Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเที...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและองค์ความรู้ของภูมิปัญญาการทาเทียนพรรษาของชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี (2) วิเคราะห์รูปแบบการยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน และ (3) ถ่ายทอดองค์ความรู้รูปแบบการยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน พื้นที่ในการดาเนินการวิจัยจะเป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาด้านการทาเทียนพรรษาที่โดดเด่น จานวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว ชุมชนวัดศรีประดู่ ชุมชนวัดมหาวนาราม และชุมชนวัดสระประสานสุข คณะผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีเครื่องมือในการดาเนินการวิจัย ประกอบด้วย การระดมความคิดเห็น การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยและการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการดาเนินการวิจัย ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐบาล ได้แก่ สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สานักงานจังหวัดอุบลราชธานี สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี สานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ผู้แทนจากหน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัทประชารัฐรักสามัคคีอุบลราชธานี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ประกอบการจาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและของที่ระลึก และกลุ่มชาวบ้าน เยาวชนและปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาการทาเทียนพรรษาของชุมชนทั้ง 4 แห่งผลการวิจัย พบว่า คุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมรดกภูมิปัญญางานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 5 มิติ ไม่ว่าจะเป็น คุณค่าทางประวัติศาสตร์ (Historic values) คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic values) คุณค่าด้านภูมิปัญญาเฉพาะ (Scientific values) คุณค่าทางสังคม (Social values) และคุณค่าทางจิตใจ (Spiritual values) แสดงให้เห็นถึงความสาคัญของงานประเพณีเทียนพรรษาที่มีต่อชาวจังหวัดอุบลราชธานี ในส่วนของรูปแบบการยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน คณะผู้วิจัยได้พบว่า รูปแบบการยกระดับคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ประกอบด้วย (1) การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาเทียนพรรษาจากรุ่นสู่รุ่น (2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ในการสืบสานภูมิปัญญาเทียน (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการและสืบสานภูมิปัญญาเทียน (4) การจัดทาชุดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการทาเทียนเมืองอุบลฯ (5) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการทาเทียนเมืองอุบลฯ ตลอดทั้งปี ในส่วนของรูปแบบการยกระดับมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมการจัดทาทรัพย์สินทางปัญญาสาหรับผลิตภัณฑ์และการบริการจากภูมิปัญญาการทาเทียนพรรษารูปแบบต่างๆ (ผลิตภัณฑ์จากเทียนและกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์) (2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ นักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะ นักเรียน/ นักศึกษา บริษัทนาเที่ยว กลุ่มศึกษาดูงานจากหน่วยงานภาครัฐบาลและหน่วยงานภาคเอกชน (3)การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเทียนเมืองอุบลฯ และ (4) การสร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยวในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้รูปแบบการยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน คณะผู้วิจัยได้ดาเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประกอบด้วย (1) การอบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนในพื้นที่วิจัยในการนาเอาคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และทรัพยากรมนุษย์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาการทาเทียนพรรษา (2) นาองค์ความรู้ส่งมอบให้กับชุมชนในพื้นที่วิจัย ประกอบด้วย (2.1) สถาบันการศึกษา นาองค์ความรู้ไปใช้ในทางด้านวิชาการและใช้พื้นที่วิจัยเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคสนามรวมถึงการต่อยอดวิจัยในอนาคต (2.2) หน่วยงานภาคเอกชน ใช้พื้นที่วิจัยในการแนะนาให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเรียนรู้ภูมิปัญญาการทาเทียนพรรษาและ (2.3) หน่วยงานภาครัฐบาลในจังหวัดอุบลราชธานี นาองค์ความรู้ไปใช้ในการกาหนดนโยบายและแผนเกี่ยวกับการยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนเพื่อขยายผลการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป<br><br>-

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ