Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยสำหรับเด็กหูหนวก

TNRR

Description
คนหูหนวกส่วนมากประสบปัญหาการอ่านและมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เพื่อช่วยคนหูหนวกเอาชนะปัญหาเหล่านั้น แอปพลิเคชันเกมจึงเป็นที่ต้องการเพื่อช่วยเพิ่มความสนใจ พัฒนาทักษะการคิดและการอ่าน แต่แอปพลิเคชันเกมส่วนมากถูกพัฒนาสำหรับคนปกติ ดังนั้นจึงเกิดความต้องการแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยสำหรับเด็กหูหนวก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการพัฒนาทักษะการคิด การอ่านและความสนใจของคนหูหนวก การวิจัยนี้เพื่อ 1) เสนอแนวความคิดแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทย 2) เพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยสำหรับเด็กหูหนวก 3) หาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ ตามเกณฑ์ 85/85 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหูหนวกระหว่างก?อนเรียนกับหลังเรียน 5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แนวความคิดแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยถูกสร้างโดยแนวคิดเกมประเภทจับคู่ภาพเหมือน เกมจับคู่ภาพที่สัมพันธ์กัน เกมจับคู่คำศัพท์มาผสมผสานกันเป็นเกมจับคู่รูปภาพ ภาษาไทย ภาษามือไทยและแนวคิดการแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการแปลรูปภาพ ภาษามือไทยหรือคำศัพท์ที่แสดงผล รูปภาพ ภาษามือไทย วิดีโอท่าภาษามือไทย คำศัพท์และเสียงได้ 2) แนวความคิดแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยสามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ ที่มีความสามารถเป็นทั้งเกมและตัวแปลภาษาได้ โดยแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเกมจับคู่และการแปลภาษาจากผลที่ได้ของเกมจับคู่ ส่วนที่สองเป็นการแปลรูปภาพ ภาษามือไทยหรือคำศัพท์ที่มีทั้งหมดและจากการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ? = 4.74, S.D. = 0.44) 3) มีประสิทธิภาพ 86.00/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 85/85 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหูหนวกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ อยู่ในระดับมาก (x ? = 4.49, S.D. = 0.62) สรุปได้ว่า แอปพลิเคชันเกมภาษาไทย-ภาษามือไทยฯ สามารถนำไปใช้ได้<br><br>Most deaf people experience difficulties in mastering their reading skills, and are have limited vocabulary. To assist deaf people overcome such problems, a game application is needed to enhance an interest, and develop thinking and reading skills. However, most game applications have been developed for normal people. Hence, there is a great demand for Thai-Thai sign language game application for deaf children (TTSGAD) in order to provide options in enhancing their thinking skills, reading skills, and interests. This research is to 1) propose a multi-phase approach to Thai-Thai sign language game application (TTSGA), 2) develop TTSGAD as an innovation, 3) find the efficiency of TTSGAD according to the criteria of 85/85, 4) compare the learning achievement of deaf students before and after learning with TTSGAD by comparing pre-test and post-test scores, and 5) study the user satisfaction with TTSGAD. The results show that 1) TTSGA approach was created by using the approach of merging portrait matching games, matching games, and word matching games into a matching game of pictures, Thai language, and Thai sign language. In addition, the machine translation approach was used for the translation of pictures, Thai sign language and Thai language; which then the translation was displayed as pictures, Thai sign language, Thai sign language videos, words, and sounds. 2) TTSGAD innovation, which included games and translations, was developed based on TTSGA approach. TTSGAD consisted of 2 parts: the matching game and the translation of the matching game results, and the translation of all available words. The quality assessment of TTSGAD showed the level of the excellent (x ? = 4.74, S.D. = 0.44). 3) TTSGAD efficiency was 86.00/86.67 which was higher than the established efficiency criteria of 85/85. 4) The learning achievement of deaf students after learning with TTSGAD was higher than before learning at the statistically significant level of 0.05. Lastly, 5) the user satisfaction questionnaires toward TTSGAD showed the level of satisfied (x ? = 4.49, SD = 0.62). In summary, TTSGAD is ready for use.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ