Description
ปัจจุบันการควบคุมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ของประเทศไทย ยังขาดแคลนข้อมูลสนับสนุนเชิงพื้นที่ ทั้งการบ่งชี้แหล่งกำเนิดที่ชัดเจน ข้อมูลสถานการณ์ภาพรวมและการกระจายตัวของฝุ่นละอองที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ โครงการวิจัยการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศและดาวเทียมเพื่อการบริหารจัดการ PM2.5 และอนุภาคในชั้นบรรยากาศ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ข้อมูลจากสถานีตรวจวัด และปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 เพื่อประเมินค่าฝุ่นละออง PM2.5 ณ ระดับพื้นผิวรายชั่วโมง แบบ Near Real Time ที่สามารถให้ข้อมูล PM2.5 ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลการประเมินแหล่งที่มาของฝุ่นละออง โดยพัฒนาเป็นชุดข้อมูลเพื่อให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการ PM2.5 แบบออนไลน์ ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการประเมินค่าฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับประเมินดัชนีคุณภาพอากาศรายชั่วโมงแบบ Near Real Time ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถลดช่องว่างเชิงพื้นที่ของข้อมูลฝุ่นละอองของประเทศ และข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดินได้ โดยพบว่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 จากข้อมูลดาวเทียม มีความสอดคล้องกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดินในช่วงฤดูฝุ่นและหมอกควันซึ่งมีปริมาณ PM2.5 สูง ที่ระดับความเชื่อมั่น 80% นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังเพื่อศึกษาพฤติกรรมและทิศทางการเคลื่อนตัวของฝุ่นละอองเพื่อใช้ในการติดตามภาพรวมของมลพิษข้ามพรมแดน การประเมินค่าฝุ่นละอองจากข้อมูลดาวเทียม จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เชิงพื้นที่ที่มีความละเอียด และถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมดวงใหม่ๆ ที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูงมาเสริม เช่น ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ GEMS ซึ่งมีรายละเอียดเชิงพื้นที่ 3.5 กิโลเมตร และการพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ของอากาศในแนวดิ่ง (vertical column) จากข้อมูลดาวเทียมร่วมกับเครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดิน (Pandora) เพื่อให้สามารถศึกษาและติดตามการเคลื่อนตัวของละอองลอยในชั้นบรรยากาศได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง รวมทั้งทิศทางการเคลื่อนที่ แหล่งที่มา และระยะเวลาการสะสมตัวของละอองลอย อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของฝุ่น นำไปสู่การป้องกัน ลดผลกระทบ และการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด<br><br> Thailand lacks the spatial data to support the systematic controls and practical solutions to alleviate the impacts from PM2.5. The spatial data is crucial to identify the source of PM2.5 emissions and estimate the country-wide holistic overview of PM2.5 level as well as its distribution. The Developmental Program of a GIS & Space Technology Platform for the Management of PM2.5 and other Atmospheric Particles aimed to study, collect and analyze satellite imagery, geospatial data, ground-based measurements and other PM2.5-related physical factors which were then utilized to assess near-real time concentrations of surface-level PM2.5 at hourly basis over Thailand. The study also intended to identify sources of PM2.5. The output from this project also provided geo-spatial data service which is accessible via online platform. The result demonstrated that satellite data could be used to estimate the PM2.5 in near real-time providing air quality index on an hourly basis. In addition, it could be used to support the analysis of PM2.5 estimation due to the limitation of ground-based measurements using. The amount of PM2.5 from satellite images is consistent with ground monitoring stations data during high dust and haze seasons, at 80% Confidence Interval. Besides, satellite data can also be examined to study dust movement for monitoring the cross-border pollution. Efficiency improvement of PM2.5 estimations from satellite data is necessary and can be achieved through the enhancement of data accuracy and spatial resolution. Many new satellite missions, such as GEMS mission, can provide higher quality data with 3.5 kilometer spatial resolution. The development of vertical column modeling with the integration of satellite data and new ground-based measurements from Pandora project can also be further explored. Such progress will allow for better understanding and monitoring of both vertical and horizontal aerosols movement in the atmosphere. Moreover, the identification of emission source and dispersal time can be further enhanced which will assist in the understanding of aerosol behavior. Continuous research and development will assist in prevention, impact reduction and ultimately sustainable solutions for PM2.5 problems.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read