Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การประเมินพื้นที่น้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำในพื้...

TNRR

Description
จังหวัดอุบลราชธานีประสบน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2481 ปี 2521 ปี 2545 และปี 2562 การนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีความเหมาะสมต่อการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วม ณ สถานการณ์ต่างๆ ทำให้การบริหารจัดการน้ำและการบริหารความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีประสิทธิภาพสูง วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ (1) เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของค่าระดับน้ำ ณ สถานีวัดน้ำท่ากับพื้นที่การเกิดน้ำท่วมในอดีต (2) เพื่อประเมินระดับความสูงของน้ำท่วม และขอบเขตของพื้นที่เกิดน้ำท่วม ณ ปริมาณน้ำฝนที่คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 ปี และ 100 ปี (3) เพื่อประเมินผลกระทบจากแหล่งรองรับน้ำที่ลดลง อันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ (4) เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำ สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม การจัดการผังเมือง และการบริหารจราจรน้ำ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ศึกษา ผ่านการสัมภาษณ์ และการประชุม ทั้งในระบบออนไลน์และในพื้นที่ ส่วนที่ 2 คือวิเคราะห์หาสถานีวัดน้ำท่าที่เป็นสถานีหลักในการเตือนภัยน้ำท่วม และความรุนแรงของน้ำท่วม และส่วนที่ 3 คือการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD ในสถานการณ์ต่างๆ ผลการศึกษา พบว่า (1) แผนผังการเตือนภัยน้ำท่วมที่ได้จากการศึกษานี้ สามารถนำมาเป็นข้อมูลในเบื้องต้นการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยสถานีวัดน้ำท่าที่มีความสำคัญต่อการการเตือนภัยน้ำท่วมแบบ Real time ได้แก่ สถานี M.5 (อ.ราษีไศล) M.9 (อ.เมืองศรีสะเกษ) M.182 (อ.เมืองศรีสะเกษ) M.7 (อ.เมืองอุบลราชธานี) M.170 (อ.เดชอุดม) E.20A (อ.เขาวัง) และ E.98 (อ.เขื่องใน) (2) การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะการถมที่ภายในบริเวณถนนวงแหวนรอบนอกของจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มมากขึ้นเกือบร้อยละ 40 จากพื้นที่น้ำท่วม ณ คาบการซ้ำ 20 ปี (3) การดึงน้ำออกจากรระบบบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม (4) การขุดลอกแก่งสะพือ และการสร้างแนวคลองผันน้ำอ้อมแก่งสะพือ สามารถช่วยระบายน้ำให้ไหลได้สะดวกมากขึ้น ทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลงเพียงร้อยละ 17.64 จากพื้นที่น้ำท่วม ณ คาบการซ้ำ 20 ปี (5) แม่น้ำที่ต้องดำเนินการขุดลอกประกอบด้วย แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ห้วยสำราญ ลำเซบาย และลำเซบก ซึ่งในการขุดลอกลำน้ำนี้ช่วยลดพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก (6) การสร้างพนังกั้นน้ำในช่วงที่ยังไม่มีพนังกั้นน้ำให้สมบูรณ์ (7) การจัดจราจรน้ำในสถานีวัดน้ำท่าที่อยู่ด้านเหนือน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี โดยอัตราการไหลในสถานี E.20A M.179 M.69 และ M.170 ไม่ควรเกิน 1140.53 301.90 290.90 และ 303.61 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ ซึ่งหากมีระดับน้ำและอัตราการไหลที่มาก ก็ควรที่จะค่อยๆ ระบายน้ำออกมา โดยที่จะต้องรักษาระดับน้ำและอัตราการไหลในสถานีท้ายน้ำ ได้แก่ E.98 ต้องน้อยกว่า 116.41 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ 820.57 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่สถานี M.7 ต้องน้อยกว่า 112.00 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ 2300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที<br><br>Ubon Ratchathani experienced major floods in 1938, 1978, 2002 and 2019. The application of a suitable mathematical model for analyzing flood areas at various situations will ensure highly efficient water management and flood risk management in the Ubon Ratchathani. Therefore, the purposes of this study include (1) evaluation of the relationship between the water level at the runoff station and flooded area in the pasts, (2) calculation of the flood heights and boundaries of flood areas at the 10-, 20-, 50-, and 100-year return period (3) assessment of the impact of reduced drainage area due to land use changes, and (4) development of a water management plan for flood risk prevention, urban planning and water traffic management. The methodology has 3 main parts. The 1st part is stakeholder participation in the study area through both online and on-site interviews and meetings, both online and onsite. The 2nd part is the identification of the main runoff station for flood warning alert system and severity of the flood through data analysis. Finally, the 3rd part is the determination of flooded area using MIKE FLOOD modeling.The results found were as follow. (1) the flood warning diagram from this research can be used as preliminary data for flood surveillance. The runoff stations critical for real-time flooding warning consist of M.5 (Rasi Salai), M.9 (Mueang Si Sa Ket), M.182 (Mueang Si Sa Ket), M.7 (Muang Ubon Ratchathani), M.170 (Det Udom), E.20A (Khao Wang), and E.98 (Khueang Nai). (2) the land use change, especially the reclamation within the outer ring road of Ubon Ratchathani Province, increased the flooding area by almost 40 % with a 20 year return period. (3) Water diversion from upstream can significantly reduce flood damaged area. (4) The dredging and water diversion of the Kaeng Saphua can help the flow of water and reduce flooded area to 17.64% from flooded areas with a 20-year return period. (5) Rivers that require dredging include the Mun river, Chi river, Huai Samran, Lam Sebay, and Lam Seboke, however, dredging of these rivers have very little effect on the changes of flooded areas in Ubon Ratchathani. (6) Water flap construction for the area where there are absence of a water flaps should be completed. (7) Water traffic management in the upstream area is important, discharge at runoff stations, E.20A, M.179, M.69 and M.170, should not exceed 1150.53, 301.90, 290.90, and 303.61 cms., respectively. Water should be drained gently if the level and flow rate is high. The water level and flow rate at downstream stations should be maintained at less than 116.41 m above msl. or 820.57 cms or E.98 and less than 112.00 m above msl. or 2300 cms for M.7.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ