mechanical property, high thermal stability and high coefficient of friction (COF) at room temperature of 0.36. In addition, the influence of types of cellulose fiber i.e. bleached and unbleached cellulose fiber on mechanical, thermal and tribological properties was also studied. From the results, cellulose fiber-reinforced polybenzoxazine composites showed high degradation temperature at 5%wt loss (Td5) of 368oC for polybenzoxazine composites reinforced by bleached cellulose fiber. Whereas, Td5 of unbleached cellulose fiber reinforced polybenzoxazine composites was found to be 342 oC. The mechanical property i.e. flexural strength of bleached and unbleached cellulose fiber reinforced polybenzoxazine composites was as high as 55.4 MPa and 50.8 MPa, respectively. Furthermore, COF at high temperature of cellulose fiber reinforced polybenzoxazine composites was in the range of 0.2-0.7 and their wear rate was lower than 3.5 cm3/Nm as required by Thailand Industrial Standard (TIS: 97-2014). The results revealed that such developed cellulose fiber-reinforced polybenzoxazine composites is a potential candidate for non-asbestos friction materials and brake pads.Keywords: brake pads, clutch lining, friction coefficient, wear rate, cellulose fibers, asbestos

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ