Description
สับปะรดเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาการใช้สร้างเสริมสุขภาพแต่ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ยังไม่เต็มศักยภาพ การบริโภคสับปะรดมักเป็นการรับประทานผลสดและผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปแบบง่ายๆ ปัจจุบันการบริโภคผลไม้ชนิดนี้ยังไม่ได้เน้นประโยชน์เชิงสุขภาพ และมีวัสดุเหลือใช้จำนวนมาก ปัญหาที่สำคัญคือสับปะรดมักมีปัญหาเรื่องความผันผวนของราคา การจำหน่ายผลสดมีระยะเวลาจำกัด การพัฒนาสับปะรดเป็นอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพตลอดจนผลิตภัณฑ์สุขภาพจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ประมาณ 50 เท่า อย่างไรก็ตามการแปรรูปวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพจำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบที่ดีซึ่งมีการปนเปื้อนน้อย โดยการปนเปื้อนนั้นต้องอยู่ในขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด อีกทั้งจำเป็นต้องมีการคุมคุณภาพวัตถุดิบ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาแพลทฟอร์มการผลิตสับปะรดในสภาพแปลงเกษตรกรโดยการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชปลอดภัยจากสารพิษตกค้างจุลินทรีย์ปนเปื้อน และได้ สารอาหารและสารสำคัญเชิงหน้าที่สูง ซึ่งสามารถรองรับการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น เครื่องดื่มสุขภาพป้องกันและลดความเสี่ยงภาวะหัวใจขาดเลือดในโครงการนี้ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ป้องกันภาวะความผิดปกติอื่นๆที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในแผนงานวิจัยนี้ได้ เพื่อคุมคุณภาพของสับปะรดคณะผู้วิจัยได้ประสานกับสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ในการอบรมกลุ่มเกษตรกรเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร และ ควบคุมการเก็บเกี่ยวผลผลิตของสับปะรดสายพันธุ์ปัตตาเวียเพื่อส่งให้โครงการย่อยตั้งแต่โครงการที่ 9 - โครงการที่ 16 โดยจะเก็บสับปะรดในระยะเหมือนสับปะรดที่บริโภคผลสดโดยจะมีตาสับปะรดเปิดไม่น้อยกว่า 2-3 ตา หรือผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองประมาณไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ และส่งให้แต่ละโครงการ ในโครงการนี้คณะผู้วิจัยยังได้พัฒนาและประเมินผลผลของเครื่องดื่มที่มีเส้นใยอาหารสูงต่อภาวะหัวใจและหลอดเลือด คณะผู้วิจัยได้นำวัสดุเหลือใช้ของ ของสับปะรด สายพันธุ์ปัตตาเวียมาเตรียมเป็นเส้นใยอาหาร ส่วนกากที่เหลือจากการคั้นน้ำของเนื้อสับปะรดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบดีที่สุดจึงนำผสมน้ำสับปะรดเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องดื่มน้ำสับปะรดเส้นใยสูงโดยผสมเส้นใยอาหารที่เตรียมขึ้นกับน้ำสับปะรดเข้มข้น 60 ?Brix ในอัตราส่วน 1:100 แล้วนำมาทดสอบผลในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด โดยทำการป้อนเครื่องดื่มน้ำสับปะรดที่มีเส้นใยอาหารสูงขนาด 100, 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้หนูแรทเพศผู้พันธุ์ Wistar น้ำหนัก 180-220 กรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากนั้นนำไปเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดด้วย isoproterenol จะนำเลือดมาประเมินระดับ lactate dehydrogenase (LDH), creatine kinase (CK), Troponin-T และนำหัวใจมาประเมิน oxidative damage marker และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อด้วย histological technique ผลการศึกษาพบว่าหนูที่ได้รับเครื่องดื่มน้ำสับปะรดเส้นใยสูงขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว มีระดับ C- reactive protein ลดลง นอกจากนั้นยังผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นทุกขนาดมีระดับ malondialdehyde (MDA) ในหัวใจของหนูที่ได้รับการเหนี่ยวนำภาวะหัวใจขาดเลือดลดลง แต่มีการทำงานของ catalase (CAT) เพิ่มขึ้น ดังนั้นข้อมูลในการศึกษานี้บ่งชี้ว่าเครื่องดื่มที่พัฒนาขึ้นน่าจะมีศักยภาพในการลดการอักเสบและความเครียดออกซิเดชันทำให้ลดความรุนแรงของภาวะการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจที่เหนี่ยวนำโดยภาวะหัวใจขาดเลือด อย่างไรก็ตามยังรอผลการประเมินด้านเนื้อเยื่อวิทยาร่วมด้วยคำสำคัญ สับปะรด, พันธุ์ปัตตาเวีย , มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ,สารต้านอนุมูลอิสระ, โรคหัวใจขาดเลือด<br><br>Pineapple has the high potential to use for health promotion, but the current application has not yet full its potential. Pineapple consumption is usually consumed as fresh pineapple and as a product from simple processing. Currently, the consumption of this fruit has not yet focused on the health benefits, and abundant waste products were produced. The main problems of pineapple were the fluctuation of price and the limited selling period. The development of pineapples into functional food and beverages as well as health products can increase their values by approximately 50 times. However, the processing of raw material as a health product requires good quality raw material with less contamination. The contamination should be in the recommended range notified by the Ministry of Public Health. In addition, the raw material quality is also necessary. Therefore, this research project aims to develop a pineapple production platform in a farmers environment with good agricultural practices for plants, safe from pesticide residues, microbial contaminants, and high nutrient and functional substances. which can support the production of health products such as health drinks to prevent and reduce the risk of coronary heart disease in this project and health products used to prevent other disorders common in the elderly in this research plan.In order to control the pineapple quality, the research team coordinated with the Agricultural Research and Development Office Region 3 to train farmers groups on good agricultural practices for food crops and to control the harvesting of pineapple var Bhattavia and deliver to Project 9 - Project 16. Pineapples were collected in the same phase as those that are consumed fresh, with at least 2-3 pineapple buds opened or not less than 10 percent of the peel turning yellow, and they were sent to each project. In this project, we had developed, and evaluated the effect of dietary fiber-rich one apple beverage on cardiovascular disease. Our research team also prepared the dietary fiber from waste products of pineapple var Bhattavia. Pineapple pulp residue showed the best anti-inflammatory effect, so it was mixed with a 60 ?Brix pineapple juice at a ratio of 1:100 to produce the dietary fiber-rich pineapple juice and evaluate its protective effect against myocardial infarction. Various doses of the dietary fiber-rich pineapple juice ranging from 100, 200, and 400 mg/kg BW were orally given to male Wistar rats, weighing 180-220 g, once daily for 4 weeks. Then, they were induced myocardial infarction by isoproterenol. Blood was collected and determined lactate dehydrogenase (LDH), creatine kinase (CK), Troponin-T, and heart was determined oxidative damage marker and it was also determined histological change by using the histological technique. The results showed that rats treated with the dietary fiber-rich pineapple juice at the doses of 200, and 400 mg/kg showed the reduction of C- reactive protein. All doses of the developed product decreased malondialdehyde (MDA) level but increased catalase (CAT) activity in the heart. Therefore, the current data suggested that the developed beverage possesses the anti-inflammation, and antioxidants potentials leading to the mitigation effect on the severity of myocardium destruction induced by myocardial infarction. However, the data obtained from the histological evaluation was still pending.Keyword Pineapple, Pattawia, GAP, Non-communicable diseases, Antioxidants, Myocardial infarction
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read